การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้ TRISIKA MODEL
บ้านลำชิง ปีการศึกษา 2562 – 2563
ชื่อผู้วิจัย นางสาวเฉลิม รัตน์แก้ว
ปีการศึกษา 2562 – 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) พัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้ TRISIKA MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2562 – 2563 2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้ TRISIKA MODEL หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 – 2563 3) เปรียบเทียบคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โรงเรียนบ้านลำชิง หลังการพัฒนาโดยใช้ TRISIKA MODEL หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 และ 2563 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ต่อการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้ TRISIKA MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 – 2563 กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยประกอบด้วย 1) กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 102 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 101 คน 2) ประชากรครู ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 14 คน 3) กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 96 คน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 94 คน 4) กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 7 คน 5) กลุ่มตัวอย่างเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามและแบบสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนถึงคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยมี ครูประจำชั้นเป็นผู้สังเกตพฤติกรรมนักเรียนเป็นรายบุคคลตามสภาพจริง รวมทั้งสิ้น 4 ฉบับ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามคุณภาพการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้ TRISIKA MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2562 - 2563 ฉบับที่ 2 แบบสอบถามระดับการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้ TRISIKA MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 – 2563 ฉบับที่ 3 แบบบันทึกผลการสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนถึงคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โรงเรียนบ้านลำชิง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 – 2563 ฉบับที่ 4 แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้ TRISIKA MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 – 2563 มีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือทุกฉบับได้ค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.950 – 0.972 ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเองจำนวน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 หลังการพัฒนาเมื่อสิ้นปีการศึกษา 2562 ช่วงเดือนมีนาคม 2563 ครั้งที่ 2 หลังการพัฒนาเมื่อสิ้นปีการศึกษา 2563 ช่วงเดือนมีนาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยใช้โปรแกรม SPSS version 23 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( Mean ) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโรงเรียนบ้านลำชิง โดยใช้ TRISIKA MODEL ปีการศึกษา 2562 – 2563 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ย มีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลางและมาก เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 3.61, S.D. = 0.64 ) รองลงมาได้แก่กลุ่มผู้ปกครอง มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 3.53, S.D. = 0.25 ) ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.38, S.D. = 0.18 )
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ย มีคุณภาพอยู่ในระดับมากและมากที่สุด เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามพบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71, = 0.09) รองลงมาได้แก่กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.70, S.D. = 0.15 ) ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D. = 0.39 ) สอดคล้องตามสมมุติฐาน
2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็น คนดีของของนักเรียนโรงเรียนบ้านลำชิง โดยใช้ TRISIKA MODEL ปีการศึกษา 2562 – 2563 จำแนกตามกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วม มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก และเมื่อจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 3.74, = 0.70 ) รองลงมาได้แก่ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 3.63, S.D. = 0.55 ) ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมากเช่นกัน ( = 3.53, S.D. = 0.59 )
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมผู้เกี่ยวมีส่วนข้องมีส่วนร่วม มีคุณภาพอยู่ในระดับมากและมากที่สุด และเมื่อจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มเครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.90, S.D. = 0.94 ) รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.74, . = 0.32 ) ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( = 4.44, S.D. = 0.57 ) สอดคล้องตามสมมุติฐาน
3. ผลการเปรียบเทียบผลการสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโรงเรียนบ้านลำชิง โดยใช้TRISIKA MODEL หลังการพัฒนาปีการศึกษา 2562 และ 2563 พบว่า
ปีการศึกษา 2562 พฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ความซื่อสัตย์ ความกตัญญู ความพอเพียง ความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ และ จิตสาธารณะ มีคุณภาพระดับดีขึ้นไป มีค่าเฉลี่ยร้อยละ อยู่ระหว่าง 80.39 - 84.31
ปีการศึกษา 2563 พฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนตามตัวบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนด ทั้ง 6 ด้านได้แก่ความซื่อสัตย์ ความกตัญญู ความพอเพียง ความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ และจิตสาธารณะ มีคุณภาพระดับดีขึ้นไป มีค่าเฉลี่ยร้อยละ อยู่ระหว่าง 83.17 - 89.10 แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน ปีการศึกษา 2563 มีการพัฒนา สูงกว่า ปีการศึกษา 2562 ทุกด้าน สอดคล้องตามสมมุติฐาน
4. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและเครือข่ายชุมชน ในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โรงเรียนบ้านลำชิง โดยใช้ TRISIKA MODEL หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2562 – 2563 พบว่า
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับปานกลางและมาก เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มเครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 3.62, S.D. = 0.52 ) รองลงมา ได้แก่ กลุ่มนักเรียน ครู และผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก ( = 3.58, S.D. = 0.62 / =3.58, =0.53/ = 3.58, S.D. = 0.60 ) ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุด อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.49, S.D. = 0.56 )
ปีการศึกษา 2563โดยภาพรวมทุกกลุ่มมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากและมากที่สุด เมื่อพิจารณา แต่ละกลุ่มที่ตอบแบบสอบถาม พบว่ากลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.69, =0.32 ) รองลงมา ได้แก่ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและเครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66, S.D. = 0.30,0.45 ) ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยความ พึงพอใจต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.34, S.D. = 0.55 ) สอดคล้องตามสมมุติฐาน
ข้อเสนอแนะ
จากการวิจัยการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้ TRISIKA MODEL โรงเรียนบ้านลำชิง ปีการศึกษา 2562 – 2563 ครั้งนี้ทำให้ได้ค้นพบจุดเด่นจากการดำเนินงานตามกรอบการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดี ซึ่งเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนต่อไป
1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการวิจัยไปใช้
1.1 T : Trust in learning ( การเรียนรู้ที่ดี ) เนื่องจากทางโรงเรียนได้จัดการเรียนรู้ในหลักสูตรการสอนแบบไตรสิกขา ในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยใช้หลัก ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ผู้เรียนต้องลงมือปฏิบัติสิ่งที่เรียนด้วยตนเองอย่างแท้จริง และใช้ปัญญารู้จักคิดพิจารณาฝึกฝนจนสามารถกำหนดรู้สามัญลักษณะ สามารถวิเคราะห์พฤติกรรมทางกาย ทางวาจา ทางใจ และแยกแยะได้ว่า สิ่งใดดี สิ่งใดชั่ว จนสามารถกำหนดข้อควบคุมพฤติกรรมของตนเอง ควบคุมจิตมิให้ฟุ้งซ่าน มิให้ตกไปในทางแห่งความเสื่อมเสีย เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้โดยใช้ปัญญา เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและเกิดประโยชน์แก่ผู้อื่น นอกจากนี้ทางโรงเรียนยังจัดให้มีกิจกรรมอื่นๆเพื่อส่งเสริม เติมเต็มให้หลักสูตรการสอนแบบไตรสิกขามีความสมบูรณ์และครอบคลุมมากขึ้น โดยดำเนินงาน ภายใต้หลักคิด “ เรียนรู้ คู่การปฏิบัติจริง ” นำมาซึ่งพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน
1.2 R : Realistic precedent ( เบ้าหลอม/แบบอย่างที่ดี) เนื่องจากเบ้าหลอม/แบบอย่างที่ดี จากภายในครอบครัวและสิ่งแวดล้อมภายนอกเสมือนครูที่พูดไม่ได้ แต่การแสดงออก การประพฤติและปฏิบัติตน ที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และใจ ของ ผู้บริหาร ครู บุคลากร ผู้ปกครอง และชุมชน สามารถเป็นเบ้าหลอม/แบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน เกิดการซึมซับ เลื่อมใสศรัทธา ถือเป็นแบบอย่าง และปฏิบัติตนตาม จนเป็นปกตินิสัย หากนักเรียนเติบโตมาในเบ้าหลอมของชีวิตที่ดีเขาย่อมมีตัวตนที่ดีงาม และเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี โดยดำเนินงาน ภายใต้หลักคิด “ แบบอย่างที่ดี มีค่ากว่าคำสอน ” นำมาซึ่งพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน
1.3 I S : Ideal School administration ( การบริหารจัดการที่ดี ) เนื่องจากโรงเรียนต้องมีการกำหนดนโยบายการดำเนินงานให้มีความชัดเจน ใช้หลักการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานและบริหารจัดการแบบธรรมาภิบาล เน้นให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกกระบวนการ ภายใต้โมเดลการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม 4 ร (รัก) สู่ความสำเร็จ คือ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมภาคภูมิใจ รวมทั้งการสร้างขวัญ กำลังใจ และการให้แรงเสริม ซึ่งมีส่วนสำคัญยิ่งในการส่งผลให้งานบรรลุผลตามเป้าหมาย โดยดำเนินงาน ภายใต้หลักคิด “ ธรรมาภิบาล คู่การมีส่วนร่วม ” นำมาซึ่งพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน
1.4 Inspired Environment ( สภาพแวดล้อมที่ดี ) เนื่องจากโรงเรียนได้จัดให้มีสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนและสภาพแวดล้อมภายนอกโรงเรียนขึ้นมา เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาและเสริมสร้างความคิด จิตใจ คุณธรรมต่างๆ ด้วยการจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดี ที่จะส่งผลต่อความรู้สึกของผู้เรียน ให้เกิดความรู้สึกที่ดี ที่เรียกว่าบรรยากาศดี ซึ่งเป็นการปฏิสัมพันธ์ของนักเรียนกับสิ่งแวดล้อมแล้วส่งผลต่อความรู้สึก เป็นสภาพการณ์ที่ไม่อาจมองเห็นหรือจับต้องได้ แต่ส่งผลให้นักเรียนรู้สึกพอใจ สบายใจ อบอุ่นใจรู้สึกในความเป็นเจ้าของ เกิดการเรียนรู้ ซึมซับและอยากมาโรงเรียน โดยดำเนินงาน ภายใต้หลักคิด “ ครูที่พูดไม่ได้ ” นำมาซึ่งพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน
1.5 K A : Keep up Activity ( กิจกรรมที่ดี ) เนื่องจากโรงเรียนได้กิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆจัดขึ้น เพื่อช่วยกระตุ้น ส่งเสริม สนองความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง พร้อมแสดงตัวตนคุณลักษณะความเป็นคนดีออกมา เน้นกิจกรรมที่นักเรียนได้คิดวางแผนการจัดกิจกรรมด้วยตนเองและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างหลากหลายและแท้จริง สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดและความแตกต่างของนักเรียนแต่ละคนโดยดำเนินงาน ภายใต้หลักคิด “ เรียนรู้โดยนักเรียน เพื่อนักเรียน ” นำมาซึ่งพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน
1.6 หลังการพัฒนาโรงเรียนควรมีตรวจสอบพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อดูแนวโน้มความยั่งยืนของคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน พร้อมทบทวนกิจกรรมต่างๆเพื่อปรับปรุง / พัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในโลกยุคปัจจุบัน สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และ หน่วยงานต้นสังกัด อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2.ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนอย่างยั่งยืน
2.2 ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนกับสภาพแวดล้อมของบ้าน วัด โรงเรียน ในชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่
2.3 ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษากับคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน
2.4 ควรศึกษาผลกระทบเชิงบวกของของนักเรียนที่มีคุณลักษณะความเป็นคนดีต่อชุมชนและสังคม