รายงานผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ เรื่องชุดหรรษา ฯ
โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านตันหยงลุโละ
ผู้วิจัย นางสุไวบะห์ ดอเลาะ
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อหาค่าประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านตันหยงลุโละ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านตันหยงลุโละ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านตันหยงลุโละ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓/๒ โรงเรียนบ้านตันหยงลุโละ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 2๑ คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ๑) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ เรื่องชุดหรรษาพาเพลินโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ จำนวน 22 แผน ๒) แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ เรื่องชุดหรรษาพาเพลินโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน จำนวน 5 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องชุดหรรษา พาเพลินโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.44 ถึง 0.76 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20 ถึง 0.46 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.82 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ เรื่องชุดหรรษาพาเพลินโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ แบบเพื่อนช่วยเพื่อน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบ้านตันหยงลุโละ เท่ากับ 81.90/80.95 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 80/80 ซึ่งถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 1
2) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้เรื่องชุดหรรษาพาเพลิน โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 2
3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ เรื่องชุดหรรษาพาเพลินโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งถือว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3