การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนดีมีคุณภาพในศตวรรษที่ 21
ของโรงเรียนบ้านดงบากโนนสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3
ผู้วิจัย นางสาวพชรณัฏฐ์ หิริโกกุลล์
คำสำคัญ การพัฒนา, รูปแบบการบริหาร, โรงเรียนดี, ศตวรรษที่ 21
ปีที่ทำการวิจัย 2562-2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและผลการดำเนินการบริหารงานสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านดงบากโนนสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 การพัฒนา 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนดี
มีคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านดงบากโนนสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนดีมีคุณภาพ
ในศตวรรษที่21 ของโรงเรียนบ้านดงบากโนนสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหาร และครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อผล การดำเนินงานตามรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนดีมีคุณภาพในศตวรรษที่21 ของโรงเรียนบ้านดงบากโนนสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้บริหารและครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน วิธีการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและผลการดำเนินการบริหารงานสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านดงบากโนนสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ก่อนการพัฒนา ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนดีมีคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ชองโรงเรียนบ้านดงบากโนนสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบ การบริหารจัดการโรงเรียนดีมีคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านดงบากโนนสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ในปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 และ ขั้นตอนที่ 4 การศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหารและครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อผลการดำเนินงานตาม รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนดีมีคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนบ้านดงบากโนนสวรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Interview) และแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบ ขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression) ตามลำดับความสำคัญของการนำเข้าตัวแปร และ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)