รายงานการประเมินโครงการการจัดการเรียนการสอนบูรณาการแบบสหวิทยาการ
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนศีขรภูมิพิสัย จังหวัดสุรินทร์
ผู้ประเมิน นายบุญศักดิ์ บุญจูง ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ปีที่ศึกษา 2562
บทสรุปผู้บริหาร
การประเมินโครงการการจัดการเรียนการสอนบูรณาการแบบสหวิทยาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนศีขรภูมิพิสัย จังหวัดสุรินทร์ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทของโครงการ ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ด้านของโครงการ ประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ และประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ซึ่งประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ได้มาโดยการเลือก แบบเจาะจง ครูผู้สอน จำนวน 52 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 327 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 327 คน รวม 721 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบชั้นภูมิตามระดับชั้น แต่ละชั้นภูมิและโดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 6 ฉบับ เพื่อใช้ประเมินด้านบริบทของโครงการ ประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ และประเมินด้านผลผลิตของโครงการ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยโปรแกรมสำเร็จรูปและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการประเมินพบว่า
โครงการการจัดการเรียนการสอนบูรณาการแบบสหวิทยาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนศีขรภูมิพิสัย จังหวัดสุรินทร์ โดยภาพรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านกระบวนการ รองลงมา คือ ด้านผลผลิต ด้านบริบท และด้านปัจจัยนำเข้า มีรายละเอียด ดังนี้
1. ด้านบริบทของโครงการการจัดการเรียนการสอนบูรณาการแบบสหวิทยาการตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวม ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นว่า มีความต้องการในการดำเนินการจัดการเรียนการสอนบูรณาการแบบสหวิทยาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการการจัดการเรียนการสอนบูรณาการแบบสหวิทยาการตาม
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวม ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
มีความเห็นว่า ปัจจัยนำเข้าของโครงการ มีความเหมาะสมและเพียงพอ อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์
การประเมิน
3. ด้านกระบวนการของโครงการการจัดการเรียนการสอนบูรณาการแบบสหวิทยาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวม ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน มีความเห็นว่า การดำเนินงานตามแผนหรือวัตถุประสงค์ของโครงการ มีระดับการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ด้านผลผลิตของโครงการการจัดการเรียนการสอนบูรณาการแบบสหวิทยาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวม ครูผู้สอน มีระดับการปฏิบัติและความสามารถในการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการแบบสหวิทยาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ด้านความรู้และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ “อยู่อย่างพอเพียง ของนักเรียนที่ได้รับจากกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระ อยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนผลการประเมินความพึงพอใจตามความคิดของครูผู้สอนและนักเรียน พบว่า มีความพึงพอใจต่อโครงการ ภาพรวมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด