การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษา
การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
ชื่อผู้ศึกษา จิราพร ปรีชา
สถานที่ศึกษา โรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๑ เทศบาลเมืองท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ปีที่ศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ ๒ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้การจัด การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ๓) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้การจัด การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ และ ๔) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/๓ โรงเรียนเทศบาลเมืองท่าข้าม ๑ เทศบาลเมืองท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๒ จำนวน ๒๖ คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ จำนวน ๘ เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ ๒๔ แผน ๒๔ ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก จำนวน ๓๐ ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น (KR-20) ๐.๘๑ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๘๔ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสองค่าจากกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว (t-test for Paired Samples) พบว่า แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ มีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๓.๕๑/๘๒.๘๓ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ๘๐/๘๐ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.๐๑ ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะมีค่าเท่ากับ ๐.๗๓๒๐ หรือคิดเป็นร้อยละ ๗๓.๒๐ แสดงว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนหรือมีความรู้เพิ่มขึ้น ๐.๗๓๒๐ หรือคิดเป็นร้อยละ ๗๓.๒๐ ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x-bar= ๔.๕๐ S.D. = ๐.๒๘)