การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กลอนค่านิยม ๑๒ ประการของคนไทย
เป็นสื่อเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
ชื่อผู้ศึกษา จารุณี พรหมอนุมัติ
สถานที่ศึกษา โรงเรียนนานาชาติ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปีการศึกษา ๒๕๖๒
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กลอนค่านิยม ๑๒ ประการของคนไทยเป็นสื่อเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กลอนค่านิยม ๑๒ ประการของคนไทยเป็นสื่อเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ๒) ออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กลอนค่านิยม ๑๒ ประการของคนไทยเป็นสื่อเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ๓) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กลอนค่านิยม ๑๒ ประการของคนไทยเป็นสื่อเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ และ ๔) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กลอนค่านิยม ๑๒ ประการของคนไทยเป็นสื่อเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ การวิจัยแบ่งเป็น ๔ ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ ๑ การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : R1) ขั้นตอนที่ ๒ การออกแบบและพัฒนารูปแบบการสอน (Design and Development : D1) ขั้นตอนที่ ๓ การนำรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้ (Implement : R2) และขั้นตอนที่ ๔ การประเมินผลรูปแบบการเรียนการสอน (Evaluation : D2) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ๑) กลอนค่านิยม ๑๒ ประการของคนไทยจำนวน ๑๓ กลอน ๒) แผนการจัด การเรียนรู้ที่ใช้กลอนค่านิยม ๑๒ ประการของคนไทยเป็นสื่อ จำนวน ๑๕ แผน ๓) แบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน ๓๐ ข้อ ๔) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนนานาชาติเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา ๒๕๖๒ จำนวน ๒๙ คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่า ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย สองค่าจากกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว (t-test for Paired Samples)
ผลการศึกษา ปรากฏดังนี้
ตอนที่ ๑ ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กลอนค่านิยม ๑๒ ประการของคนไทยเป็นสื่อเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
๑. สาเหตุของความผิดพลาดในการอ่านออกเสียงเกิดจากตัวครู เกิดจากทางสังคม อิทธิพลของโทรทัศน์ วิทยุ รวมถึงภาษาถิ่น การใช้ภาษาของครอบครัว ชุมชน และการอ่านน้อย
๒. สาเหตุของความผิดพลาดในการอ่านจับใจความ เกิดจากนักเรียนไม่ชอบอ่าน ไม่มีนิสัยรักการอ่าน มีทัศนคติไม่ดีต่อหนังสือ อ่านหนังสือไม่ออกและอ่านไม่คล่อง อ่านช้า จับใจความไม่ได้
๓. ปัญหาในการอ่านออกเสียง คือ การออกเสียงตามสำเนียงภาษาถิ่นใต้ การออกเสียงคำควบกล้ำไม่ออกเสียง ร ล ว การออกเสียง ร และ ล สลับกัน และการออกเสียง ร และ ล ผิดที่
๔. ปัญหาในการอ่านจับใจความคือ อ่านไม่มีวัตถุประสงค์ ขาดสมาธิในการอ่านรู้จักคำศัพท์ไม่เพียงพอ ไม่รู้จักวิธีในการอ่านที่ดี
ตอนที่ ๒ ผลการออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กลอนค่านิยม ๑๒ ประการของคนไทยเป็นสื่อ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กลอนค่านิยม ๑๒ ประการของคนไทยเป็นสื่อเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ ๘๘.๕๑/๘๖.๙๐ สูงกว่าเกณฑ์ ๘๐/๘๐
ตอนที่ ๓ ผลการนำรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กลอนค่านิยม ๑๒ ประการของคนไทยเป็นสื่อเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ไปใช้
นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กลอนค่านิยม ๑๒ ประการของคนไทย เป็นสื่อเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
ตอนที่ ๔ ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กลอนค่านิยม ๑๒ ประการของคนไทยเป็นสื่อเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้กลอนค่านิยม ๑๒ ประการ ของคนไทยเป็นสื่อเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านจับใจความ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ๔.๕๙