เผยแพร่แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาวิทยาศาสตร์ 5
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง พันธุกรรม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
เรื่อง โครโมโซม ดีเอ็นเอ และยีน วันที่ ......... เดือน ........................... พ.ศ. 2564
เวลา 3 ชั่วโมง
1. มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้
ว 1.3 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม สารพันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้
ว 1.3 ม.3/1 อธิบายรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างยีน ดีเอ็นเอ และโครโมโซม โดยใช้แบบจำลอง
2. สาระสำคัญ
ลักษณะทางพันุกรรมของสิ่งมีชีวิตสามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง โดยมียีนเป็นหน่วยควบคุมลักษณะทางพันธุกรรม โดยยีนเป็นส่วนหนึ่งของสายดีเอ็นเอ และดีเอ็นเอจะขดกันเป็นโครโมโซม อยู่ภายในนิวเคลียสของเซลล์ สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะมีจำนวนโครโมโซมเท่ากัน และอาจมีจำนวนโครโมโซม เท่าหรือไม่เท่ากับสิ่งมีชีวิตต่างชนิด ซึ่งโครโมโซมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ โครโมโซมร่างกายและโครโมโซมเพศ และสิ่งมีชีวิตที่มีโครโมโซม 2 ชุด อยู่กันเป็นคู่และมีการเรียงลำดับยีนบนโครโมโซมเหมือนกัน เรียกว่า ฮอมอโลกัสโครโมโซม
3. เนื้อหา/สาระการเรียนรู้
โครโมโซม ดีเอ็นเอ และยีน
4. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1. มีจิตสาธารณะ
2. มีจิตวิทยาศาสตร์
5. สมรรถนะสำคัญ
5.1 ความสามารถในการคิด
5.2 ความสามารถในการสื่อสาร
5.3 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
6. ชิ้นงาน
สร้างแบบจำลองโครโมโซม
7. กิจกรรมการเรียนรู้ เทคนิค : บรรยาย (เพื่อเฝ้าระวังการแพร่เชื้อไวรัสโคโรน่า 2019)
ชั่วโมงที่ 1
ขั้นที่ 1 เตรียมการสอน
1. ครูเตรียมแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พันธุกรรม ให้กับนักเรียน
2. ครูเตรียมภาพโครโมโซม หรือใช้ภาพโครโมโซมที่มีรูปร่างต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนทำกิจกรรม Engaging Activity จับคู่ภาพโครโมโซมที่เหมือนกัน แล้วเตรียมข้อสรุปหลังจากนักเรียนทำกิจกรรมแล้ว เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า ภาพที่นักเรียนใช้ทำกิจกรรม เรียกว่า โครโมโซม ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต โดยในธรรมชาติโครโมโซมจะอยู่กันเป็นคู่เหมือนกับที่นักเรียนทำกิจกรรมนั่นเอง
3. ครูเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ทำกิจกรรม โครงสร้างสารที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
ขั้นที่ 2 นำสู่การเรียน
3. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง พันธุกรรม เพื่อประเมินความรู้ของนักเรียน
4. ครูสนทนากับนักเรียนว่า สิ่งมีชีวิตที่เกิดมาจะได้รับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ทำให้มีลักษณะทางพันธุกรรมที่เฉพาะแตกต่างไปจากสิ่งมีชีวิตอื่น จากนั้นครูถามคำถามนักเรียน ดังนี้
- ยกตัวอย่างการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของพืชมีอะไรบ้าง
(แนวตอบ : สีของเมล็ด ลักษณะของเมล็ด ความสูง สีของดอก)
- ยกตัวอย่างการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสัตว์มีอะไรบ้าง
(แนวตอบ : สีขน ลักษณะของขน ลักษณะของใบหู สีตา)
- ยกตัวอย่างการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของมนุษย์มีอะไรบ้าง
(แนวตอบ : สีตา สีผม การห่อลิ้น ลักษณะหนังตา ลักษณะลักยิ้ม ลักษณะของติ่งหู)
ชั่วโมงที่ 2-3
ขั้นที่ 3 อธิบายความรู้
5. ให้นักเรียนทำกิจกรรม โครงสร้างสารที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
จากหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.3 เล่ม 1
6. ให้นักเรียนศึกษาภาพในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.3 เล่ม 1 หน่วยที่ 1 เรื่อง โครโมโซม ดีเอ็นเอ และยีน หรือตารางแสดงจำนวนโครโมโซมของเซลล์ร่างกายของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ แล้วถามคำถามนักเรียน ปะกอบการเรียนรู้ ดังนี้
- สิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีจำนวนโครโมโซมเท่ากันได้หรือไม่
(แนวตอบ : อาจเท่าหรือไม่เท่ากันก็ได้ แต่สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันจะมีจำนวนโครโมโซมเท่ากันเสมอ)
- จำนวนโครโมโซมของสิ่งมีชีวิตขึ้นอยู่กับขนาดของสิ่งมีชีวิตหรือไม่
(แนวตอบ : ไม่ใช่ ตัวอย่างเช่น ยูกลีนาเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กกว่าคน แต่กลับมีจำนวนโครโมโซมมากกว่าจำนวนโครโมโซมในร่างกายมนุษย์)
- จำนวนโครโมโซมของมนุษย์มีเท่าใด
(แนวตอบ : 46 แท่ง หรือ 23 คู่)
7. ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจเพิ่มเติมว่า “การศึกษาจำนวนและขนาดของโครโมโซมเป็นคู่ เรียกว่า การทำแครีโอไทป์ แพทย์มักใช้วิธีในการวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรม โดยโครโมโซมของมนุษย์แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ โครโมโซมร่างกาย หรือเรียกว่า ออโตโซม จะมีขนาดและรูปร่างของโครโมโซมเท่ากัน ส่วนโครโมโซมเพศอาจมีขนาดเท่ากัน หรือแตกต่างกัน ถ้ามีขนาดเท่ากันจะเป็นเพศหญิง แต่ถ้ามีขนาดต่างกันจะเป็นเพศชาย” เพื่อประกอบความเข้าใจของนักเรียน
8. หลังจากนั้น ครูตั้งประเด็นคำถามให้นักเรียนคิดว่า “จำนวนโครโมโซมของเซลล์อสุจิกับเซลล์
เยื่อบุผิวข้างแก้มของนักเรียนมีจำนวนโครโมโซมเท่ากันหรือไม่” โดยครูสุ่มเรียกนักเรียน 2-3 คน เพื่อแสดงความคิดเห็น
9. ให้นักเรียนศึกษาแผนภาพจำนวนโครโมโซมก่อนและหลังการปฏิสนธิ แล้วสุ่มเรียกนักเรียน 2-3 คน ออกมาอธิบายหน้าชั้นเรียนโดยครูคอยเสริมข้อมูลเพิ่มเติม
10. ให้นักเรียนจับคู่กัน ร่วมกันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างของโครโมโซมจากหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.3 เล่ม 1 หน่วยที่ 2 เรื่อง โครโมโซม ดีเอ็นเอ และยีน หรือ อินเทอร์เน็ต แล้วทำกิจกรรมสร้างแบบจำลองโครโมโซม จากวัสดุที่ครูเตรียมให้
11. สุ่มนักเรียนแต่ละคู่นำเสนอผลการทำกิจกรรม
ขั้นที่ 4 ติดตามผล
11. ให้นักเรียนตอบ ว่า “ยีน ดีเอ็นเอ และโครโมโซมมีความสัมพันธ์กันอย่างไร” โดยให้นักเรียนเขียนคำตอบลงในสมุดประจำตัวนักเรียน จากนั้นครูตรวจสมุดประจำตัวนักเรียน
12. นักเรียนทำแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.3 เล่ม 1
ขั้นที่ 5 วัดผล
13. ครูตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการ เรียนรู้ที่ 2 พันธุกรรม
14. ครูตรวจสอบผลการทำแบบทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบนิเวศ เพื่อตรวจสอบความเข้าใจหลังเรียนของนักเรียน
13. ครูประเมินผล โดยการสังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล พฤติกรรมการทำงานกลุ่ม และจากการนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน
8. การวัดและการประเมินผล
วิธีการ เครื่องมือ เกณฑ์การประเมิน
- ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พันธุกรรม - แบบทดสอบก่อนเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พันธุกรรม - ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
- ตรวจแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ม.3 เล่ม 1 - สมุดประจำตัวนักเรียน
- ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์
ประเมินการนำเสนอ ผลงาน/ผลการปฏิบัติกิจกรรมสร้างแบบจำลองโครโมโซม - แบบประเมินการนำเสนอผลงาน - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
- สังเกตพฤติกรรม
การทำงานรายบุคคล - แบบสังเกตพฤติกรรม
การทำงานรายบุคคล - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
- สังเกตพฤติกรรม
การทำงานกลุ่ม - แบบสังเกตพฤติกรรม
การทำงานกลุ่ม - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
- สังเกตความมีจิตวิทยาศาสตร์ - แบบประเมินคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ - ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์
9. สื่อการเรียนรู้
9.1 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.3 เล่ม 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
พันธุกรรม
9.2 แบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.3 เล่ม 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พันธุกรรม
9.3 อุปกรณ์ที่ใช้ทำกิจกรรม สร้างแบบจำลองโครโมโซม
9.4 แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 พันธุกรรม
10. ความคิดเห็นของหัวหน้าฝ่ายวิชาการ ( ก่อนการนำแผนการสอนไปใช้ )
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ..........................................หัวหน้าฝ่ายวิชาการ
(นางอุไรวรรณ ปัญญาศิลป์)
11. ความคิดเห็นของรองผู้บริหารสถานศึกษา ( ก่อนการนำแผนการสอนไปใช้ )
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ..........................................รองผู้อำนวยการโรงเรียน
(นางนวลนิตย์ ถาวงษ์กลาง)
12. ถอดบทเรียน (เศรษฐกิจพอเพียง)
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………
บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................... ...........................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................... ...........................................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................................... ...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้
..............................................................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................
แนวทางการแก้ไขปัญหา/อุปสรรค
..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ลงชื่อ..................................................ครูผู้สอน
(……………………………………….)
ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ลงชื่อ..........................................ผู้อำนวยการโรงเรียน
(นายสยาม เครือผักปัง)
................/......................................./..................
แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง พันธุกรรม
คำชี้แจง : ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว
1. ข้อใดอธิบายความหมายของพันธุกรรมได้ถูกต้อง
1. ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย
2. สิ่งที่ได้รับถ่ายทอดมาจากคนใกล้ตัว
3. สิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษเพียงรุ่นเดียว
4. สิ่งที่ได้รับจากการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ หรือ
จากรุ่นสู่รุ่น
2. ข้อใดบ่งบอกว่าเป็นมนุษย์เพศชาย
1. ออโตโซมมีโครโมโซมมี 45 แท่ง
2. ออโตโซมมีโครโมโซมมี 46 แท่ง
3. โครโมโซมคู่ที่ 23 เป็นโครโมโซม X ทั้งสองแท่ง
4. โครโมโซมคู่ที่ 23 ประกอบด้วยโครโมโซม X และ โครโมโซม Y
3. เซลล์ข้อใดมีจำนวนโครโมโซมเป็นครึ่งหนึ่งของเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์
1. เซลล์ปีก
2. เซลล์สืบพันธุ์
3. เซลล์กล้ามเนื้อ
4. เซลล์เยื่อบุข้างแก้ม
4. ใครคือบิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์
1. ไอแซก นิวตัน
2. ชาลล์ ดาร์วิน
3. ไมเคิล ฟาราเดย์
4. เกรกอร์ เมนเดล
5. ข้อใดคือที่บรรจุสารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต
1. ยีน
2. โปรตีน
3. ดีเอ็นเอ
โครโมโซม
