การพัฒนารูปแบบ 4H3ISP Model เพื่อขับเคลื่อนแหล่งเรียนรู้ฯ
เศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนเทศบาล ๑ หนองใส จังหวัดอุดรธานี
ผู้วิจัย นายอาทร เคหาสัย ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบ 4H3ISP Model เพื่อขับเคลื่อนแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนเทศบาล ๑ หนองใสจังหวัดอุดรธานี ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ความต้องการและแนวทางการขับเคลื่อนแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนเทศบาล ๑ หนองใส จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการการขับเคลื่อนแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนเทศบาล ๑ หนองใส จังหวัดอุดรธานี 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการขับเคลื่อน
แหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนเทศบาล ๑ หนองใส จังหวัดอุดรธานี
และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการขับเคลื่อนแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนเทศบาล ๑ หนองใส จังหวัดอุดรธานี วิธีดำเนินการวิจัย จำนวน 4 ขั้นตอน
กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนแกนนำ จำนวน 60 คน ครูแกนนำ จำนวน 12 คน ตัวแทนผู้ปกครอง จำนวน 20 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 5 คน ตัวแทนเทศบาล จำนวน
1 คน และตัวแทนชุมชน จำนวน 10 คน รวม 117 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling ) เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก
(In-depth interview) และสนทนากลุ่ม (Focus Group) ขั้นตอนที่ 2 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูแกนนำ จำนวน 12 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 8 คน หัวหน้ากลุ่มงาน จำนวน 4 คน ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน รวม 29 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟังความคิดเห็น เครื่องมือที่ใช้
ในการรวบรวมข้อมูล มี 2 ชนิด ได้แก่ แบบจดบันทึกภาคสนามและรายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการ ขั้นตอนที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ร่างรูปแบบการขับเคลื่อนแหล่งเรียนรู้ 2) เอกสารประกอบการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ และขั้นตอนที่ 4. กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ซึ่งเป็นชุดเดียวกับผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
แบบประเมินรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และตีความสรุปอุปนัย
ผลการวิจัยพบว่า
1. โรงเรียนเทศบาล ๑ หนองใส จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล 1 ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะเป็นชุมชนเมืองค่อนข้างหนาแน่น มีวัฒนธรรม
และประเพณีที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น เพดานกฐิน ปราสาทผึ้ง การทอเสื่อกก การทอผ้ามัดหมี่ การทำขนมไทยพื้นบ้าน เป็นต้น สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ ผลจากการสัมภาษณ์ครู นักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชนสามารถสรุปคุณลักษณะ
ของนักเรียนที่จบการศึกษาจากโรงเรียนเทศบาล ๑ หนองใส คือ ต้องคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น มีทักษะอาชีพ มีรายได้ มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน มุ่งมั่นในการทำงาน มีสุขภาพกายที่ดีได้กินอาหารกลางวันดีๆ มีความสุขในการเรียน เรียนอย่างสนุกสนานไม่เครียดกับการเรียนจนเกินไป และอนุรักษ์และสืบสาน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการสร้างแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน จำนวน 12 ฐานการเรียนรู้ แบ่งเป็น
1) ฐานการเรียนรู้ที่ใช้บุคลากรในโรงเรียนเป็นวิทยากร ได้แก่ ร้อยมาลัย ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ แกะสลักผักและผลไม้ ปลูกพืชผักสวนครัว น้ำสมุนไพรและปุ๋ยหมัก และ 2) ฐานการเรียนรู้ที่ใช้วิทยากรในท้องถิ่น ได้แก่ ขนมพื้นบ้านอาหารพื้นถิ่น เพดานกฐิน ปราสาทผึ้ง เห็ดนางฟ้า
เลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ และนวดแผนไทย
2. ยกร่างรูปแบบการขับเคลื่อนแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนเทศบาล ๑ หนองใส จังหวัดอุดรธานี ที่มีชื่อว่า 4H3ISP Model โดยมีองค์ประกอบดังนี้คือ
4H ได้แก่ Head หมายถึง ร่วมกันคิด Hand หมายถึง ร่วมกันทำ Heart หมายถึง ร่วมใจสามัคคี และ Health หมายถึง การมีสุขภาพจิตและสุขภาพกายที่ดี และจัดสร้างฐานการเรียนรู้
12 ฐานแบ่งเป็น 1) ฐานการเรียนรู้ที่ใช้บุคลากรในโรงเรียนเป็นวิทยากร ได้แก่ ร้อยมาลัย
ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ แกะสลักผักและผลไม้ ปลูกพืชผักสวนครัว น้ำสมุนไพรและปุ๋ยหมัก
และ 2) ฐานการเรียนรู้ที่ใช้วิทยากรในท้องถิ่น ได้แก่ ขนมพื้นบ้านอาหารพื้นถิ่น เพดานกฐิน ปราสาทผึ้ง เห็ดนางฟ้า เลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ และนวดแผนไทย
3. หลังจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนเทศบาล ๑ หนองใส จังหวัดอุดรธานี พบว่า 1) คะแนนจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน โดยใช้เกณฑ์การผ่านให้มีคะแนนร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม 30 คะแนน คือ 24 คะแนน
มีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป จำนวน 108 คน คิดเป็นร้อยละ 90 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดและผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนเทศบาล ๑ หนองใส จังหวัดอุดรธานีในด้านแหล่งเรียนรู้
ด้านการจัดการเรียนรู้และด้านการนำไปใช้ประโยชน์ พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจโดยรวมเท่ากับ 4.62 ค่า S.D. เท่ากับ 0.43
4. รูปแบบ 4H3ISP Model เพื่อขับเคลื่อนแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาล ๑ หนองใส จังหวัดอุดรธานีผ่านการประเมินซึ่งพบว่ามีความเหมาะสม
มีความถูกต้อง มีความเป็นไปได้ และมีความเป็นไปได้ที่จะนำใช้ประโยชน์โดยได้รับความเห็นด้วย
ระดับมากทุกองค์ประกอบ
https://drive.google.com/file/d/1qfTbsNQ0mHHQG3tloq-9-yRJpvirPpyZ/view?usp=sharing