การพัฒนารูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ SPS C
Model โรงเรียนศีขรภูมิพิสัย จังหวัดสุรินทร์
ผู้วิจัย นายบุญศักดิ์ บุญจูง ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนศีขรภูมิพิสัย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ SPS CARE Model 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ SPS CARE Model และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ SPS CARE Model ของครูโรงเรียนศีขรภูมิพิสัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยตรงของโรงเรียนศีขรภูมิพิสัย จังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ครูผู้สอน จำนวน 52 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 327 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 327 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 722 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ตามระดับชั้น แต่ละชั้นภูมิและโดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Sampling Random) ตามxxxส่วนตารางของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) คู่มือการดำเนินงานรูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ SPS CARE Model 2) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน 3) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 4) แบบนิเทศ ติดตามผลการปฏิบัติงานและการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยวิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละและทำการสังเคราะห์และสรุปผลการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ SPS CARE Model โรงเรียนศีขรภูมิพิสัย จังหวัดสุรินทร์
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนศีขรภูมิพิสัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D. = 0.50) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีการดำเนินการอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการส่งเสริมนักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา และด้านการส่งต่อนักเรียน มีข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางการพัฒนาคือด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ควรมีเครื่องมือในการใช้เก็บรวบรวมข้อมูลอย่างหลากหลาย ครอบคลุมรายละเอียดพฤติกรรมทุกด้าน ด้านการคัดกรองนักเรียน มีการจัดอบรมเพื่อสร้างองค์ความรู้ตามกระบวนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการที่ถูกต้อง ด้านการส่งเสริมนักเรียน มีการจัดงบประมาณเพื่อสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ที่สนองความต้องการของนักเรียนได้อย่างหลากหลาย ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ควรจัดกิจกรรมที่มีความหลากหลายต่อเนื่องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกิดความร่วมมือในการแก้ไขปัญหานักเรียนอย่างจริงจัง และด้านการส่งต่อ มีการประสานความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอกที่สามารถแก้ไขปัญหาของนักเรียนจากผู้เชี่ยวชาญได้อย่างถูกวิธี
2. รูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ SPS CARE Model โรงเรียนศีขรภูมิพิสัย มีองค์ประกอบหลัก 5 ด้าน คือ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ขอบข่ายการบริหารงาน กระบวนการบริหารงาน 4 ขั้น คือ ขั้นการวางแผน (Plan) ขั้นการดำเนินงาน (Do) โดยใช้ SPS CARE Model ได้แก่ ขั้น S : Survey ขั้น P : Process ขั้น S = Success และ CARE (Community Network, Attitude, Research and development, Evaluation) ขั้นการตรวจสอบประเมินผล (Check) และขั้นการดำเนินการให้เหมาะสม (Action) และแนวทางการประเมินรูปแบบ มีความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ SPS CARE Model โรงเรียนศีขรภูมิพิสัย พบว่า ครูในโรงเรียนมีระดับการปฏิบัติงานในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ SPS CARE Model อยู่ในระดับมากที่สุด ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล การคัดกรองนักเรียน การส่งเสริมนักเรียน การป้องกันและแก้ไขปัญหา และการส่งต่อนักเรียน ส่งผลให้การดำเนินงานเกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม นักเรียนได้รับการส่งเสริมทักษะด้านวิชาการ กีฬา ดนตรี ศิลปะ นาฏศิลป์ ด้านทักษะชีวิตและได้รับการคุ้มครองความปลอดภัยครอบ
คลุมทุกด้าน
4. ครูโรงเรียนศีขรภูมิพิสัย มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้ SPS CARE Model โรงเรียนศีขรภูมิพิสัย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า พึงพอใจมากที่สุดด้านการดำเนินงาน (Do) รองลงมา คือ ด้านการดำเนินการ ให้เหมาะสม (Action) ด้านการวางแผน (Plan) และด้านการตรวจสอบ (Check) ตามลำดับ