การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามรูปแบบการสอนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป และมีจำนวนนักเรียนไมนอยกวาร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 7 รถไฟสงเคราะห์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 24 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติ คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 13 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการ สะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน แบบฝึกทักษะ และแบบทดสอบย่อยท้ายวงจรปฏิบัติการ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ จำนวน 3 วงจรปฏิบัติการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการวางแผน 2) ขั้นปฏิบัติการ 3) ขั้นสังเกตการณ์ 4) ขั้นสะท้อนผลการปฏิบัติ โดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล บันทึกผลการปฏิบัติ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาสรุปหาข้อบกพร่องและแนวทางแก้ไข นำไปปรับปรุงแผนการปฏิบัติการใน วงจรต่อไป
ผลการวิจัย พบว่า
1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีการสอนแบบการสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง เลขยกกำลัง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้น ดังนี้ 1) ขั้นสร้างความสนใจ(Engagement) เป็นการนำเข้าสู่บทเรียน ซึ่งกิจกรรมควรเน้นให้นักเรียนได้ทบทวน ความรู้เดิม การใช้คำถาม หรือสื่อของจริงเพื่อให้นักเรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่ กับความรู้เดิมของตน 2) ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) เมื่อทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้แล้วก็มีการวางแผนกำหนดแนวทางการสำรวจตรวจสอบตั้งสมมติฐานกำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ควรเน้นให้นักเรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมในการสำรวจและค้นหาคำตอบ เพื่อก่อให้เกิดแนวคิดและองค์ความรู้ของตนเองและกลุ่ม โดยแทรกกระบวนการคิดวิเคราะห์ 3 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 กำหนดสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์ควรให้นักเรียนได้ฝึกคิด วิเคราะห์จากเรื่องราว หรือเหตุการณ์จริงเพื่อค้นหาความสัมพันธ์ในลักษณะของกิจกรรมกลุ่ม ขั้นที่ 2 กำหนดปัญหาหรือวัตถุประสงค์ กิจกรรมควรเน้นการกำหนดประเด็นข้อสงสัยเพื่อให้นักเรียน วิเคราะห์ความสัมพันธ์จากตัวอย่างเพื่อน าไปสู่เนื้อหาใหม่ ขั้นที่ 3 กำหนดหลักการหรือกฎเกณฑ์ ควรเน้นให้นักเรียนได้ฝึกการวิเคราะห์ แยกแยะ ส่วนประกอบของสิ่งที่กำหนดให้ 3) ขั้นอธิบาย และลงข้อสรุป (Explanation) เมื่อได้ข้อมูลอย่างเพียงพอจากการสำรวจตรวจสอบแล้วจึงนำข้อมูลข้อสนเทศที่ได้มาวิเคราะห์แปลผลสรุปผลและนำเสนอผลที่ได้ในรูปต่าง ๆ ซึ่งกิจกรรมนี้ควรเน้นให้นักเรียนได้รับอิสระในการแสดงเหตุผล วิเคราะห์ สรุปผลและนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อแสดงถึงองค์ความรู้ที่เกิดขึ้น โดยแทรกกระบวนการคิดวิเคราะห์ 2 ขั้น คือ ขั้นพิจารณาแยกแยะกิจกรรมควรเน้นการตั้งคำถามกระตุ้นเพื่อนำไปสู่การคิดวิเคราะห์ และสรุปคำตอบ กิจกรรมควรเน้นให้นักเรียนได้ฝึกการรวบรวมประเด็นที่สำคัญเพื่อหาข้อสรุป เป็นคำตอบหรือแก้ปัญหาของสิ่งที่กำหนดให้ 4) ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิม ซึ่งกิจกรรมนี้ควรเน้นให้นักเรียนนำเอาองค์ความรู้ที่ได้มาไปใช้ประโยชน์ทั้งในเนื้อหาที่ยากหรือซับซ้อนเพื่อวิเคราะห์ความเข้าใจของนักเรียน 5) ขั้นประเมิน (Evaluation) เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้างอย่างไร ซึ่งกิจกรรมนี้ควรเน้นให้นักเรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาหรือทำโจทย์เพื่อตรวจสอบ สิ่งที่ได้เรียนรู้ว่ามีความถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนเพียงใด ซึ่งเป็นการประเมินด้านความรู้และความเข้าใจของนักเรียนด้วย
2. นักเรียนได้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคิดเป็นร้อย 74.38 และมีจำนวนนักเรียนที่ ผ่านเกณฑ์ 18 คน คิดเป็นร้อยละ 75.00 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนไว้ คือให้มีจำนวนนักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป