การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านเกาะลิบง 2561-2562
ชื่อผู้รายงาน บุษราภรณ์ ศรีรักษา
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2561 - 2562
บทสรุปผู้บริหาร
การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านเกาะลิบง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ปีการศึกษา 2561 - 2562 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทเกี่ยวกับความต้องการและความจำเป็นของโครงการ ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ของโครงการ
ผู้ประเมินเก็บรวมรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากร ดังนี้ นักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 100 คน และนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 96 คน ครูผู้เข้าร่วมโครงการปีการศึกษา 2561 จำนวน 9 คน และปีการศึกษา 2562 จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6
ปีการศึกษา 2561 จำนวน 90 คน และปีการศึกษา 2561 จำนวน 90 คน กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานปีการศึกษา 2561 จำนวน 7 คนและปีการศึกษา 2562 จำนวน 7 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วยแบบสอบถามที่ผู้ประเมินสร้างขึ้น จำนวน 9 ฉบับ โดยมีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญและวิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) นำไปทดลองใช้และนำผลมาวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ส่วนข้อมูลจาก
แบบปลายเปิดและแบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านเกาะลิบง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 นี้ ผู้ประเมินนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นลำดับ ดังนี้ การประเมินด้านบริบทของโครงการจำนวน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ปีการศึกษา 2561 ภาพรวมการประเมินบริบทของโครงการมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 4.35 (M = 4.35, SD = 0.27) อยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2562 ภาพรวมการประเมินบริบทของโครงการมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 4.82 (M = 4.82, SD = 0.10) อยู่ในระดับมากที่สุด
การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการโดยได้ข้อมูลมาจากการประเมินจำแนกเป็น 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ บุคลากรของสถานศึกษา งบประมาณ สถานที่ สื่อและแหล่งเรียนรู้ พบว่า
ในปีการศึกษา 2561 ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (M = 4.14, SD = 0.39) ในปีการศึกษา 2562 การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ จำนวน 4 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.76, SD = 0.14)
การประเมินด้านกระบวนการของโครงการจำแนกเป็น 5 ตัวชี้วัด ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินงาน ด้านการนิเทศติดตาม ด้านการประเมินผลและด้านการปรับปรุงแก้ไข พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด ในปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (M = 3.94, SD = 0.67) ในปีการศึกษา 2562 การประเมินด้านกระบวนการของโครงการจำนวน 5 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
การประเมินด้านผลผลิตของโครงการจำแนกเป็น 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ ประสิทธิผลการดำเนินงาน ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ประเมินโดยครู ผู้บริหารโรงเรียน นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า
การประเมินด้านผลผลิตของโครงการ จำนวน 3 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 3.97, SD = 0.45) ผลการวิเคราะห์ในปีการศึกษา 2562 พบว่า การประเมินด้านผลผลิตของโครงการ จำนวน 3 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.73, SD = 0.14)
การประเมินด้านผลผลิตของโครงการตัวชี้วัดประสิทธิผลการดำเนินงานโดยประเมินโดยครู ผู้บริหารโรงเรียน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการวิเคราะห์ในปีการศึกษา 2561 ประสิทธิผลการดำเนินงานโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (M = 3.97, SD = 0.45) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด ผลการวิเคราะห์ในปีการศึกษา 2562 ประสิทธิผลการดำเนินงานโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน ในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.73, SD = 0.14) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผลการวิเคราะห์ในปีการศึกษา 2561 ด้านการบริหารโครงการมีผลการปฏิบัติในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 3.71, SD = 0.78) ด้านการจัดกิจกรรม (M = 4.01, SD = 0.40) การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง (M = 4.00, SD = 0.53) ผลการวิเคราะห์ในปีการศึกษา 2562 ด้านการบริหารโครงการมีผลการปฏิบัติในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.72, SD = 0.26) ด้านการจัดกิจกรรม (M = 4.78, SD = 0.26) การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง (M = 4.69, SD = 0.20)
การประเมินด้านผลผลิตของโครงการตัวชี้วัดด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ผลการวิเคราะห์ในปีการศึกษา 2561 ระดับความพึงพอใจของครูต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 3.65, SD = 0.58) ผลการวิเคราะห์ในปีการศึกษา 2562 ระดับความพึงพอใจของครูต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.57, SD = 0.26)
การประเมินด้านผลผลิตของโครงการตัวชี้วัดความพึงพอใจของจำแนกเป็น 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ ความพึงพอใจของนักเรียน ความพึงพอใจของครู ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนและความพึงพอใจของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการวิเคราะห์ในปีการศึกษา 2561 ระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อการดำเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านเกาะลิบง โดยรวม อยู่ในระดับมาก (M = 4.38, SD = 0.26) ปีการศึกษา 2562 ระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อการดำเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านเกาะลิบง โดยรวม อยู่ในระดับมาก (M = 4.57, SD = 0.47)
ผลการประเมินความพึงพอใจของครูต่อการดำเนินงานของโครงการผลการวิเคราะห์ในปีการศึกษา 2561 พบว่า ระดับความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (M = 3.83, SD = 0.51) ผลการวิเคราะห์ในปีการศึกษา 2562 พบว่า ระดับความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (M = 4.23, SD = 0.22) ผลการประเมินความ
พึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการดำเนินงานของโครงการพบว่า ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อการดำเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านเกาะลิบง โดยรวมอยู่ในระดับมาก
(M = 4.38, SD = 0.41) ในปีการศึกษา 2562 พบว่า ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อ
การดำเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านเกาะลิบง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
(M = 4.64, SD = 0.85) สำหรับผลการประเมินความพึงพอใจของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินงานของโครงการพบว่า ระดับความพึงพอใจของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านเกาะลิบง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 3.70, SD = 0.58) ผลการวิเคราะห์ในปีการศึกษา 2562 พบว่า ระดับความพึงพอใจของกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านเกาะลิบง โดยรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.34, SD = 0.38)
การวิเคราะห์เปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านเกาะลิบง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ปีการศึกษา 2561-2562 ด้วยการหาค่าที (t-test) ผลการวิเคราะห์มี พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 2.279 p = 0.05) การวิเคราะห์เปรียบเทียบความพึงพอใจความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียนและกรรมการสถานศึกษาที่มีต่อโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านเกาะลิบง ปีการศึกษา 2561-2562 ด้วยการหาค่าที (t-test) พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 3.560, p = 0.001) การเปรียบเทียบความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านเกาะลิบง ปีการศึกษา 2561 - 2562 พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 2.465, p = 0.05) การเปรียบเทียบความพึงพอใจของครูที่มีต่อโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านเกาะลิบง ปีการศึกษา 2561 - 2562 พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 2.576, p = .05) การวิเคราะห์เปรียบเทียบความ
พึงพอใจของกรรมการสถานศึกษาที่มีต่อโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านเกาะลิบง
ปีการศึกษา 2561 - 2562 พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 2.465, p = 0.05)
ผลการประเมินโครงการในภาพรวม พบว่า โครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน
บ้านเกาะลิบง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด อีกทั้งผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากผู้ที่ให้ข้อมูล คือ นักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียนผู้ปกครองและกรรมการสถานศึกษาขั้นฐานมีความเห็นสอดคล้องกันว่าการจัดการศึกษาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมให้บุคคลมีความรู้ความคิด ค้นพบทางเลือกเพื่อประยุกต์สู่การปฏิบัติและเกิดทักษะนำไปสู่การดำรงชีวิตที่เหมาะสม ทำให้เกิดทักษะชีวิต