LASTEST NEWS

05 ก.ย. 2567ระเบียบใหม่ ปี 67 กำหนดคุณสมบัติครู ร.ร.นอกระบบ ต้องมีอย่างน้อย 1 คนต่อห้องเรียน 05 ก.ย. 2567สพฐ.ออกหนังสือ ด่วนที่สุด ประกาศ มาตรการลดภาระการรายงานของสถานศึกษา 04 ก.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิม.6 - ปริญญาตรีทุกสาขา ตั้งแต่ 9-13 กันยายน 2567 04 ก.ย. 2567ล่าสุด..ท้องถิ่น มีตำแหน่งว่าง เปิดสอบ 6,238 อัตรา ม.บูรพา ออกข้อสอบ คาดว่า มีผู้สมัครมากกว่า 5แสนคน 03 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 03 ก.ย. 2567สพฐ.ปรับโฉมการประชุม ผอ.สพท.ทุกคนต้องโชว์ผลงาน 03 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดคิรีวิหาร(สมเด็จพระวันรัต อุปถัมภ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกประถมศึกษา หรือวิชาเอกภาษาไทย เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 5 ก.ย.2567 03 ก.ย. 2567ด่วน!!! สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดสอบตำรวจ 1,530 อัตรา รับสมัคร 12-20 ก.ย.2567 03 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 02 ก.ย. 2567( ไม่มีวุฒิครูก็สมัครได้ ) เครือโรงเรียนมารีวิทย์ ประกาศรับสมัครครู 33 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 30 กันยายน 2567

การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาฯ

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียน ระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านหนองแวงคูป่าชาติ
ชื่อผู้วิจัย     นางยุพาภรณ์ พลเยี่ยม
ปีการศึกษา     2562
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านหนองแวงคูป่าชาติเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมี วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียง ของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านหนองแวงคูป่าชาติ2) สร้างและพัฒนารูปแบบ การบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึง ประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านหนองแวงคูป่าชาติ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียน บ้านหนองแวงคูป่าชาติ4) ประเมินความพึงพอใจในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงของ นักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านหนองแวงคูป่าชาติกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ จ านวน 106 คน ได้แก่ ครู จ านวน 6 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จ านวน 8 คน และ นักเรียน จ านวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบประเมินความเหมาะสม ของรูปแบบ แบบสอบถาม และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ( X-bar ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงของ นักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านหนองแวงคูป่าชาติให้เป็นไปตามปรัชญาของโรงเรียน “เป็น คนดี มีความรู้อยู่อย่างพอเพียง”และให้เป็นไปตามอัตลักษณ์โรงเรียน “การอยู่อย่างพอเพียง”มุ่ง เป้าหมายสู่การเป็นเอกลักษณ์ของโรงเรียน “สถานศึกษาพอเพียง” และพบว่า ครูมีความต้องการที่จะ พัฒนาตนเองในการจัดการเรียนรู้ในด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่อย่างพอเพียงให้แก่นักเรียน ข โดยการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามโครงการที่สถานศึกษาได้จัดท าในแผนปฏิบัติการ เพื่อพัฒนา คุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะการพัฒนาให้ ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ ทั้งทางด้านวิชาการ วิชางาน และวิชาชีพ เพื่อให้สามารถด ารงชีวิต อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข พึ่งตนเองได้อยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ให้เป็นไปตามคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ทั้ง 8 ข้อ ได้แก่ รักชาติศาสน์กษัตริย์ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการท างาน รักความเป็นไทยและมีจิตสาธารณะ อันจะส่งผลให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีจิตใจผ่องใส สามารถเรียนรู้และด ารงตนให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2. การสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านหนองแวงคูป่าชาติเป็นรูปแบบที่พัฒนาขึ้นจากแนวคิดทฤษฎีของนักวิชาการที่ หลากหลาย มีชื่อว่า "PAPUKI Model" ได้แก่ P : Planning=วางแผน A : Action=ปฏิบัติP : Proceed = ด าเนินการ U : Universal = สากล K : Knowledge = ความรู้และ E : Evaluation = ประเมินผล ในด้านการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนระดับ ประถมศึกษา ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้ง 6 ด้าน น าไปด าเนินการตามขั้นตอนโดยการ จัดให้มีประชุมเชิงปฏิบัติการ และการด าเนินการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามโครงการที่ก าหนดไว้ ในแผนปฏิบัติการที่สามารถพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนระดับ ประถมศึกษาได้และผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ ปรากฏว่า รูปแบบนี้มีความเหมาะสม และเป็นไปได้ 3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียน บ้านหนองแวงคูป่าชาติได้มีการน ารูปแบบไปใช้ในการจัดให้มีประชุมเชิงปฏิบัติการ และด าเนินการ จัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามโครงการที่ได้ก าหนดไว้ในแผนปฏิบัติการ ให้แก่ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ผลการด าเนินการก่อนการพัฒนามีผลการทดลองใช้โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( X-bar = 3.41) หลังการด าเนินการจัดกิจกรรมตามโครงการต่าง ๆ แล้ว ผลการทดลองใช้โดยรวมอยู่ในระดับ มาก ( X-bar = 4.32) 4. ผลการประเมินความพึงพอใจในการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านอยู่อย่างพอเพียงของ นักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนบ้านหนองแวงคูป่าชาติปรากฏว่า ครู คณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( X-bar = 4.53)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^