เผยแพร่ผลงานวิชาการ
แก้ปัญหาทางการเงินในชีวิตประจำวัน เรื่อง รู้รักคณิตศาสตร์ตอบโจทย์วางแผนการเงิน
เพื่ออนาคตและคุณภาพชีวิตที่ดี ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้ศึกษา วิจิตรา เอี่ยมสร้อย
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์แก้ปัญหาทางการเงินในชีวิตประจำวัน เรื่อง รู้รักคณิตศาสตร์ตอบโจทย์วางแผนการเงินเพื่ออนาคตและคุณภาพชีวิตที่ดี ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์แก้ปัญหาทางการเงินในชีวิตประจำวัน เรื่อง รู้รักคณิตศาสตร์ตอบโจทย์วางแผนการเงิน เพื่ออนาคตและคุณภาพชีวิตที่ดี ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์แก้ปัญหาทางการเงินในชีวิตประจำวัน เรื่อง รู้รักคณิตศาสตร์ตอบโจทย์วางแผนการเงินเพื่ออนาคตและคุณภาพชีวิต
ที่ดีที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครอง ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์แก้ปัญหาทางการเงินในชีวิตประจำวัน เรื่อง รู้รักคณิตศาสตร์ตอบโจทย์วางแผนการเงินเพื่ออนาคตและคุณภาพชีวิตที่ดีที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 26 คน โดยวิธีการคัดเลือกแบบการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random Sampling)
และกลุ่มเป้าหมายของการศึกษาความพึงพอใจ คือ ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 26 คน ที่มีความหมายว่าเป็นตัวแทนของชุมชน ที่แสดงความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แก้ปัญหาทางการเงินในชีวิตประจำวัน ฯ ทำให้ผู้ปกครองภูมิใจที่นักเรียนสามารถนำความรู้ไปสู่การพัฒนาครอบครัวและชุมชนได้
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์แก้ปัญหาทางการเงินในชีวิตประจำวัน เรื่อง รู้รักคณิตศาสตร์ตอบโจทย์วางแผนการเงินเพื่ออนาคต และคุณภาพชีวิตที่ดี ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์แก้ปัญหาทางการเงิน
ในชีวิตประจำวัน เรื่อง รู้รักคณิตศาสตร์ตอบโจทย์วางแผนการเงิน เพื่ออนาคตและคุณภาพชีวิตที่ดี
ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ของชุดกิจกรรมพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์แก้ปัญหาทางการเงินในชีวิตประจำวัน เรื่อง รู้รักคณิตศาสตร์ตอบโจทย์วางแผนการเงิน เพื่ออนาคตและคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อนำไปสู่เป้าหมายตามตัวชี้วัดตามมาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ใช้เป็นเครื่องมือวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ก่อน – หลังใช้ชุดกิจกรรม และ4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครอง ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์แก้ปัญหาทางการเงินในชีวิตประจำวัน เรื่อง รู้รักคณิตศาสตร์ตอบโจทย์วางแผนการเงินเพื่ออนาคตและคุณภาพชีวิตที่ดี ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
สรุปผลการศึกษา
1. การหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์แก้ปัญหาทางการเงินในชีวิตประจำวัน เรื่อง รู้รักคณิตศาสตร์ตอบโจทย์วางแผนการเงินเพื่ออนาคตและคุณภาพชีวิตที่ดีที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 พบว่า ชุดกิจกรรมพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์แก้ปัญหาทางการเงินในชีวิตประจำวัน เรื่อง รู้รักคณิตศาสตร์ตอบโจทย์วางแผนการเงินเพื่ออนาคตและคุณภาพชีวิตที่ดี ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพโดยรวม / เท่ากับ 88.20/85.00 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ตามที่กำหนดไว้ เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ข้อที่ 1
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์แก้ปัญหาทางการเงินในชีวิตประจำวัน เรื่อง รู้รักคณิตศาสตร์ตอบโจทย์วางแผนการเงินเพื่ออนาคตและคุณภาพชีวิตที่ดี ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า โดยภาพรวมคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 20.15 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 25.50 คะแนนเฉลี่ยความก้าวหน้าเท่ากับ 5.35 คะแนน และร้อยละของความก้าวหน้าเท่ากับ 26.53 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของคะแนนเต็มเมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคล พบว่า นักเรียนได้คะแนนเพิ่มขึ้นทุกคนมีคะแนนความก้าวหน้าตั้งแต่ 3 ถึง 8 แสดงว่า นักเรียนที่ผ่านการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์แก้ปัญหาทางการเงินในชีวิตประจำวัน เรื่อง รู้รักคณิตศาสตร์ตอบโจทย์วางแผนการเงินเพื่ออนาคตและคุณภาพชีวิตที่ดี ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลต่อผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นจริง และเมื่อนำผลต่างระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนมาเปรียบเทียบ โดยใช้ t- test พบว่า หลังจากได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์แก้ปัญหาทางการเงินในชีวิตประจำวัน เรื่อง รู้รักคณิตศาสตร์ตอบโจทย์ วางแผนการเงินเพื่ออนาคตและคุณภาพชีวิตที่ดีที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ของการเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นั่นแสดงว่า การจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์แก้ปัญหาทางการเงินในชีวิตประจำวัน เรื่อง รู้รักคณิตศาสตร์ตอบโจทย์ วางแผนการเงินเพื่ออนาคตและคุณภาพชีวิตที่ดีที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นจริง เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ในข้อ 2
3. ความพึงพอใจของผู้ปกครอง ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์แก้ปัญหาทางการเงินในชีวิตประจำวัน เรื่อง รู้รักคณิตศาสตร์ตอบโจทย์วางแผนการเงินเพื่ออนาคตและคุณภาพชีวิตที่ดี ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ความพึงพอใจของผู้ปกครอง ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์แก้ปัญหาทางการเงินในชีวิตประจำวัน เรื่อง รู้รักคณิตศาสตร์ตอบโจทย์วางแผนการเงินเพื่ออนาคตและคุณภาพชีวิตที่ดี ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.62 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.47 แสดงว่า ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์แก้ปัญหาทางการเงินในชีวิตประจำวัน เรื่อง รู้รักคณิตศาสตร์ ตอบโจทย์วางแผนการเงินเพื่ออนาคตและคุณภาพชีวิตที่ดี ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่นักเรียนสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง เพื่ออนาคตและคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสนใจเรียนคณิตศาสตร์มากยิ่งขึ้น และทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น เป็นไปตามสมมติฐานที่กำหนดไว้ในข้อ 3