การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
โรงเรียนบ้านบาตาปาเซ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต ๓
ผู้รายงาน : นางสาวนัสรีย๊ะ อาบ๊ะ
ปีที่รายงาน : ๒๕๖๓
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านบาตาปาเซ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต ๓ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านบาตาปาเซ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต ๓ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และ ๓) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านบาตาปาเซ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต ๓ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ ประชากรที่ใช้ในการพัฒนาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านบาตาปาเซ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต ๓ จำนวน ๒๖ คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรายงาน ประกอบด้วย ๑) แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ จำนวน ๖ เล่ม ๒) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ จำนวน ๒๐ แผน ๒๐ ชั่วโมง ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการอ่านจับใจความเป็นแบบปรนัยชนิด ๔ ตัวเลือก จำนวน ๓๐ ข้อ ๔) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ จำนวน ๑๐ ข้อ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย x ̅ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และทดสอบค่า (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านบาตาปาเซ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต ๓ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ มีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๕.๑๓/๘๔.๔๙ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑
ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด