LASTEST NEWS

26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์

usericon

ชื่อหัวข้อวิจัย    : การพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
พัฒนาเด็กรอบด้านตามแนวทางแบบพหุปัญญา ระดับปฐมวัยโรงเรียนบ้านโดด

ชื่อผู้วิจัย    : นางอุบลวรรณ หนองเหล็ก

สถานที่ทำงาน    : โรงเรียนบ้านโดด ตำบลโดด อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ
         สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 2
    
ปีที่พิมพ์    : 2562

บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้พัฒนาเด็กรอบด้านตามแนวทางแบบพหุปัญญา ระดับปฐมวัย โรงเรียนบ้านโดด มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้พัฒนาเด็กรอบด้านตามแนวทางแบบพหุปัญญา ระดับปฐมวัย โรงเรียนบ้านโดด 2) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ของการพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้พัฒนาเด็กรอบด้านตามแนวทางแบบพหุปัญญา ระดับปฐมวัย โรงเรียนบ้านโดด ดำเนินการวิจัยด้วยวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูปฐมวัยโรงเรียนบ้านโดด จำนวน 2 คน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน รวมทั้งสิ้น 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบสอบถามและประเด็นการสนทนากลุ่มที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน-มาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบค่าที (Dependent t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า
1. การพัฒนารูปแบบการโค้ชประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาวิเคราะห์สภาพและประเมินความต้องการจำเป็น 2) การออกแบบและพัฒนารูปแบบ 3) การทดลองใช้รูปแบบ และ 4) การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบ การออกแบบและพัฒนารูปแบบโค้ชได้ใช้รูปแบบการโค้ชเอพีซีอี (APCE Coaching Model) ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการ และองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำไปใช้ การดำเนินการ แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ระยะสร้างความตระหนัก (Awareness Phase: A) ระยะที่ 2 ระยะวางแผนการโค้ช (Planning Phase: P) ระยะที่ 3 ระยะการปฏิบัติการโค้ช (Coaching Phase: P) และระยะที่ 4 ระยะการประเมินผลการโค้ช (Evaluating Phase: E)
2. ผลการทดลอง พบว่า รูปแบบการโค้ชเอพีซีอี (APCE Coaching Model) มีประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ ก่อนและหลังการทดลอง ผู้วิจัยมีสมรรถนะการโค้ชแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ครูมีสมรรถนะด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้พัฒนาเด็กรอบด้านตามแนวทางแบบพหุปัญญาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ครูมีทักษะด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้พัฒนาเด็กรอบด้านตามแนวทางแบบพหุปัญญา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รวมทั้งครูมีความพึงพอใจของต่อรูปแบบการโค้ช เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัด-ประสบการณ์การเรียนรู้พัฒนาเด็กรอบด้านตามแนวทางแบบพหุปัญญาในระดับ มาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^