รายงานผลการพัฒนาและการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ กลุ
ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาและการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ โรงเรียนบ้านคูนายสังข์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต ๓ ผู้รายงาน นางสุไหวน๊ะ ชูเพชร การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ กลุ่มสารการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ รายวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านคูนายสังข์ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต ๓ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน และหลังการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ รายวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านคูนายสังข์ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต ๓ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ ๓) เพื่อศึกษาเจตคติที่มีต่อการเรียนกลุ่มสารการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ รายวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านคูนายสังข์ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต ๓ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ ๑) แผนการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านคูนายสังข์ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต ๓ ๒) แบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ รายวิชาภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔โรงเรียนบ้านคูนายสังข์ อำเภอ จะนะ จังหวัดสงขลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต ๓ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ ๓) แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน ๔) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ๕) แบบสอบถามเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) โดยการหาค่าความเที่ยงตรง(Validity)ของเนื้อหารูปแบบภาษาใช้สูตรดัชนีความสอดคล้อง IOC หาค่าความยากง่าย (Difficulty) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หาค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สูตร เบรนแนน (Brennan)หาค่าความเชื่อมั่น(Reliability)ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งฉบับโดยใช้วิธีของ KR-๒๐ พบว่าแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๗๖ และได้มีการวิเคราะห์ เจตคติของนักเรียนอยู่ในระดับมาก (µ= ๒.๗๖) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = ๐.๔๒ และค่าประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดเท่ากับ ๘๘.๒ / ๘๙
ผลจากการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่๔ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ พบว่า
๑. แบบฝึกทักษะการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ รายวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านคูนายสังข์ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต ๓ มีทักษะการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษ โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษอยู่ในระดับมาก
๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ รายวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔โรงเรียนบ้านคูนายสังข์ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต ๓ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนใช้แบบฝึกทักษะการอ่านสะกดคำศัพท์ภาษาอังกฤษกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ รายวิชาภาษาอังกฤษ
๓. เจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔โรงเรียนบ้านคูนายสังข์ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต ๓ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ต่อการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) อยู่ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
การสร้างแบบสอบถามวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาภาษาอังกฤษ ควรจะใช้วิธีการ ที่หลากหลาย เช่นการสัมภาษณ์ หรือให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น หรือเปรียบเทียบเจตคติของนักเรียนที่มีต่อวิชาภาษาอังกฤษกับวิชาอื่นๆ เพื่อเป็นการเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป
บรรณานุกรม
ถนอมเพ็ญ ชูบัว. (๒๕๕๔). “การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจด้วย
วิธีการสอนแบบบบูรณาการของเมอร์ด๊อค (MIA)” ใน วารสารวิชาการ. (ตุลาคม – ธันวาคม, ๒๕๕๔)
บุญชม ศรีสะอาด . (๒๕๔๕ ข). การวิจัยเบื้องต้น . พิมพ์ครั้งที่ ๗. แก้ไขเพิ่มเติม กรุงเทพฯ : สุวิริยสาส์น.
เผชิญ กิจระการ . (๒๕๔๔ ). “การวิเคราะห์ประสิทธิภาพสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา (E1 / E2)., ” วารสารวัดผลประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม . ๗ : ๔๔-๘๒.วิสาข์ จัติวัตร์. (๒๕๔๓). การสอนภาษาอังกฤษ . (พิมพ์ครั้งที่ ๒). กรุงเทพฯ .
พูลทรัพย์ นาคนาคา. (๒๕๔๔). การวิจัยทางการศึกษา . กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
พรรณศรี ปทุมศิริ. (๒๕๔๑). การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความ
เข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โดยใช้เทคนิคการสอนที่เน้นสื่อใน
ชีวิตประจำวัน .ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. . กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภักษร หรุ่นเลิศ . ( ๒๕๔๗). การเปรียบเทียบการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้
โครงสร้างเรื่องเล่ากับการสอนโดยวิธีการแปลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ .
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วีรชาติ ชัยเนตร. (๒๕๔๑). การสร้างบทเรียนเสริมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้นิทาน
พื้นบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ . มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม.
โรงเรียนบ้านคูนายสังข์ . ( ๒๕๕๕) . รายงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปี ๒๕๕๕.
สงขลา : โรงเรียนบ้านคูนายสังข์.
สายสุนีย์ จันทร์พงษ์. (๒๕๕๔). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกการ
อ่านของนักเรียน . สืบค้นเมื่อ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖, จาก Swis.act.ac.th./html-
edulact/temp-emp-research/664.pdf.
สุนีย์ สันหมัด. (๒๕๕๑). ปัญหาด้านการอ่าน . สืบค้นเมื่อ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖, จาก
www.gotoknow.org/posts/๓๒๘๕๔๑.