การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้
ตนเองร่วมกับการเรียนรู้ด้วยวิธี SQ3R เพื่อส่งเสริมความสามารถในการ
อ่านเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล
บ้านส่องนางใย
ผู้วิจัย นางสุดารัตน์ สุระสา
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย กองการศึกษา เทศบาลเมืองมหาสารคาม
จังหวัดมหาสารคาม
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้ด้วยวิธี SQ3R เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย 2) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้ด้วยวิธี SQ3R เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้ด้วยวิธี SQ3R เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้ด้วยวิธี SQ3R เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านเชิงสร้างสรรค์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใยต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) สถิติทดสอบค่า t (Dependent Sample) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้ด้วยวิธี SQ3R เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย ที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน และการวัดและการประเมินผล โดยมีกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสำรวจที่ตื่นเต้น (Survey excited) 2) ขั้นตั้งคำถาม (Question) 3) ขั้นอ่าน (Read)
4) ขั้นเล่าเรื่องและทบทวน (Recite and review) และ 5) ขั้นสร้างโครงเรื่องและปรับปรุงใหม่ (Reconstruct and renovation) มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเท่ากับ 78.06/78.11 ซึ่งมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ความสามารถในการอ่านเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใยหลังจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้ด้วยวิธี SQ3R เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย มีค่าคะแนนเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการอ่านเชิงสร้างสรรค์หลังเรียน (x ̅ = 11.36, S.D. = 1.03) สูงกว่าค่าคะแนนเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการอ่านเชิงสร้างสรรค์ก่อนเรียน (x ̅ = 5.70, S.D. = 1.36) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
3. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใยที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการเรียนรู้ด้วยวิธี SQ3R เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลบ้านส่องนางใย ในการจัดการเรียนรู้ พบว่ามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
Research Title: Development of instructional management model based on constructivist theory incorporated with SQ3R learning method to promote creative reading ability for grade 6 students in Ban Song Nang Yai municipality school
Researcher: Mrs. Sudarut Surasa
Position: Senior Professional Level Teachers
Ban Song Nang Yai municipality school, Maha Sarakham City Municipality, Maha Sarakham Province
Year: 2562
Abstract
The objectives of this research are 1) To develop and find efficiency of instructional management model based on constructivist theory incorporated with SQ3R learning method to promote creative reading ability for grade 6 students in Ban Song Nang Yai municipality school 2) To study the results of the trial in using the instructional management model based on constructivist theory incorporated with SQ3R learning method to promote creative reading ability for grade 6 students in Ban Song Nang Yai municipality school 3) To study the opinions of students on the instructional management model based on constructivist theory incorporated with SQ3R learning method to promote creative reading ability for grade 6 students in Ban Song Nang Yai municipality school. The sample group used in this research are grade 6 students in Ban Song Nang Yai municipality school, consisting of 33 students. The tools used in this research consist of instructional management model based on constructivist theory incorporated with SQ3R learning method to promote creative reading ability for grade 6 students in Ban Song Nang Yai municipality school. The learning management plan, the creative reading ability test, the achievement test, the opinion questionnaire of grade 6 students in Ban Song Nang Yai municipality school towards the teaching management model. The used statistics are percentage (%), mean ( x ̅ ), standard deviation (SD), and t-test statistic (dependent samples) and content analysis.
The results of this research were found that
1. Instructional management model based on constructivist theory incorporated with SQ3R learning method in promoting the creative reading ability for grade 6 students in Ban Song Nang Yai municipality school is developed by elements, consists of principles, objectives, teaching and learning process, measurement, and evaluation. There are five steps in the teaching and learning process, which are 1) excited survey step 2) questioning step 3) reading step 4) reciting and reviewing step and
5) reconstruction and renovation step. Efficiency of teaching management model (E1/E2) has 78.06/78.11, corresponding to the criterion.
2. Creative reading ability of grade 6 students in Ban Song Nang Yai municipality school after learning from the instructional management model which is based on constructivist theory incorporated with SQ3R learning method in promoting the creative reading ability for grade 6 students in Ban Song Nang Yai municipality school was found that the score average of creative reading ability after learning management (x ̅ = 11.36, S.D. = 1.03) was significantly higher than the comprehensive reading score average of pre-learning (x ̅ = 5.70, S.D. = 1.36) at .05 level.
3. Opinions of grade 6 students in Ban Song Nang Yai municipality school about the use of instructional management model which is based on constructivist theory incorporated with SQ3R learning method in promoting the creative reading ability for grade 6 students in Ban Song Nang Yai municipality school, in learning management, was found that there was a high satisfaction level of opinion.