รายงานการประเมินโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1. ประเมินโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในจังหวัดสงขลา และ2. เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในจังหวัดสงขลา ระยะเวลาในการวิจัย ปีการศึกษา 2562– 2563 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 30 คน ครูจำนวน 314 คน และประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 30 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ สำหรับเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย
1. ผลการประเมินโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในจังหวัดสงขลา พบว่าค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้านโดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงเป็นสามอันดับแรกคือ ด้านกระบวนการ(X ̅ = 4.90) ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ(X ̅ = 4.89) และด้านปัจจัยนำเข้า(X ̅ = 4.86) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านบริบท(X ̅ = 4.69) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสนทนากลุ่มกับกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 2 คน และครู จำนวน 5 คน รวมทั้งหมด 9 คน ที่เข้าร่วมโครงการ โดยสรุปผลการสนทนาได้ดังนี้ เกี่ยวกับด้านบริบท ผู้บริหารสถานศึกษาและครูพบว่า วัตถุประสงค์มีความเหมาะสม ชัดเจน การเตรียมการภายในของโครงการมีความเหมาะสมด้านปัจจัยนำเข้า พบว่ายุทธศาสตร์ที่ใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษามีความเหมาะสม ด้านการดำเนินการสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการมีความเหมาะสมมากด้านกระบวนการพบว่าการวางแผนการดำเนินงานการใช้ยุทธศาสตร์สำหรับสถานศึกษามีความเหมาะสม ชัดเจน ด้านเกณฑ์ระดับคุณภาพสำหรับการวัดและประเมินผลมีความเหมาะสม ด้านผลผลิตพบว่า หลังจากใช้ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาแล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพ ครูผู้สอนมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ ด้านผลกระทบพบว่า ครูผู้สอนสามารถบูรณาการการสอนให้เข้ากับกลุ่มสาระการเรียนรู้ในบางประเด็นได้ และสามารถจัดกิจกรรมได้หลากหลายในแต่ละยุทธศาสตร์ ด้านประสิทธิผลพบว่าโครงการสามารถบรรลุตอบสนองความต้องการของผู้รับประโยชน์อย่างครอบคลุมได้ ด้านความยั่งยืนพบว่าแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการนำโครงการไปดำเนินการให้ประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืนคือ การมีนโยบายที่ชัดเจนจากต้นสังกัด ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความสัมพันธ์ สามัคคี และด้านการถ่ายทอดส่งต่อพบว่าโครงการสามารถขยายผลให้กับหน่วยงานสังกัดอื่นได้ ผลการสัมภาษณ์ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 2 คน พบว่าโครงการมีความพร้อมในด้านวัตถุประสงค์ มีเป้าหมายที่ชัดเจน เหมาะสม สามารถนำไปปฏิบัติได้ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะ ในด้านครูผู้สอนการนิเทศที่ไม่ต่อเนื่อง จำนวนครั้งในการนิเทศน้อยเกินไป ด้านความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นกับครูผู้สอนทำให้ครูผู้สอนมีกระบวนการในการพัฒนาผู้เรียน ด้านตัวผู้เรียนเองจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่น และมั่นใจว่าคุณภาพผู้เรียนสอดคล้องกับสมรรถนะในยุคศตวรรษที่ 21 ผลกระทบพบว่าจะทำให้ครูมีความมั่นใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์เพราะมีการนิเทศ กำกับ สร้างความเข้าใจในยุทธศาสตร์ โครงการสามารถตอบสนองความต้องการของครูผู้สอนทำให้ครูสามารถจัดกิจกรรมได้ตามยุทธศาสตร์และผู้เรียนมีคุณภาพได้เป็นส่วนใหญ่ โครงการควรมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ผู้ปกครองมีความพร้อมในการให้การสนับสนุนในการดำเนินโครงการต่อไป โครงการสามารถเป็นแบบอย่างให้กับหน่วยงานสังกัดอื่นได้ ผู้ปกครองสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ให้ผู้อื่นรับรู้ได้ และมีส่วนร่วมในการสนับสนุนผู้เรียนที่บ้าน
2. ผลการศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในจังหวัดสงขลา
1. ปัญหาเกี่ยวกับโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในจังหวัดสงขลา สรุปได้ดังนี้ งบประมาณในการดำเนินงานไม่เพียงพอ สถานศึกษาขาดงบประมาณในการดำเนินการ ควรมีการสนับสนุนด้านงบประมาณให้เพียงพอและต่อเนื่อง งบประมาณมีน้อยในโรงเรียนขนาดเล็ก ความไม่พอเพียงด้านวัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณและบุคลากร ครูยังขาดความรู้ ความตระหนักรู้ในเนื้อหาของยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวข้องกับภารกิจการจัดการศึกษา สถานศึกษายังขาดแคลนบุคลากรที่จะมาส่งเสริมผู้เรียนให้มีความสามารถ และพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ ด้านบุคลากรครู บุคลากรน้อย ไม่ตรงตามความถนัด ภาระงานเยอะ โครงการบางโครงการกระจายไม่ทั่วถึงทุกโรงเรียน กิจกรรมมีเยอะเกินไป บางกิจกรรมไม่ได้ปฏิบัติ จะเลือกปฏิบัติตามที่จำเป็นเป็นอันดับแรก การจัดทำโครงการ ควรลดส่วนที่ไม่จำเป็นออก โครงการมีหลายบทมากเกินความจำเป็น เวลาในการจัดกิจกรรมมีจำกัด โครงการบางอย่างอาจจะไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ 100% เนื่องจากปัจจัยอะไรหลายอย่างไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินการสภาวการณ์แพร่ระบาดเชื้อโควิดไม่สามารถปฏิบัติงานได้เต็มที่ การนำไปใช้ในสถานการณ์โควิด สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค covid-19 ทำให้การดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้
2. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
ในจังหวัดสงขลา มีดังต่อไปนี้ ควรให้การสนับสนุนอย่างรัดกุมและเท่าเทียม ต้องจัดหางบประมาณจากหน่วยงานภายนอกมาช่วยสนับสนุน ควรจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้นเพื่อเอื้อต่อการจัดกิจกรรมและโครงการต่างๆได้อย่างเหมาะสม ให้มีครูตามเกณฑ์ที่กำหนดเชิงประจักษ์ อบรมให้ความรู้ จัดอบรมด้านเทคโนโลยี จัดบุคลากรให้ตรงกับตำแหน่งและความต้องการของสถานศึกษา การจัดกิจกรรมโครงการเป็นไปตามสภาพบริบทของสถานศึกษา ปรับแผนและโครงการให้เป็นไปตามสถานการณ์ ช่วยกำกับดูแลอย่างต่อเนื่อง กำหนดแนวทางที่แตกต่างกันตามบริบทของโรงเรียน จัดทำปฏิทินการปฏิบัติอย่างละเอียดชัดเจน มีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------