เอกสารประกอบการเรียนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่ม STAD
แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระเศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้ศึกษา สุรศักดิ์ หมัดโต๊ะแหล๊ะ
ปีที่ศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ สู่วิถีพอเพียง โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) สาระเศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาพัฒนาการด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ สู่วิถีพอเพียง โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) สาระเศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ สู่วิถีพอเพียง โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) สาระเศรษฐศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านตันหยงเปาว์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ประกอบด้วย 1) เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ สู่วิถีพอเพียง โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) จำนวน 6 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) จำนวน 20 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 15 ข้อ ซึ่งดำเนินการทดลองแบบกลุ่มทดลองหนึ่งกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One group Pretest-Posttest Design) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ สู่วิถีพอเพียง โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) สาระเศรษฐศาสตร์ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 85.25/83.43 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ สู่วิถีพอเพียง โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) มีพัฒนาการด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 67.21 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์พัฒนาการระดับสูง และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ สู่วิถีพอเพียง โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ : เอกสารประกอบการเรียน, การเรียนรู้แบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD), ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้