LASTEST NEWS

26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567

รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model)

usericon

บทคัดย่อ
ชื่อวิจัย:    รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้
        สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง
        เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
        ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย:    นางสาวเอมอร ช่วงโชติ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน:    โรงเรียนบางคูลัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรีสังกัดกองการศึกษา ศาสนา
        และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี
ปีที่วิจัย:    2563-2564

    รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ ของการวิจัย คือ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและพัฒนาหรือสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ (3) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียoชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 จำนวน 44 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบางคูลัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี สังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ได้จากการสุ่ม ตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลากจากกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 9 ชนิด คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 22 แผน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (2) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์วิชาคณิตศาสตร์ ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 หน่วย มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด(3) หนังสือการ์ตูนเสริมประสบการณ์วิชาคณิตศาสตร์ ชุด นักคณิตศาสตร์น้อย เมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 เล่ม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (4) ชุดฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 ชุด มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (5) วีดิทัศน์ (Youtube) ประกอบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัด ความยาวการชั่งและการตวง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 หน่วย ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (6) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ชั่ง ตวง วัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 โดยในภาพรวมมีค่าเท่ากับ 0.96 มีค่าความยาก (p) ระหว่าง 0.43 ถึง 0.77 และค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.60 และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.825 (7) แบบทดสอบวัดความสามารถ การแก้โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ชั่ง ตวง วัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 โดยในภาพรวมมีค่าเท่ากับ 0.94 มีค่าความยาก (p) ระหว่าง 0.45 ถึง 0.80 และค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.75 และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.970 (8) แบบประเมินทักษะทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ชั่ง ตวง วัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบบรูบิกส์สกอร์ (Rubrics Score) 5 รายการ 4 ระดับ จำนวน 20 คะแนน มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 โดยในภาพรวมมีค่าเท่ากับ 0.95 และ (9) แบบสอบถามวัดความพึงพอของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1.00 โดยในภาพรวมมีค่าเท่ากับ 0.94 มีค่าอำนาจจำแนก รายข้อระหว่าง 0.55 ถึง 0.92 และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีประสิทธิผล (E.I) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าซี (Z-test)
    ผลการวิจัย พบว่า
    1.    ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและพัฒนาหรือสร้างรูปแบบ (R1,D2)
        1.1    การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน (R1)
            1) สภาพปัจจุบันครูมีการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์ สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับปานกลาง
            2) ความต้องการของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางคูลัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี สังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี จำนวน 5 คน มีความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
        1.2 การพัฒนารูปแบบ (D2)
            1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งปรากฏรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ที่ผู้วิจัย ได้พัฒนาขึ้น จำนวน 7 ขั้น ดังนี้
                (1) ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ (Prompt Learning : P ) หมายถึง การเตรียมความพร้อมก่อนนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองจากความสงสัย หรืออาจเริ่มจากความสนใจของตัวนักเรียนเองหรืออาจเกิดจากการอภิปรายภายในกลุ่ม เพื่อสร้างความพอใจ ความสนใจ และแรงจูงใจของผู้เรียนให้พร้อมที่จะเรียนรู้
                (2) ขั้นที่ 2 ขั้นการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning : A) หมายถึง การจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructivism ที่ให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่จากการมีปฏิบัติสัมพันธ์และเชื่อมโยงจากความรู้เดิมด้วยตนเองจากการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง โดยใช้กิจกรรม ได้แก่ 1) การอภิปรายในชั้นเรียน, 2) การอภิปรายกลุ่มย่อย, 3) กิจกรรม “คิด-จับคู่-แลกเปลี่ยน”, 4) เซลการเรียนรู้, 5) การฝึกเขียนข้อความสั้นๆ, 6) การโต้วาที, 7) บทบาทสมมุติ, 8) การเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์, 9) การเรียนแบบกลุ่มร่วมแรงร่วมใจ, 10) ปฏิกิริยาจากการชมวิดิทัศน์, 11) เกมในชั้นเรียน, 12) แกลเลอรี่ วอล์ค, 13) การเรียนรู้โดยการสอน และ การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยเลือกใช้เพียง 1-2 กิจกรรมในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้
                (3) ขั้นที่ 3 ขั้นก่อนการจัดการเรียนรู้ (Pre Learining : P) เป็นขั้นตอนก่อนการจัดการเรียนรู้ สร้างความพอใจ และแรงจูงใจของผู้เรียนให้พร้อมที่จะเรียนรู้ (ให้นักเรียนดูวิดิทัศน์ประกอบการเรียน) บอกส่วนที่เรียนรู้ด้วย ว่าหน้าไหน ตอนไหน
                (4) ขั้นที่ 4 ขั้นการจัดการเรียนรู้ (Learning : L) เป็นขั้นการเรียนรู้แบบบูรณาการทักษะทั้งทางด้านความรู้ (K) ด้านทักษะกระบวนการ (P) และคุณลักษณะอันพึงสงค์ (A) ที่ผสมผสานเนื้อหา การแก้โจทย์ปัญหา และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในทุกหัวข้อและเนื้อหาการเรียนรู้ โดยมีการจัด การเรียนรู้แบบที่เน้นประสบการรณตรง (ให้นักเรียนด้วยชุดฝึกทักษะ) บอกส่วนที่เรียนรู้ด้วย ว่าหน้าไหน ตอนไหน
                (5) ขั้นที่ 5 ขั้นสนุกกับการเรียนรู้ (Enjoy Learining) เป็นขั้นการร่วมเรียนรู้อย่างสนุกสนาน ผ่านกิจกรรม สื่อ เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ โดยเน้นการใช้กลวิธีการจัดการเรียนรู้แบบเพลิน (ใช้หนังสือการ์ตูนเสริมประสบการณ์)บอกส่วนที่เรียนรู้ด้วย ว่าหน้าไหน ตอนไหน
                (6) ขั้นที่ 6 ขั้นถามตอบเพื่อความเข้าใจในการเรียนรู้ (Ask Learning) เป็นขั้นการถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจจากการเรียนรู้ ให้ครูและนักเรียนตั้งคำถาม ถามตอบเรื่องที่ตัวเองอยากรู้ และสงสัย
                (7) ขั้นที่ 7 ขั้นการตอบสนองการเรียนรู้ (Response Learning) เป็นขั้นการตอบสนองการเรียนรู้โดยการอภิปราย และการนำเสนอรายงานเพื่อแสดงความคิดเห็น รวมถึงการแสดงบทบาทสมมุติในสถานการณ์จำลอง หรือสถานการณ์จริง
                (8) ขั้นที่ 8 ขั้นสังเกตและชี้แนะจากการเรียนรู้ (Notice Learning) เป็นขั้นการให้ข้อสังเกตหรือการชี้แนะอย่างสร้างสรรค์หลังได้รับความรู้ หลังจากนั้นจึงศึกษาผลการใช้ประบวนการจัดการเรียนรู้แบบเพลิน (ใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์) และสรุปผล บอกส่วนที่เรียนรู้ด้วย ว่าหน้าไหน ตอนไหน
            2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.69/80.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
            3) ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 คือ ปรับปรุงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยืดหยุ่นระยะเวลาในการเรียน ให้เหมาะสมกับการจัดกิจกรรม และเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ครูผู้สอนต้องบริหารเวลาให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนตามความยาวของเนื้อหา
    2. ระยะที่ 2 การพัฒนา (Development : D2)
        2.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ชั่ง ตวง วัด ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2    ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาว การชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7056 แสดงว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.7056 หรือคิดเป็นร้อยละ 70.56
    3.    ระยะที่ 3 ประเมินผลรูปแบบ (Evaluation Research: R2)
        นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์พาเพลิน (PA-PLEAN Model) ประกอบการใช้สื่อประสม ชุด นักคณิตศาสตร์น้อยเมืองนนท์สนุกกับการวัดความยาวการชั่งและการตวง เพื่อพัฒนาความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^