การยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้รูปแบบ SAIKAEW MODEL
ผู้รายงาน นายมะสอและ ดอเลาะอาลี
ปีการศึกษา ๒๕๖๓
บทคัดยอ
วิจัย เรื่อง การบริหารโรงเรียนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้รูปแบบ SAIKAEW MODEL ของโรงเรียนบ้านทรายแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๒ มีวัตถุประสงค์๑) เพื่อศึกษาผลการบริหารโรงเรียนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้รูปแบบ SAIKAEW MODEL ของโรงเรียนบ้านทรายแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๒ ๒.) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เป็นผลมาจากการบริหารโรงเรียน โดยใช้รูปแบบ SAIKAEW MODEL ของโรงเรียนบ้านทรายแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๒ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองเกี่ยวกับ การบริหารโรงเรียนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้รูปแบบ SAIKAEW MODEL ของโรงเรียนบ้านทรายแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๒ กลุ่มประชากร คือ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
๑. มีการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจสอดคล้องกับสภาพ ปัญหาความต้องการพัฒนาของสถานศึกษา นโยบายการปฏิรูปการศึกษา ความต้องการของชุมชนท้องถิ่น และสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ มีแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนทุกกลุ่มเป้าหมาย มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานตำแหน่ง ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย นำไปประยุกต์ใช้ได้ มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ และมีกิจกรรมจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่กระตุ้นผู้เรียนให้ใฝ่เรียนรู้โดยที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีรูปแบบการบริหารและการจัดการเชิงระบบ โดยทุกฝ่าย มีส่วนร่วม ยึดหลักธรรมาภิบาล และแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งพัฒนา ผู้เรียนตามแนวทางปฏิรูปการศึกษา พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพตรงตามความต้องการของครูและสถานศึกษาและจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนางานจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและมีความปลอดภัย มีการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลายที่เป็นไปตามปัญหาและความต้องการพัฒนาตามสภาพของผู้เรียน สอดคล้องกับจุดเน้นของสถานศึกษาและสภาพของขุมซนท้องถิ่น จนมีผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอยู่ในระดับดีเลศ ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น พัฒนาการของค่าเฉลี่ยผลการทดสอบระดับชาติสูงขึ้น ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่านและเขียน ความสามารถในการคิดคำนวณ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ดี ผู้เรียนรักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง นักเรียนกล้าแสดงออก ร่าเริงแจ่มใส สุขภาพกายแข็งแรง ผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรีและกีฬา ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์และมีความประพฤติด้านคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะตามที่สถานศึกษากำหนดปรากฏอย่างชัดเจน ผู้เรียนมีระเบียบวินัย มีจิตอาสา ชอบช่วยเหลือผู้อื่น เสียสละบำเพ็ญประโยชน์ ดำเนินชีวิตบนพื้นฐานความพอประมาณและความพอเพียง มีการวางแผน ออกแบบกิจกรรมและดำเนินงานตามแผนที่เกิดจากการมีส่วนร่วม ใช้ผลการประเมินและการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นฐานในการพัฒนาและสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนา ตรวจสอบผลการดำเนินงาน และการปรับปรุง แก้ไขงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โรงเรียนมีการบริหารและการจัดการอย่างเป็นระบบ โรงเรียนได้ใช้เทคนิคการประชุมที่หลากหลายวิธี เช่น การประชุมแบบมีส่วนร่วม การประชุมระดมสมอง การประชุมกลุ่ม เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายที่ซัดเจน มีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ที่สอดคล้องกับผลการจัดการศึกษา สภาพปัญหา ความต้องการพัฒนาและนโยบายการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ครูผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และมีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา สถานศึกษาจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อมทางกายภาพทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนที่มีความปลอดภัยและเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ครูมีการวิเคราะห์ ออกแบบและจัดการเรียนรู้ที่เป็นไปตามความต้องการของหลักสูตร และบริบทสถานศึกษา พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ใช้สื่อการเรียนรู้ ติดตาม ตรวจสอบและช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาและแก้ปัญหารายบุคคลและการประเมินผลจากสภาพจริงในทุกขั้นตอน ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นในการพัฒนาการสอน โดยจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการคิด ได้ปฏิบัติจริง มีการใช้วิธีการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้นักเรียนแสวงหาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (โซนรับผิดชอบ) ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น พัฒนาการของค่าเฉลี่ยผลการทดสอบระดับชาติสูงขึ้น นักเรียนอ่านออกเขียนได้ คิดวิเคราะห์เป็น และมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ครูได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ประชุมเชิงปฏิบัติการ ศึกษาดูงาน ครูได้รับการส่งเสริมช่วยเหลือดูแล และมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ
๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เป็นผลมาจากการบริหารโรงเรียน โดยใช้รูปแบบ SAIKAEW MODEL ของโรงเรียนบ้านทรายแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๒ เพิ่มขึ้น ดังนี้
๑. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนปีการศึกษา ๒๕๖๒ – ๒๕๖๓ โรงเรียนบ้านทรายแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๒ โดยภาพรวมเพิ่มขึ้น ๒๐.๖๒
๒. ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O–NET)-ปีการศึกษา-๒๕๖๒ - ๒๕๖๓ โรงเรียนบ้านทรายแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๒ โดยภาพรวมเพิ่มขึ้น ๕.๕๕
๓. ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอิสลามศึกษา (I–NET)-ปีการศึกษา-๒๕๖๒ – ๒๕๖๓ โรงเรียนบ้านทรายแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๒ โดยภาพรวมเพิ่มขึ้น ๑๑.๒๘
๔. ผลการทดสอบความสามาถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (NT) ปีการศึกษา ๒๕๖๒ – ๒๕๖๓ โรงเรียนบ้านทรายแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๒ โดยภาพรวมเพิ่มขึ้น ๕.๗๑
๓. ความพึงพอใจเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้รูปแบบ SAIKAEW MODEL ของโรงเรียนบ้านทรายแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๒ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด