การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษา
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ตามแนวการสอนภาษา
เพื่อการสื่อสารร่วมกับวิธีการสอนแบบฟัง – พูด เพื่อเสริมสร้างทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับวิธีการสอนแบบฟัง – พูด เพื่อเสริมสร้างทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษด้านการฟังและพูดของนักเรียนที่เรียนโดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับวิธีการสอนแบบฟัง – พูดกับนักเรียนที่เรียนโดยใช้วิธีสอนปกติ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบเจตคติก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลอง ที่มีต่อการจัด การเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับวิธีการสอนแบบฟัง – พูด ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนอนุบาลขอนแก่น จำนวน 470 คน กลุ่มทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนอนุบาลขอนแก่น จำนวน 51 คน นักเรียนกลุ่มควบคุมที่เรียนโดยใช้วิธีสอนปกติ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนอนุบาลขอนแก่น จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย
1) แบบทดสอบวัดความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษด้านการฟังและพูด 2) แบบมาตรส่วนประเมินค่าวัดความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษด้านการฟังและพูด และ 3) แบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับวิธีการสอนแบบฟัง – พูด
ผลการวิจัยพบว่า
1. ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารร่วมกับวิธีการสอนแบบฟัง – พูด เพื่อเสริมสร้างทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ สาระ กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดผลและประเมินผล โดยมีดัชนีการประเมินคุณภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน อยู่ในระดับเหมาะสมดีมาก ที่คะแนนค่าเฉลี่ย (mean) 4.81 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 0.39 และดัชนีการประเมินคุณภาพรูปแบบการสอนโดยคณะกรรมการนิเทศการสอน จำนวน 3 ท่าน อยู่ในระดับเหมาะสมดีมาก ที่คะแนนค่าเฉลี่ย (mean) 4.89 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 0.32