รายงานการประเมินโครงการระดมทรัพยากรทาง
การจัดการศึกษาโรงเรียนวัดหนองโว้ง (อรรถกิจวิทยาคาร)
ผู้รายงาน นางสาวปวันกร เรื่อศรีจันทร์
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2563
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพ การจัดการศึกษาโรงเรียนวัดหนองโว้ง (อรรถกิจวิทยาคาร) ปีการศึกษา 2563 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการดำเนินงาน และด้านผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน โดยมีวิธีการประเมิน 3 ลักษณะ คือ การประเมินโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้รายงานได้สร้างขึ้น ใช้ผลการประเมินจากแบบบันทึกผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และใช้ผลการประเมินแบบบันทึกผลการระดมทรัพยากรตามสภาพจริงกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ประกอบด้วย ประชากรครู จำนวน 5 คน ประชากรนักเรียน จำนวน 26 คน ประชากรผู้ปกครอง จำนวน 26 คน และกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 7 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และมีข้อคำถามปลายเปิด จำนวน 5 ฉบับ ทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยมีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง .80 – .92 แบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับปริมาณและคุณภาพของการระดมทรัพยากร จำนวน 4 ด้าน และแบบบันทึกผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียน ใช้บันทึกผลการประเมินตามสภาพจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS (Statistical Package for the Social Sciences) for Window v. 23
ผลการประเมินพบว่า
ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context) ในการดำเนินโครงการ
ผลการประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม (Context) ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดหนองโว้ง (อรรถกิจวิทยาคาร) ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาโดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (µ= 4.33, S.D. = .59) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ ความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมในระดับมาก มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.25, S.D. = .45) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็น
ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดหนองโว้ง (อรรถกิจวิทยาคาร) ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของครู มีความเหมาะสมในระดับมาก (µ = 4.20, S.D. = .46) ได้คะแนนเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดหนองโว้ง (อรรถกิจวิทยาคาร) ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินเมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมินพบว่า ความคิดเห็นของครู มีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (µ = 4.40, . = .51) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ ผู้ปกครองมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( µ = 4.38, S.D. = .48) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากเช่นกัน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (µ = 4.37, S.D. = .50) ได้คะแนนเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดหนองโว้ง (อรรถกิจวิทยาคาร) ปีการศึกษา 2563 ซึ่งประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่
4.1 ปริมาณและคุณภาพของการระดมทรัพยากรทางการศึกษา 4 ด้าน ได้แก่
4.1.1 การระดมทรัพยากรด้านบุคคลหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดหนองโว้ง (อรรถกิจวิทยาคาร) ปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น 3 รายการ ครอบคลุมการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนทุกระดับชั้น ตามความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.1.2 การระดมทรัพยากรด้านเงินทุนของ โครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดหนองโว้ง (อรรถกิจวิทยาคาร) ปีการศึกษา 2563 เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สามารถสนองความต้องการจำเป็นของโรงเรียน ในการบริหารจัดการตามแผนพัฒนาสถานศึกษา และของผู้รับบริจาค ปีการศึกษา 2563 เป็นเงิน 557,631 บาท (ห้าแสนห้าหมื่นเจ็ดพันหกร้อยสามสิบเอ็ดบาทถ้วน) ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.1.3 การระดมทรัพยากรด้านวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดหนองโว้ง (อรรถกิจวิทยาคาร) ปีการศึกษา 2563 เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา สามารถสนองความต้องการจำเป็นของโรงเรียน ในการบริหารจัดการตามแผนพัฒนาสถานศึกษาและ ของผู้รับบริจาค ปีการศึกษา 2563 รวมทั้งสิ้น 5 รายการ เป็นเงิน 153,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นสามพันบาทถ้วน) ส่งผลให้คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนสูงขึ้นผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.1.4 การบริหารจัดการ โรงเรียนวัดหนองโว้ง (อรรถกิจวิทยาคาร) สามารถบริหารจัดการ โดยส่งเสริมให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ตามโครงสร้างโรงเรียนนิติบุคคล ครอบคลุมทั้ง 4 งาน ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคล และงานบริหารทั่วไป อย่างต่อเนื่อง ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 แสดงผลการประเมินคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาทั้ง 4 งาน ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคลและงานบริหารทั่วไป ของโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนวัดหนองโว้ง (อรรถกิจวิทยาคาร) ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า ความคิดเห็นของครู มีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (µ = 4.39, S.D. = .61) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ ผู้ปกครอง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.31, S.D. = .54) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนนผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (µ = 4.26, S.D. = .58) ได้คะแนนเฉลี่ย 10 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.3 แสดงผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามมาตรฐานระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนวัดหนองโว้ง (อรรถกิจวิทยาคาร) ปีการศึกษา 2563 พบว่าทั้ง 4 มาตรฐาน มีผลการประเมินในทุกมาตรฐานมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก และดีเยี่ยม
4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการระดมทรัพยากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา โรงเรียนวัดหนองโว้ง (อรรถกิจวิทยาคาร) ปีการศึกษา 2563 ตามประเด็นตัวชี้วัด ค่าน้ำหนัก และเกณฑ์ ตามความคิดเห็นของครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง โดยรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่ม ผู้ประเมิน พบว่า ความพึงพอใจของผู้ปกครอง มีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( µ = 4.48, S.D. = .36) ได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด รองลงมาได้แก่ ครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.40, S.D. = .42) ได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด ส่วนนักเรียนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( µ = 4.33, S.D. = .40) ได้คะแนนเฉลี่ย 5 คะแนน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นตัวชี้วัด