การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นฯ
เพื่อสร้างรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองข่าหนองคูโปโล
เจ้าของบทความ นางสาวปลื้มจิต ปะเสระกัง
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งมีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษารายวิชาเพิ่มเติม 2) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น รายวิชาเพิ่มเติมเรื่อง น้ำพริกปูสมุนไพร เพื่อสร้างรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองข่าหนองคูโปโล 3) ทดลองใช้หลักสูตร และ
4) ประเมินหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น กลุ่มทดลอง คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบ้านหนองข่าหนองคูโปโล จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย หลักสูตร แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test (One Group Pretest-posttest Design) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญและต้องการให้พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษารายวิชาเพิ่มเติม
2. หลักสูตรสถานศึกษาโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น รายวิชาเพิ่มเติมเรื่อง น้ำพริกปูสมุนไพร เพื่อสร้างรายได้ระหว่างเรียนของนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองข่าหนองคูโปโล ประกอบด้วย 1) แนวคิด 2) หลักการ 3) จุดหมาย 4) ค้าอธิบายรายวิชา 5) ผลการเรียนรู้ 6) โครงสร้าง/เวลาเรียน 7) สาระการเรียนรู้ 8) รูปแบบการจัดการเรียนรู้
9) สื่อการเรียนรู้ 10) แผนการจัดการเรียนรู้ 11) การวัดและการประเมินผล โดยจัดการเรียนรู้แบบเน้นการปฏิบัติ
3. ผลการทดลองใช้หลักสูตรเน้นการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ขั้นให้ความรู้ 2) ขั้นสาธิต
3) ขั้นปฏิบัติ และ 4) ขั้นปรับปรุงและประยุกต์ใช้ นักเรียนมีความสนใจและตั้งใจปฏิบัติกิจกรรม และมีความพร้อม
ในทุก ๆ ด้าน
4. ผลการประเมินหลักสูตรสถานศึกษา พบว่า 1) นักเรียนมีผลการเรียนรู้หลังการทดลองใช้หลักสูตร
สูงกว่าก่อนการทดลอง (มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05) 2) นักเรียนมีความสามารถในการทำน้ำพริกปูสมุนไพร
อยู่ในระดับ ดีมาก 3) นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียนจากการทำน้ำพริกปูสมุนไพร และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจ
ต่อหลักสูตรในระดับ มากที่สุด