รายงานประเมินโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนเทศบาล ๒
ชื่อเรื่อง รายงานประเมินโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนเทศบาล ๒
บ้านสะเดา สังกัดเทศบาลเมืองสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ผู้จัดทำ นางสาวจันทร์จิรา พิทักษ์
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนเทศบาล ๒ บ้านสะเดา สังกัดเทศบาลเมืองสะเดา อ.สะเดา จ.สงขลา ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยใช้การประเมินรูปแบบซิปป์ (CIPP Evaluation Model) ในการประเมิน 4 ด้าน ดังนี้ ด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product) ซึ่งมีกิจกรรมในโครงการ ดังนี้ 1) กิจกรรมส่งเสริมให้โรงเรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 2) กิจกรรมพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้บูรณาการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ 3) กิจกรรมพัฒนาการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน 5 องค์ประกอบ 4) กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้บูรณาการพืชศึกษา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ 5) กิจกรรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ ประกอบด้วย บุคลากรของโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเทศบาล ๒ บ้านสะเดา รวมจำนวน 188 คน นักเรียน จำนวน 693 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรของโรงเรียน จำนวน 48 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 125 คน และนักเรียน จำนวน 248 คน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
ระดับความคิดเห็น บุคลากรของโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนเกี่ยวกับการดำเนินโครงการงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โรงเรียนเทศบาล ๒ บ้านสะเดา สังกัดเทศบาลเมืองสะเดา อ.สะเดา จ.สงขลา ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมา จากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ระดับความคิดเห็นของนักเรียน ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยแยกตามรูปแบบ ซิปป์ (CIPP Evaluation Model) 4 ด้าน ดังนี้
1. ด้านสภาวะแวดล้อม (C:Context Evaluation) ระดับความคิดเห็น บุคลากรของโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวม พบว่าสภาวะแวดล้อมมีความเหมาะสมและสอดคล้อง อยู่ในระดับมากที่สุด ระดับความคิดเห็นของนักเรียน ในภาพรวม พบว่า สภาวะแวดล้อมมีความเหมาะสมและสอดคล้อง อยู่ในระดับมาก
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (I:Input Evaluation) ระดับความคิดเห็น บุคลากรของโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวม พบว่า ความพร้อมด้านปัจจัยในการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ระดับความคิดเห็นของนักเรียน ในภาพรวม พบว่า ความพร้อมด้านปัจจัยในการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน
3. ด้านกระบวนการ (P:Process Evaluation) ระดับความคิดเห็น บุคลากรของโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวม พบว่ากระบวนการดำเนินงานของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ระดับความคิดเห็นของนักเรียน ในภาพรวม พบว่ากระบวนการดำเนินงานของโครงการ อยู่ในระดับมาก
4.ด้านผลผลิต (P:Product Evaluation) ระดับความคิดเห็น บุคลากรของโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวม พบว่าผลการดำเนินงานของโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ระดับความคิดเห็นของนักเรียน ในภาพรวม พบว่าผลการดำเนินงานของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด เช่นกัน