การพัฒนารูปแบบการบริหารงานทั่วไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ผู้วิจัย วสันต์ จุลพล
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานทั่วไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษา จังหวัดยะลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานทั่วไป พื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษา จังหวัดยะลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานทั่วไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษา จังหวัดยะลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานทั่วไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษา จังหวัดยะลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 และ 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานทั่วไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษา จังหวัดยะลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ระยะ ตามลักษณะการเก็บข้อมูล ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพการบริหารงานทั่วไปในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 กรณีศึกษา จังหวัดยะลา กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรจากโรงเรียนจำนวน 6 โรงเรียน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายชั้น (Multi-Stage Sampling) ประกอบด้วย โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา จำนวน 61 คน โรงเรียนสตรียะลา จำนวน 37 คน โรงเรียนเบตง “วีระราษฎร์ประสาน” จำนวน 38 คน โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ยะลา จำนวน 22 คน โรงเรียนธารโตวัทฒนวิทย์ จำนวน 10 คน และโรงเรียนรามันห์ศิริวิทย์ จำนวน 7 คน รวมทั้งสิ้น 175 คน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการบริหารงานทั่วไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษา จังหวัดยะลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 กำหนดกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ตามลักษณะการเก็บข้อมูลโดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ดังนี้ 1) การสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารงานทั่วไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 5 คน คณะครู จำนวน 10 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 20 คน 2) การตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการใช้ประโยชน์ของรูปแบบการบริหาร งานทั่วไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 10 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 2 คน ครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 8 คน และคณะครู จำนวน 28 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 48 คน และ 3) การประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานทั่วไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน ครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 8 คน และครูผู้สอน จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 29 คน วิธีดำเนินการวิจัยตามกรอบแนวคิดการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 Analysis (R1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ขั้นที่ 2 Design & Development (D1) การออกแบบและพัฒนารูปแบบ ขั้นที่ 3 Implement (R2) การนำรูปแบบไปใช้ และขั้นที่ 4 Evaluation (D2) การประเมินและปรับปรุงรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการบริหารงานทั่วไป 2) แบบวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาแนวทางการสร้างรูปแบบ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการใช้ประโยชน์ของรูปแบบ และ 4) แบบประเมินผลการใช้รูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพการบริหารงานทั่วไป พื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษา จังหวัดยะลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 พบว่า ในภาพรวม มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามขอบข่ายงานบริหารทั่วไป พบว่า งานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน มีระดับการปฏิบัติสูงที่สุด รองลงมา คือ งานกิจการนักเรียน งานจัดระบบบริหารและพัฒนาองค์กร งานธุรการ งานประชาสัมพันธ์ งานอาคาร สถานที่ และสิ่งแวดล้อม งานเทคโนโลยีการศึกษา งานสร้างเครือข่ายทางการศึกษา และงานเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ ตามลำดับ
2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารงานทั่วไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษา จังหวัดยะลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 เป็นดังนี้
2.1 ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง พบว่า ประเทศไทยได้นำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 2030) 17 เป้าหมาย โดยเฉพาะเป้าหมายที่ 4 การศึกษาที่เท่าเทียม มากำหนดยุทธศาสตร์และมาตรการเชิงนโยบาย วางแผนและขับเคลื่อนให้มีหลักประกันโอกาสทางการศึกษาและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของสัญญาประชาคมโลกที่ได้ตกลงร่วมกัน ซึ่งนโยบายด้านการศึกษาจะมีความเชื่อมโยงสอดคล้องกันตั้งแต่ระดับชาติถึงระดับเขตพื้นที่ โดยเป้าหมายของการจัดการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 มี 5 ประการ ได้แก่ การเข้าถึงการศึกษา มีความเท่าเทียม มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพ สนองตอบและก้าวทันการเปลี่ยนแปลง สำหรับการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้กำหนดเป้าประสงค์หลักภายใต้กรอบ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” กล่าวคือ มีความมั่นคงในสังคมพหุวัฒนธรรม มีความมั่งคั่ง ขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ด้วยกำลังคนที่มีทักษะในการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 มีความยั่งยืน ด้วยระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีความเสมอภาค เท่าเทียมทางการศึกษา และพึ่งพาตนเองได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขณะที่สถานศึกษาต้องเตรียมความพร้อมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา แหล่งเรียนรู้ และระบบเครือข่ายสารสนเทศ เพิ่มสมรรถนะของโรงเรียนในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีการวางแผน อำนวยการ และประสานงานการพัฒนาระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ มีแผนงาน/โครงการบริหารระบบข้อมูลสารสนเทศในแต่ละกลุ่มงานให้เป็นปัจจุบัน มีความทันสมัย รวดเร็ว และตรวจสอบได้ ทั้งนี้เพื่อรองรับการเข้าถึงการบริการทางการศึกษาของผู้เรียนและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ควรพัฒนาการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนอย่างต่อเนื่อง มีการบริการวิชาชีพต่อชุมชน ดึงชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา สนับสนุนให้ผู้เรียนเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่และวัฒนธรรมท้องถิ่น
2.2 รูปแบบการบริหารงานทั่วไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ จังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษา จังหวัดยะลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 ที่พัฒนาขึ้น มีชื่อว่า “IPACA Factor Model” ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ องค์ประกอบการบริหาร งานทั่วไป และเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ โดยองค์ประกอบการบริหารงานทั่วไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน มี 5 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 แนวคิดการบริหารงานทั่วไป สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Idea Factors General Administration : I) องค์ประกอบที่ 2 การกำหนดขอบข่ายการบริหาร
งานทั่วไป (Preparing Factors General Administration : P) องค์ประกอบที่ 3 การปฏิบัติงานตามภาระงานการบริหารงานทั่วไปในสถานศึกษา (Action Factors General Administration : A) องค์ประกอบที่ 4 การประสานงานของทุกภาคส่วน เพื่อประสิทธิภาพของการบริหารงานทั่วไป (Cooperative Factors General Administration : C) และองค์ประกอบที่ 5 การตรวจสอบผลการบริหารงานทั่วไปในสถานศึกษา (Assessment Factors General Administration : A)
2.3 ผลการตรวจสอบรูปแบบการบริหารงานทั่วไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน แบบ “IPACA Factor Model” พบว่า มีความสมเหตุสมผลกับหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่นำมาใช้ในการสังเคราะห์รูปแบบ มีความสอดคล้องกับสภาพความต้องการจำเป็นของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 และสภาพบริบทของพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ องค์ประกอบของรูปแบบและการดำเนินการตามองค์ประกอบมีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน และในภาพรวม รูปแบบมีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้และประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานทั่วไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษา จังหวัดยะลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 เป็นดังนี้
3.1 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อรูปแบบการบริหารงานทั่วไป การพัฒนาที่ยั่งยืน พื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษา จังหวัดยะลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 พบว่า ในภาพรวมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ องค์ประกอบที่ 2 การกำหนดขอบข่ายการบริหารงานทั่วไป (Preparing Factors General Administration : P) รองลงมา คือ องค์ประกอบที่ 3 การปฏิบัติงานตามภาระงานการบริหารงานทั่วไปในสถานศึกษา (Action Factors General Administration : A) องค์ประกอบที่ 1 แนวคิดการบริหาร งานทั่วไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Idea Factors General Administration : I) องค์ประกอบที่ 5 การตรวจสอบผลการบริหารงานทั่วไปในสถานศึกษา (Assessment Factors General Administration : A) และองค์ประกอบที่ 4 การประสานงานของทุกภาคส่วน เพื่อประสิทธิภาพของการบริหารงานทั่วไป (Cooperative Factors General Administration : C) ตามลำดับ
3.2 ผลการประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการบริหารงานทั่วไปสู่การพัฒนา
ที่ยั่งยืน พื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรณีศึกษา จังหวัดยะลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 พบว่า ในภาพรวมมีระดับการพัฒนาอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การพัฒนาระบบการจัดการศึกษา มีระดับการพัฒนาสูงที่สุด รองลงมา คือ การสร้างความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับชุมชน การพัฒนาระบบเครือข่ายเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศ การสร้างจุดยืนของสถานศึกษาในการพัฒนาผู้เรียน และการพัฒนาบุคลากรในสถานศึกษา ตามลำดับ