การนิเทศแบบพลังร่วมสู่สถานศึกษา 5Gs : เก่ง คิด ดี สุข พอเพียง
ชื่อผลงาน “การนิเทศแบบพลังร่วมสู่สถานศึกษา 5Gs : เก่ง คิด ดี สุข พอเพียง”
ชื่อสถานศึกษา โรงเรียนบ้านเหนือคลอง
ข้อมูลผู้นำเสนอผลงาน
นางสาววรรณา คล้ายฉิม ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนบ้านเหนือคลอง
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรังเขต 2 ตำบลบางกุ้ง อำเภอห้วยยอด
จังหวัดตรัง รหัสไปรษณีย์ 92210 โทรศัพท์ 081 388 1973
E-mail : b-wan06@hotmail.com เว็บไซต์โรงเรียน http://school.obec.go.
๑. ความสำคัญของผลงาน
๑.๑ ความเป็นมาและสภาพปัญหา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 47 กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพ เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการปฏิบัติอย่างหลากหลาย ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญ คือ กระบวนการบริหารจัดการ กระบวนการจัดการเรียนรู้และกระบวนการนิเทศ ติดตาม ประเมินผล กระบวนการนิเทศภายในมีกำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์ การนิเทศการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับหน่วยงานทุกระดับ ดังนั้น ภารกิจที่สำคัญประการหนึ่งของผู้บริหารก็คือ การนิเทศ โดยเฉพาะการนิเทศการสอนของครูให้มีการพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ การนิเทศมีความสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอนอย่างยิ่ง ในบางครั้งแม้ครูจะใช้ความสามารถ ในการจัดกิจกรรมตามที่วางแผนไว้แล้วก็ตาม อาจจะมีบางสิ่งบางอย่างขาดตกบกพร่องทำให้การสอนขาดความสมบูรณ์ ดังนั้น หากมีบุคคลอื่นได้ชี้แนะ แนะนำ ให้ความช่วยเหลือ ก็ย่อมเกิดผลดี การนิเทศจึงเปรียบเหมือนกระจกเงา ที่คอยส่องให้เห็นภาพการสอนของครูและเป็นกระบวนการที่เสริมสร้างการสอนของครูให้มีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนในการพัฒนาการศึกษา การสร้างสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสม ในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนได้ถูกต้องตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษา โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และยังเป็นการสร้างความตระหนักให้กับครูถึงปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ และสร้างขวัญกำลังใจให้กับครูผู้สอนอีกด้วย การนิเทศการศึกษา นับว่ามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาครูให้สามารถจัดกิจกรรมต่างๆ และกระบวนการเรียนรู้ให้บรรลุผลตามจุดหมายของหลักสูตรได้ แต่ในสภาพปัจจุบันมีข้อจำกัดหลายประการที่ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติการนิเทศการศึกษาได้อย่างครบถ้วน จึงทำให้ไม่สะดวกในการปฏิบัติงานนิเทศ และบุคลากรศึกษานิเทศก์มีค่อนข้างน้อย ดังนั้นระบบการนิเทศการศึกษาที่เหมาะสมก็คือ การนิเทศภายในโรงเรียนเพราะสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง
๑.๑.๑ วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทั้งในภาพรวมของสถานศึกษาเพื่อกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในการพัฒนาตามรูปแบบ
จากการจัดการเรียนการสอนของนักเรียนปีการศึกษา ๒๕๖๒ ในภาพรวมพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ทางโรงเรียนจึงจำเป็นต้องพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูและนักเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้นตามเกณฑ์ที่โรงเรียนตั้งเป้าหมายไว้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงได้ดำเนินการพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียน โดยมุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพนักเรียนในภาพรวม เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
๑.๑.๒ นำเสนอความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาที่จะแก้ไข/พัฒนา
การนิเทศภายในโรงเรียน โรงเรียนได้มีการวางแผนการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียน อีกทั้งพัฒนากระบวนการนิเทศภายในไปใช้จริง ประเมินผลการเรียนรู้ของครูผู้สอน เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ โดยการใช้สื่อ นวัตกรรมการเรียนรู้ เพิ่มศักยภาพครู มีการพัฒนา ติดตาม ดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการและค่านิยมหลัก ๑๒ ประการ อย่างเป็นระบบและส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น อีกทั้งเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนคุณภาพสถานศึกษาและกระบวนการบริหารจัดการของโรงเรียนบ้านเหนือคลองให้บรรลุวิสัยทัศน์ของโรงเรียน จึงได้นำนวัตกรรม “การนิเทศแบบพลังร่วมสู่สถานศึกษา 5Gs : เก่ง คิด ดี สุข พอเพียง” เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน ต่อสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่สูงขึ้น
๑.๑.๓ มีการวิเคราะห์ปัญหาและจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
โรงเรียนบ้านเหนือคลองได้ดำเนินการวิเคราะห์ปัญหา ผลจากการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยศึกษาข้อมูลสารสนเทศด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียน จัดประชุมระดมความคิดเห็นจากข้าราชการครูและบุคลากรภายในโรงเรียนเพื่อวางแผนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการ บริบทของสถานศึกษา พร้อมทั้งระดมทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ มอบหมายผู้รับผิดชอบดำเนินการตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด มีการดำเนินการนิเทศ ติดตามสรุปผลการดำเนินงานอย่างเป็นขั้นตอน รายละเอียดข้อมูลหลักฐาน ได้แก่ แผนปฏิบัติการ แบบสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการ รายงานการประชุม ข้อมูลการวิเคราะห์ SWOT Analysis คำสั่งมอบหมายงาน โครงการนิเทศภายใน โครงการพัฒนาคุณภาพนักเรียนระดับประถมศึกษา โครงการพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านICT โครงการพัฒนากระบวนการบริหารและการจัดการศึกษา โครงการพัฒนาศักยภาพครูละบุคลากรทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ข้อมูลสารสนเทศด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและสื่อการเรียนรู้ ซึ่งได้นำข้อมูลดังกล่าวมาจัดลำดับความสำคัญ นิเทศ ติดตามให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
๑.๑.๔ ศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยภายใน/ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพตามบทบาทของสถานศึกษา
โรงเรียนได้ดำเนินการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพตามบทบาทของสถานศึกษา คือ จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา เพื่อวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้น
จุดเด่น
1. โรงเรียนมีวิสัยทัศน์ เป้าหมาย พันธกิจ กลยุทธ์และแนวทางในการพัฒนาที่กำหนดไว้ชัดเจน
๒. โรงเรียนส่งเสริมให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ ส่งเสริมขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน และการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู
๓. โรงเรียนจัดบรรยากาศภายในห้องเรียน ภายนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้
๔. โรงเรียนมีการจัดสรรงบประมาณเหมาะสมตรงตามความต้องการสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการ
จุดที่ควรพัฒนา
๑. พัฒนาให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
๒. จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ที่เป็นระบบ
๑.๔.๕ เลือกปัญหาที่มีความเป็นไปได้ในการแก้ไข/พัฒนา
การนิเทศภายในโรงเรียน เป็นวิธีการสำคัญอย่างหนึ่งในการบริหารการศึกษาที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้สูงขึ้น เพราะเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานภายในโรงเรียนสามารถปฏิบัติงาน ในขอบเขตที่ตนเองรับผิดชอบประสบผลสำเร็จเป็นไปตามมาตรฐานและสอดคล้องกับระเบียบ วิธีการดำเนินงาน
ที่กำหนดไว้ การนิเทศภายในโรงเรียนจึงเป็นยุทธวิธีที่ผู้เกี่ยวข้องควรหาแนวทางดำเนินการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
๑.๒ แนวทางการแก้ปัญหาและการพัฒนา
๑.๒.๑ บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาและการพัฒนา
โรงเรียนมีการวิเคราะห์สภาพปัญหาและผลการจัดการศึกษาในปีที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูลสารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการจัดการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากบุคลากรภายในโรงเรียนเพื่อร่วมกันวางแผน กำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการ บริบทของโรงเรียน พร้อมทั้งระดมทรัพยากร จัดสรรงบประมาณ มอบหมายผู้รับผิดชอบดำเนินการตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและการพัฒนา นิเทศ กำกับ ติดตามและประเมินผล สรุปผลการดำเนินงานโดยใช้หลักการพัฒนาผู้เรียนและใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ทำให้ผู้เรียนมีคุณภาพ เน้นครูปฏิบัติงานโดยใช้หลักการมีส่วนร่วม ทำงานด้วยความเต็มใจ เต็มกำลัง เต็มเวลา เต็มความสามารถ ภายใต้กรอบการบริหารงาน ๔ งาน ได้แก่ กลุ่มงานบริหารบุคคล กลุ่มงานบริหารวิชาการ กลุ่มงานบริหารงบประมาณและกลุ่มงานบริหารทั่วไป
๑.๒.๒ กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพปัญหา
โรงเรียนได้กำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจของโรงเรียนไว้อย่างชัดเจนและสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ความต้องการของชุมชนโดยครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ร่วมประชุมและวิเคราะห์ SWOT Analysis นำแผนไปปฏิบัติ ปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง ครูและบุคลากรทางการศึกษาปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้รับการนิเทศภายในทุกคนตามปฏิทินที่ได้ร่วมกันกำหนดไว้ และมีการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเหมาะสมกับสภาพปัญหาและความต้องการ ดังนี้
๒.จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์
๑) เพื่อพัฒนาการนิเทศภายในให้มีประสิทธิภาพโดยนวัตกรรม “การนิเทศแบบพลังร่วมสู่สถานศึกษา 5Gs : เก่ง คิด ดี สุข พอเพียง”
๒) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้สูงขึ้น
๓) เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน
เป้าหมาย
๑) ครูทุกคนได้รับการนิเทศภายใน
๒) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์
๓. กระบวนการพัฒนาผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
๓.๑ ศึกษาหลักการทฤษฎี แนวคิดในการพัฒนา
โรงเรียนบ้านเหนือคลอง มีการศึกษา เอกสาร หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องและนำมาสังเคราะห์เพื่อนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหา โดยใช้ทฤษฎีของ สงัด อุทรานันท์ (2538: 23 – 24) ได้กล่าวว่า หลักการนิเทศภายในโรงเรียน ได้กล่าวไว้ว่าการนิเทศการศึกษา เป็นงานในความรับผิดชอบของผู้บริหารโดยตรง ทั้งนี้ ผู้บริหารอาจดำเนินการด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทน ซึ่งการนิเทศภายในโรงเรียนจะสำเร็จลงได้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือ จาก 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิเทศ และผู้รับการนิเทศ นำหลักการ แนวคิด ทฤษฎีหลักการนิเทศมาใช้ การนิเทศภายในโรงเรียน ผู้นิเทศประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน ผู้ช่วยผู้บริหาร ครูผู้ร่วมนิเทศ ครูแกนนำ ดำเนินการโดยใช้ภาวะผู้นำ ทำให้เกิดความร่วมมือ ผู้ถูกนิเทศให้ความไว้วางใจ เต็มใจในการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลง ลงมือปฏิบัติจริง ทดลองใช้เครื่องมือ และวิธีการที่ร่วมกันคิด มาใช้ในการสร้างนวัตกรรมเพื่อการนิเทศภายในตามแนวทาง ดังนี้
1) การนิเทศภายในโรงเรียน เป็นภารกิจที่ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องรับผิดชอบ และมีส่วนร่วม รับรู้ต่อความก้าวหน้าของครูในโรงเรียนที่มีผลสืบเนื่องมาจากโรงเรียน
2) โรงเรียนต้องทำงานร่วมกันและใช้วิธีการประชาธิปไตยกับการดำเนินงาน กล่าวคือ มีความเคารพในเหตุผลซึ่งกันและกัน เป็นความร่วมมือ ร่วมใจ ร่วมแสดงความคิด
3) โรงเรียนต้องเริ่มต้นด้วยการรู้สภาพปัญหาที่แท้จริงเสียก่อน แล้วจึงกำหนดแผนงาน
4) โรงเรียนมุ่งเพื่อปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนไม่ใช่การจับผิด
5) บุคลากรในโรงเรียนต้องยอมรับความจริงในแง่ที่ว่าไม่มีใครจะมีความสามารถไปทุกเรื่อง
6) โรงเรียนมุ่งเน้นการสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีต่อกัน ทำให้งานบรรลุวัตถุประสงค์
๗) โรงเรียนต้องจัดสรรงบประมาณให้ครูผู้สอนเพียงพอในการดำเนินงานนิเทศภายในสถานศึกษา
ในการออกแบบแนวทางการพัฒนาด้านการนิเทศภายใน ผู้บริหารสถานศึกษา และคณะกรรมการนิเทศ ภายในโรงเรียนควรเข้าใจและตระหนักเกี่ยวกับการนิเทศภายในโรงเรียน ดังนี้
1) การเริ่มต้นจัดกิจกรรมการนิเทศภายในโรงเรียนในระยะแรกควรหลีกเลี่ยงกิจกรรม ที่ต้อง เผชิญหน้ากัน เช่น การสังเกตการสอน เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และเกิดความขัดแย้งได้ง่าย ควรเลือกกิจกรรมที่สร้างความคุ้นเคย เช่น การให้คำปรึกษาหารือ การศึกษาเอกสารทางวิชาการ หรือการศึกษาดูงาน เมื่อครูคุ้นเคยกับการนิเทศภายใน และมีความพร้อมจึงใช้กิจกรรมการสังเกตการสอนที่เป็นกัลยาณมิตร
2) ความรัก ความสามัคคีในหมู่คณะ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การนิเทศภายในโรงเรียน ประสบความสำเร็จ การใช้กระบวนการกลุ่มและกระบวนการ PLC ในการดำเนินงานจะทำให้ได้ผลดีเป็นอย่างมาก
3) กิจกรรมที่ใช้ในการนิเทศ ควรตอบสนองต่อปัญหา ซึ่งต้องร่วมกันพิจารณา อย่างรอบคอบ โดยผลที่เกิดจากการแก้ปัญหา ให้เน้นการพัฒนางาน และเน้นพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
4) คณะกรรมการนิเทศ ควรศึกษาหาความรู้และแสวงหาประสบการณ์ เพื่อนำมาใช้ในการนิเทศการจัดการเรียนการสอนของครู
5) สร้างศรัทธาและความเข้าใจอันดีกับผู้รับการนิเทศ
๓.๒ การออกแบบผลงานนวัตกรรม
โรงเรียนบ้านเหนือคลอง ได้สร้างนวัตกรรมโดยการนำรูปแบบการนิเทศภายในที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมาย มีการกระจายหน้าที่ความรับผิดชอบ ตามภารกิจและขอบข่ายงาน ให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการออกแบบนวัตกรรมด้านการนิเทศภายใน โดยยึดหลัก PDCA ในการดำเนินงานสร้างนวัตกรรมการออกแบบนวัตกรรม เพื่อพัฒนาและยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในรูปแบบนวัตกรรม “การนิเทศแบบพลังร่วมสู่สถานศึกษา 5Gs : เก่ง คิด ดี สุข พอเพียง”