6. ข้อใดกล่าวถึงลักษณะด้อยได้ถูกต้อง
1. ลักษณะที่ปรากฏในทุกรุ่น
2. ลักษณะที่ไม่ปรากฏในลูกรุ่นที่ 1 แต่มาปรากฏ ในลูกรุ่นที่ 2
3. ลักษณะที่ไม่ปรากฏในลูกรุ่นที่ 2 แต่ปรากฏ ในลูกรุ่นที่ 1
4. ไม่มีข้อใดกล่าวถูกต้อง
7. ข้อใดหมายถึงจีโนไทป์
1. รูปแบบของยีนในสิ่งมีชีวิต
2. ลักษณะของสิ่งมีชีวิตแสดงออก
3. รูปแบบของโครโมโซมในสิ่งมีชีวิต
4. ลักษณะของดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิต
8. โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 แท่ง คือข้อใด
1. กลุ่มอาการดาวน์
2. กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด
3. กลุ่มอาการเทิร์นเนอร์
4. กลุ่มอาการดับเบิลวาย
9. ข้อใดหมายถึงสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
1. สิ่งมีชีวิตที่ได้รับโปรตีนจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น
2. สิ่งมีชีวิตที่ได้รับสารเคมีจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น
3. สิ่งมีชีวิตที่ได้รับโครโมโซมจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น
4. สิ่งมีชีวิตที่ได้รับสารพันธุกรรมจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น
10. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้สิ่งมีชีวิตมีความหลากหลายทางพันธุกรรม
1. สภาพแวดล้อม
2. สารก่อกลายพันธุ์
3. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
4. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
คำชี้แจง : ให้ผู้สอนประเมินการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียนตามรายการที่กำหนด แล้วขีด ลงในช่องที่ตรงกับระดับคะแนน
ลำดับที่ รายการประเมิน ระดับคะแนน
4 3 2 1
1 การปฏิบัติการทำกิจกรรม
2 ความคล่องแคล่วในขณะปฏิบัติกิจกรรม
3 การบันทึก สรุปและนำเสนอผลการทำกิจกรรม
รวม
ลงชื่อ ................................................... ผู้ประเมิน
................./................../..................
เกณฑ์การประเมินการปฏิบัติกิจกรรม
ประเด็นที่ประเมิน ระดับคะแนน
4 3 2 1
1. การปฏิบัติกิจกรรม ทำกิจกรรมตามขั้นตอน และใช้อุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง ทำกิจกรรมตามขั้นตอน และใช้อุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง แต่อาจต้องได้รับคำแนะนำบ้าง ต้องให้ความช่วยเหลือบ้างในการทำกิจกรรม และการใช้อุปกรณ์ ต้องให้ความช่วยเหลืออย่างมากในการทำกิจกรรม และการใช้อุปกรณ์
2. ความคล่องแคล่วในขณะปฏิบัติกิจกรรม มีความคล่องแคล่วในขณะทำกิจกรรมโดยไม่ต้องได้รับคำชี้แนะ และทำกิจกรรมเสร็จทันเวลา มีความคล่องแคล่วในขณะทำกิจกรรมแต่ต้องได้รับคำแนะนำบ้าง และทำกิจกรรมเสร็จทันเวลา ขาดความคล่องแคล่วในขณะทำกิจกรรมจึงทำกิจกรรมเสร็จไม่ทันเวลา ทำกิจกรรมเสร็จไม่ทันเวลา และทำอุปกรณ์เสียหาย
3. การบันทึก สรุปและนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรม บันทึกและสรุปผลการทำกิจกรรมได้ถูกต้อง รัดกุม นำเสนอผลการทำกิจกรรมเป็นขั้นตอนชัดเจน บันทึกและสรุปผลการทำกิจกรรมได้ถูกต้อง แต่การนำเสนอผลการทำกิจกรรมยังไม่เป็นขั้นตอน ต้องให้คำแนะนำในการบันทึก สรุป และนำเสนอผลการทำกิจกรรม ต้องให้ความช่วยเหลืออย่างมากในการบันทึก สรุป และนำเสนอผลการทำกิจกรรม
เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ
10-12 ดีมาก
7-9 ดี
4-6 พอใช้
0-3 ปรับปรุง
คำชี้แจง : ให้ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในระหว่างเรียนและนอกเวลาเรียน แล้วขีด ลงในช่องที่
ตรงกับระดับคะแนน
ลำดับที่ รายการประเมิน ระดับคะแนน
3 2 1
1 ความถูกต้องของเนื้อหา
2 ความคิดสร้างสรรค์
3 วิธีการนำเสนอผลงาน
4 การนำไปใช้ประโยชน์
5 การตรงต่อเวลา
รวม
ลงชื่อ ................................................... ผู้ประเมิน
............/................./...................
