LASTEST NEWS

26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567

งานวิจัยในชั้นเรียน

usericon

งานวิจัยในชั้นเรียน
เรื่อง การศึกษาสภาพการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
ผู้ศึกษา นางภาวนา อินทร์จันทร์ดี ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนวัดหนองสุ่ม
1. ที่มาและความสำคัญ
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ที่แพร่กระจายไปทั่ว
โลกและระบาดในประเทศไทยอย่างหนักในช่วงตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 ส่งผลกระทบให้
สถานศึกษา ต้องปิดเรียนอย่างกระทันหันตามคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่วันที่ 17 มี.ค. 2563 เป็น
ต้นมา แต่สถานการณ์ดังกล่าวยังอยู่ในขั้นวิกฤติทำให้ไม่สามารถเปิดเรียนแบบปกติ (on site) ได้ ในภาค
เรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 กระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม ศักยภาพและบริบทของแต่ละโรงเรียน
โรงเรียนวัดหนองสุ่ม จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ใน 2 รูปแบบ คือ รูปแบบ on hand กับ
รูปแบบ on demand โดยแต่ละระดับชั้นสามารถเลือกจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
หรืออาจใช้ผสมผสานกันทั้ง 2 รูปแบบก็ได้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของนักเรียนและครูผู้สอนเป็นหลัก
2. วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID 19
2. เพื่อศึกษาแอพพลิเคชั่น/ช่องทางโซเชียลที่ถูกนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในช่วง
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID 19
3. ศึกษาสภาพและปัญหาที่พบในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด
ของโรคติดเชื้อ COVID 19
3. กลุ่มเป้าหมายที่ศึกษา
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดหนองสุ่ม ปีการศึกษา 2563 ภาคเรียนที่ 1
จำนวน 11 คน
4. วิธีการ/ แนวทางการศึกษา
1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ
โรคติดเชื้อ COVID 19 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา
2. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้แก่นักเรียน ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 ถึง วันที่ 30
กันยายน 2564 เป็นระยะเวลาประมาณ 4 เดือน ระหว่างจัดกิจกรรมมีการเก็บข้อมูลจากนักเรียนเพื่อ
นำมาใช้ในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
3. จัดทำแบบสอบถามข้อมูลสภาพการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค
ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019
4. นำแบบสอบถามให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายตอบให้ครบทั้ง 11 คน
5. นำผลการประเมินมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยร้อยละ และหาค่าความถี่ของคำตอบ
เป็นรายข้อ
6. สรุปผลการศึกษา เสนอต่อผู้บริหารและเผยแพร่ต่อไป
5. ผลการศึกษา
1. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID 19
จากการเก็บข้อมูลระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่
เหมาะสมกับนักเรียนนั้น จะเป็นลักษณะของการผสมผสานหลายรูปแบบ ดังนี้
1.1 รูปแบบ on hand ด้วยการทำเอกสารประกอบการเรียนทาง DLTV เป็นรายสัปดาห์
ภายในเล่มประกอบด้วยคำชี้แจงกิจกรรมการเรียน สื่อประกอบการเรียนในแต่ละรายวิชาของแต่ละวัน ต่อมา
ครูได้จัดกิจกรรมเพิ่มเติมให้นักเรียนได้ฝึกทักษะ ลงมือปฏิบัติ ทำกิจกรรมวัดผลประเมินระหว่างเรียนนอกจาก
การจัดกิจกรรมตาม DLTV
1.2 รูปแบบ on demand ด้วยการให้นักเรียนเข้าเรียน DLTV ผ่านทางเว็บไซต์
https://www.dltv.ac.th สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต่อมา ครูได้จัดหาคลิปวีดิโอประกอบการเรียนการ
สอนในบางเนื้อหารายวิชาเพิ่มเติมให้กับนักเรียนเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจาก
การศึกษาเรียนรู้ทาง DLTV
1.3 รูปแบบ on line เป็นรูปแบบที่จัดเพิ่มเติมให้แก่นักเรียน เป็นการเสริมการจัดการ
เรียนการสอนจากรูปแบบที่ 1 และ 2 ซึ่งเหมาะสมสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาที่มีความพร้อมในเรื่อง
ของการมีและการใช้เทคโนโลยี โดยพบว่า
1) นักเรียนมีความพร้อมและสะดวกในการเข้าร่วมกิจกรรมแบบออนไลน์กับครู
ในช่วงเวลาบ่าย มากกว่าเวลาเช้า โดยให้เหตุผลว่า ตื่นสาย ติดภารกิจช่วยเลืองานทางบ้าน เป้นต้น
2) ครูจะจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ สัปดาห์ละ 1 -2 ครั้ง โดยกิจกรรม
ที่ครูเลือกใช้รูปแบบออนไลน์ ได้แก่ ติดตามการเรียน แจ้งข่าวสารที่เป็นเรื่องสำคัญและเร่งด่วน การเขียน
ตามคำบอกในรายวิชาภาษาไทย สรุปบทเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และวัดผลเก็บคะแนนท้าย
หน่วยด้วยการให้นักเรียนเปิดกล้องวีดิโอเวลาทำแบบทดสอบ และใช้เกมออนไลน์ในการวัดผล
2. จากการตอบแบบสอบถามข้อมูลสภาพการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาด
ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 คน ได้ผลดังนี้
2.1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทุกคน มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ (มือถือ) เป็นของตนเอง
คิดเป็นร้อยละ 100
2.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีระบบอินเทอร์เน็ตใช้ทุกคน โดยแบ่งออกเป็น
- การใช้อินเทอร์เน็ตแบบเหมาจ่ายของบ้าน คิดเป็นร้อยละ 50 เสียค่าใช้บริการ
150 – 2,139 บาท/เดือน
2
- การใช้อินเทอร์เน็ตแบบเติมเงิน/จ่ายรายเดือนของมือถือ คิดเป็นร้อยละ 50 เสีย
ค่าใช้บริการ 200 – 1,140 บาท/เดือน
2.3 แอพพลิเคชั่น/ช่องทางโซเชียลที่ถูกนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนใน
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรน่า 2019 3 อันดับแรก ได้แก่
1) Google chrome คิดเป็นร้อยละ 100
2) Line คิดเป็นร้อยละ 100
3) อื่นๆ ได้แก่ Google meet Canva และ youtube คิดเป็นร้อยละ 30
2.4 ปัญหาของนักเรียนที่พบในช่วงของการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การ
แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ได้แก่
- สัญญาณอินเทอร์เน็ตขัดข้องระหว่างเรียน คิดเป็นร้อยละ 60
- เนื้อาบางรายวิชายากเกินไป ไม่สามารถเข้าใจได้ด้วยการศึกษาทาง DLTV โดย
ลำพัง คิดเป็นร้อยละ 40
2.5 ครอบครัวส่งผลกระทบต่อการเรียนของนักเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค
ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 มีทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ดังนี้
- เชิงบวก ได้แก่ ผู้ปกครองเข้าใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น สนับสนุนอุปกรณ์
การเรียน เช่น จัดหาและจ่ายเงินค่าอินเทอร์เน็ตให้ จัดหาโทรศัพท์ให้นักเรียน
- เชิงลบ ได้แก่ ผู้ปกครองไม่สนับสนุนเรื่องการเรียนในลักษณะนี้ ตำหนินักเรียน
เมื่อไม่ช่วยงานบ้าน กล่าวหาว่าเล่นเกมทางโทรศัพท์มากกว่าเรียน
2.6 สิ่งที่นักเรียนคาดหวังหรือต้องการให้เกิดขึ้นจากการจัดการเรียนการสอนใน
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 คือ ต้องการให้โรงเรียนเปิดและกลับมาเรียน
แบบปกติ (on site) เพราะเรียนได้เข้าใจมากกว่า คิดเป็นร้อยละ 60 รองลงมาคือ ลดความยากของเนื้อหา
ต้องการคำอธิบายในเนื้อหาวิชาให้มากขึ้น และอย่ากดเกรดนักเรียนในช่วงสถานการณ์นี้
2.7 เมื่อให้นักเรียนลองประเมินตนเอง ตอบเป็นเปอร์เซ็นต์ของความมุ่งมั่นตั้งใจ
ต่อการเรียนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา
2564 พบว่า มีความมุ่งมั่นตั้งใจ สูงสุด คือ 90 % ต่ำสุด คือ 30 % โดยเปอร์เซ็นต์ที่หายไปพบว่า
- พฤติกรรมส่วนตัว ได้แก่ ไม่มีความพร้อมในการเรียน ไม่มั่นใจ ไม่เข้าใจ
เข้าเรียนไม่ตรงเวลาตามตารางเรียน คิดเป็นร้อยละ 50 ติดการเล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง คิดเป็นร้อยละ 30
- ต้องช่วยงานทางบ้าน คิดเป็นร้อยละ 30
6. ข้อเสนอแนะ
6.1 ควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยใช้
รูปแบบการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆ เปรียบเทียบกับรูปแบบปกติ(on site)
6.2 ควรมีการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในสถานการณ์
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019
3
6.3 สารสนเทศที่ได้ครั้งนี้อาจนำไปใช้เป็นข้อมูลย้อนกลับให้ครูได้ปรับเปลี่ยนเทคนิค /กลวิธีในการ
บริหารจัดการชั้นเรียนสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในสถานการณ์ใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในลักษณะ
คล้ายๆ กัน ที่ทำให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนแบบปกติได้
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^