Modle นวัตกรรม “การนิเทศแบบพลังร่วมสู่สถานศึกษา 5Gs : เก่ง คิด ดี สุข พอเพียง” มี 6 ขั้นตอนดังนี้
๑. ระดมสมองสืบค้นปัญหา มีจุดมุ่งหมายเพื่อร่วมกันวิเคราะห์องค์กร สภาพปัญหาของโรงเรียน พบว่า
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนระดับสถานศึกษาและระดับชาติ ไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ
- การนิเทศภายในขาดความต่อเนื่องและยังไม่ครอบคลุม
๒. ศึกษาแก้ไขปัญหา มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเข้าใจ ยอมรับปัญหาและพร้อมที่จะแก้ปัญหา
๓. ตระหนักร่วม มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความตระหนัก ความรับผิดชอบในการพัฒนาตนเอง พัฒนา
นักเรียน พัฒนาโรงเรียน ทุกคนเห็นความสำคัญของการพัฒนา รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง
๔. สรรหานวัตกรรม มีจุดมุ่งหมายเพื่อรวมพลังความคิด และการแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงประสบการณ์ ทุกคนกำหนดเป้าหมายการปฏิบัติงานของตนเองแล้วนำมากำหนดเป้าหมายของโรงเรียน จัดทำบันทึกการนิเทศ เครื่องมือการนิเทศ ออกแบบการนิเทศ เกิดเป็นรูปแบบนวัตกรรม “การนิเทศแบบพลังร่วมสู่สถานศึกษา 5Gs : เก่ง คิด ดี สุข พอเพียง”
๕. นำสู่การปฏิบัติ มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำนวัตกรรมไปใช้เป็นขั้นตอนการนิเทศแบบพลังร่วมโดยผู้บริหารนิเทศครู ครูนิเทศครู ครูนิเทศนักเรียน ดังนี้
๑) ร่วมประชุมชี้แจงการใช้นวัตกรรม “การนิเทศแบบพลังร่วมสู่สถานศึกษา 5Gs : เก่ง คิด ดี สุข พอเพียง”
๒) ร่วมประชุม สร้างความรู้ ความเข้าใจ ในการนำนวัตกรรม “การนิเทศแบบพลังร่วมสู่สถานศึกษา 5Gs : เก่ง คิด ดี สุข พอเพียง”ไปใช้ในการนิเทศภายใน
๓) ดำเนินการจัดการเรียนรู้ทุกกิจกรรมให้สอดคล้องกับนวัตกรรม “การนิเทศแบบพลังร่วมสู่สถานศึกษา 5Gs : เก่ง คิด ดี สุข พอเพียง”
๔) นิเทศ กำกับ ติดตาม และให้ข้อเสนอแนะการดำเนินการพัฒนาการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆในการใช้นวัตกรรม “การนิเทศแบบพลังร่วมสู่สถานศึกษา 5Gs : เก่ง คิด ดี สุข พอเพียง”
๕) ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำนวัตกรรม “การนิเทศแบบพลังร่วมสู่สถานศึกษา 5Gs : เก่ง คิด ดี สุข พอเพียง” ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
๖) ร่วมประชุม สรุป รายงาน ติดตาม และประเมินผลการใช้นวัตกรรม “การนิเทศแบบพลังร่วมสู่สถานศึกษา 5Gs : เก่ง คิด ดี สุข พอเพียง”
๗) จัดทำรูปเล่มรายงานผลการใช้นวัตกรรมและจัดทำเอกสารเผยแพร่นวัตกรรม
๖. พัฒนาสู่ความสำเร็จ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสรุปผลการดำเนินการนิเทศภายใน เปรียบเทียบภาพความสำเร็จกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ พร้อมรวบรวมผลงานที่ประสบความสำเร็จ ร่วมชื่นชม ยกย่องและเผยแพร่ผลงาน
สถานศึกษา ๕Gs หมายถึงกระบวนการนิเทศภายในแบบพลังร่วม ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนเป็นคนเก่ง คนดี มีคุณภาพ ดังนี้
G1 : Good Governance การบริหารจัดการดี
G๒ : Good Envir0nment สิ่งแวดล้อมดี
G๓ : Good Cooperation ความร่วมมือดี
G๔ : Good Teachers ครูดี
G๕ : Good Learners ผู้เรียนดี
โดยมีเป้าหมายให้นักเรียน เก่ง คิด ดี สุข พอเพียง
เก่ง : ส่งเสริมให้นักเรียนมีผลการเรียนดี
คิด : ส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะกระบวนการคิด คิดเป็น คิดดี ทำเป็น แก้ปัญหาได้
ดี : ส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคนดี มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ
สุข : ส่งเสริมให้นักเรียนอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
พอเพียง : ส่งเสริมให้นักเรียนดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๓ ห่วง (พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี) ๒ เงื่อนไข (ความรู้และคุณธรรม)
Model “การนิเทศแบบพลังร่วมสู่สถานศึกษา 5Gs : เก่ง คิด ดี สุข พอเพียง”
การดำเนินงานตามกิจกรรม
๑) โรงเรียนมีการจัดทำคู่มือเอกสารแนวทางการดำเนินงานของนวัตกรรม “การนิเทศแบบพลังร่วมสู่สถานศึกษา 5Gs : เก่ง คิด ดี สุข พอเพียง” เพื่อเป็นแนวทางในการใช้นวัตกรรม
๒) มีการชี้แจง ทำความเข้าใจกับผู้เกี่ยวข้องที่นำนวัตกรรมไปใช้กับทุก ๆ ฝ่าย โดยเริ่มจากคณะครู บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานถึงแนวทางการใช้
๓) มีการสนับสนุนทรัพยากรหรืองบประมาณ ในการนำนวัตกรรมไปใช้ ทุกภาคส่วนมีการสนับสนุนทรัพยากรและงบประมาณ ในการจัดทำนวัตกรรม เพื่อให้การทำกิจกรรมต่าง ๆ ภายในโรงเรียน มีการดำเนินการที่มีคุณภาพ และราบรื่น จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
๔) ในระหว่างการนำนวัตกรรม “การนิเทศแบบพลังร่วมสู่สถานศึกษา 5Gs : เก่ง คิด ดี สุข พอเพียง” ด้านการนิเทศภายในของโรงเรียนบ้านเหนือคลอง มาใช้กับกิจกรรมการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อนิเทศ ติดตาม กิจกรรม และผลของการใช้นวัตกรรม เป็นระยะ ๆ เพื่อนำข้อผิดพลาดมาพัฒนา ปรับปรุง แก้ไข นำข้อดีมาพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
๕) มีการจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในโรงเรียน เกี่ยวกับนวัตกรรม “การนิเทศแบบพลังร่วมสู่สถานศึกษา 5Gs : เก่ง คิด ดี สุข พอเพียง” ด้านการนิเทศภายในของโรงเรียน ให้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้มีการจัดกลุ่มให้คำปรึกษา แก้ปัญหาการใช้นวัตกรรม เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
๔. ผลการดำเนินการ ผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ที่ได้รับ
๔.๑ ผลการดำเนินงาน
โรงเรียนบ้านเหนือคลองพัฒนาการนิเทศภายในโดยการนำนวัตกรม “การนิเทศแบบพลังร่วมสู่สถานศึกษา 5Gs : เก่ง คิด ดี สุข พอเพียง” มาใช้เกิดผลดีต่อผู้บริหาร ครูและบุคลากร นักเรียน ดังนี้
G1 : Good Governance : การบริหารจัดการดี
ผลจากการทำนวัตกรรม “การนิเทศแบบพลังร่วมสู่สถานศึกษา 5Gs : เก่ง คิด ดี สุข พอเพียง” มาใช้ในการดำเนินการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารเพื่อเป็นการวางแนวทาง และกำหนดนโยบายในการจัดการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ส่งผลดีต่อโรงเรียนเช่น มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจที่กำหนดไว้ในการพัฒนาสถานศึกษาและผู้เรียนอย่างชัดเจน มีการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศที่ครอบคลุมในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของการปฏิบัติงาน ผู้บริหารมีภาวะผู้นำ เป็นผู้บริหารที่มีคุณภาพ ใส่ใจผู้ร่วมงานทุกคนและให้ความสำคัญต่อการจัดวางตัวบุคคล มีหลักสูตรสถานศึกษาที่พร้อมใช้เป็นปัจจุบันทันสมัย สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่เกิดจากการคิดค้น การผลิต สร้างสรรค์จากความสามารถ ของนักเรียนและของครูผู้สอน โรงเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียนสูงขึ้น ครูและบุคลกรมีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ได้พัฒนาด้านวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย สภาพแวดล้อม ทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีระบบการจัดการเรียนรู้ที่ดี มีคุณภาพและ การบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก
G:๒ : Good Environment
ผลจากการทำนวัตกรรม “การนิเทศแบบพลังร่วมสู่สถานศึกษา 5Gs : เก่ง คิด ดี สุข พอเพียง” มาใช้ในการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ส่งผลให้ โรงเรียนมีสภาพสิ่งแวดล้อม ด้านอาคารสถานที่ แข็งแรง สภาพพร้อมใช้งาน ห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานมากขึ้น เช่น ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ห้องสมุด วัสดุ อุปกรณ์การจัดการเรียนการสอนมีความพร้อมและหลากหลายขึ้น บรรยากาศในห้องเรียน สะอาด ตกแต่งสวยงาม เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย สนองความต้องการของผู้เรียน บรรยากาศร่มรื่น ปลอดภัย โรงเรียนจึงได้รับรางวัลสถานศึกษาปลอดภัยดีเด่น ๓ ปีซ้อนจากกระทรวงแรงงาน มีบรรยากาศโดยรวมเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้
G3 : Good Cooperation ความร่วมมือดี
ผลจากการทำนวัตกรรม “การนิเทศแบบพลังร่วมสู่สถานศึกษา 5Gs : เก่ง คิด ดี สุข พอเพียง” มาใช้ในการนิเทศภายโรงเรียนส่งผลดีต่อโรงเรียน ครูและบุคลากร นักเรียน เช่น ชุมชนให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนเป็นอย่างดี โรงเรียนมีเครือข่ายทางการศึกษาทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน ตลอดจนผู้ปกครองให้ความช่วยเหลือโรงเรียนในด้านอุปกรณ์การเรียน ด้านการจัดหาทุนการศึกษา โรงเรียนให้ความร่วมมือกับทางผู้ปกครอง วัด หน่วยงานทางราชการ เอกชน และองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นที่ขอความร่วมมือมาเพื่อประกอบกิจกรรมต่างๆ ตามวาระและโอกาส
G4 : Good Teachers ครูดี
ผลจากการนำนวัตกรรม “การนิเทศแบบพลังร่วมสู่สถานศึกษา 5Gs : เก่ง คิด ดี สุข พอเพียง” มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ของครู เพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพของผู้เรียน และให้ผู้เรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และมีคุณภาพ ตามที่โรงเรียนคาดหวัง ส่งผลดีต่อตัวครู เช่น ครูมีการพัฒนาตนเองมีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่ตนสอน มีความมุ่งมั่นและพัฒนาในการจัดการเรียนการสอน มีคุณธรรมจริยธรรมและมีจรรยาบรรณของความเป็นครู มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีสื่อ นวัตกรรมทางเทคโนโลยี ที่เกิดจากการคิดค้น การผลิตอย่างหลากหลายส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ได้รับการพัฒนาทางวิชาชีพอย่างเต็มความสามารถ มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ปฏิบัติงานตามโครงการและกิจกรรมต่างๆ ตามแผนปฏิบัติการที่วางไว้ มีขวัญกำลังใจจากผู้บริหารในการปฏิบัติหน้าที่ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการศึกษา
G5 : Good Learners ผู้เรียนดี
ผลการนำนวัตกรรม “การนิเทศแบบพลังร่วมสู่สถานศึกษา 5Gs : เก่ง คิด ดี สุข พอเพียง” มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนส่งผลดีกับนักเรียน เช่น นักเรียนทุกคนเป็นคนดีเกิดการเรียนรู้ที่ดี มีทักษะและความสามารถในการเรียนรู้ รู้จักสืบเสาะ แสวงหา ความรู้ได้ด้วยตนเองมีกระบวนการในการเรียนรู้ และสามารถสรุปบทเรียนได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้ นักเรียนเรียนดี ผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ดี 8 ประการและมีค่านิยมที่ดี 12 ประการตามนโยบายของรัฐบาลมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสารและการคิดวิเคราะห์ คิดคำนวณ คิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปราย แลกเปลี่ยน ความคิดเห็นและแก้ปัญหาได้ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ตามวัย
๔.๔ ประโยชน์ที่ได้รับ
๑) สะท้อนให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยน/พัฒนาแนวทางการบริหารจัดการ บุคลากร เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา เช่น ข้าราชการครูทุกคนได้เข้ารับการอบรม สัมมนา เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ครูจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ ครูทุกคนมีการใช้และพัฒนาสื่อการสอน ผู้บริหารและคณะกรรมการบริหารงานวิชาการ มีการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลอย่างเป็นระบบ
๒) บุคลากรสามารถนำรูปแบบไปพัฒนาด้านการนิเทศภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓) กระบวนการในการบริหารจัดการตามรูปแบบสอดคล้องกับเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้โรงเรียนมีการจัดกิจกรรม พัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างหลากหลาย ที่เป็นไปตามปัญหาและความต้องการพัฒนาตามสภาพของผู้เรียน สอดคล้องกับจุดเน้นของสถานศึกษาและสภาพของชุมชนในท้องถิ่นจนมีการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอยู่ใน ระดับดีเลิศ
๕. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
1) มีข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาและมีการวิเคราะห์ข้อมูลทางการศึกษาในระดับสถานศึกษาและระดับห้องเรียน จัดระบบข้อมูลและสารสนเทศพื้นฐานได้ครบถ้วนครอบคลุมการใช้งาน จัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศอย่างเป็นระบบ
2) การดำเนินงาน/การบริหารจัดการของสถานศึกษา มีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่สอดคล้องกับนวัตกรรมการพัฒนากำหนดผู้รับผิดชอบการดำเนินงานการออกแบบและจัดการเรียนรู้ครอบคลุมรายวิชา ที่ต้องการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา กำหนดห้วงเวลาการดำเนินงาน
3) การมีส่วนร่วมกับสถานศึกษา บุคลากรในสถานศึกษามีความรู้ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการวางแผน ดำเนินการ ตรวจสอบและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
๖. บทเรียนที่ได้รับ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้นทั้งระดับสถานศึกษาและระดับชาติ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ทุกคน
7. การเผยแพร่ และการได้รับการยอมรับ (รางวัลที่ได้รับ)
การเผยแพร่
๑) ร่วมชื่นชมความสำเร็จจากการใช้นวัตกรรม “การนิเทศแบบพลังร่วมสู่สถานศึกษา 5Gs : เก่ง คิด ดี สุข พอเพียง”
๒) ประชาสัมพันธ์ทางวารสารโรงเรียน และ Facebook บ้านเหนือคลอง จังหวัดตรัง
๓) ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ปกครองทราบ
การได้รับการยอมรับ
1) ผู้บริหารยอมรับและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม
๒) ครูยอมรับและให้ความร่วมมือในการดำเนินการพัฒนาตามนวัตกรรม
๓) นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมตามนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง
4) ชุมชนให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการพัฒนาตามนวัตกรรม
8. การขยายผลต่อยอด หรือประยุกต์ใช้ผลงานนวัตกรรม
การเปลี่ยนรูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียน เป็นการดึงการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีส่วนร่วมในการเข้ามานิเทศผู้บริหาร นิเทศครูและนักเรียนด้วย