เกณฑ์การให้คะแนน
ผลงานหรือพฤติกรรมสอดคล้องกับรายการประเมินสมบูรณ์ชัดเจน ให้ 3 คะแนน
ผลงานหรือพฤติกรรมสอดคล้องกับรายการประเมินเป็นส่วนใหญ่ ให้ 2 คะแนน
ผลงานหรือพฤติกรรมสอดคล้องกับรายการประเมินบางส่วน ให้ 1 คะแนน
เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ
14–15 ดีมาก
11–13 ดี
8–10 พอใช้
ต่ำกว่า 8 ปรับปรุง
คำชี้แจง : ให้ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในระหว่างเรียนและนอกเวลาเรียน แล้วขีด ลงในช่องที่
ตรงกับระดับคะแนน
ลำดับที่ รายการประเมิน ระดับคะแนน
3 2 1
1 การแสดงความคิดเห็น
2 การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
3 การทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
4 ความมีน้ำใจ
5 การตรงต่อเวลา
รวม
ลงชื่อ ................................................... ผู้ประเมิน
............/.................../................
เกณฑ์การให้คะแนน
ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอ ให้ 3 คะแนน
ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบ่อยครั้ง ให้ 2 คะแนน
ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบางครั้ง ให้ 1 คะแนน
เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ
14–15 ดีมาก
11–13 ดี
8–10 พอใช้
ต่ำกว่า 8 ปรับปรุง
คำชี้แจง : ให้ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในระหว่างเรียนและนอกเวลาเรียน แล้วขีด ลงในช่องที่
ตรงกับระดับคะแนน
ลำดับที่ ชื่อ–สกุล
ของนักเรียน การแสดง
ความคิดเห็น การยอมรับฟังคนอื่น การทำงาน
ตามที่ได้รับมอบหมาย ความมีน้ำใจ การมี
ส่วนร่วมในการปรับปรุง
ผลงานกลุ่ม รวม
15
คะแนน
3 2 1 3 2 1 3 2 1 3 2 1 3 2 1
ลงชื่อ ................................................... ผู้ประเมิน
............./.................../...............
เกณฑ์การให้คะแนน
ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอ ให้ 3 คะแนน
ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบ่อยครั้ง ให้ 2 คะแนน
ปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมบางครั้ง ให้ 1 คะแนน
เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ
14–15 ดีมาก
11–13 ดี
8–10 พอใช้
ต่ำกว่า 8 ปรับปรุง
คำชี้แจง : ให้ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนในระหว่างเรียนและนอกเวลาเรียน แล้วขีด ลงในช่องที่
ตรงกับระดับคะแนน
คุณลักษณะ
อันพึงประสงค์ รายการประเมิน ระดับคะแนน
3 2 1 0
8. มีจิตสาธารณะ 8.1 รู้จักการให้เพื่อส่วนรวม และเพื่อผู้อื่น
8.2 แสดงออกถึงการมีน้ำใจหรือการให้ความช่วยเหลือผู้อื่น
8.3 เข้าช่วยเหลือในการสืบค้นข้อมูลหรือแนวทางการกิจกรรม
สรุป
9. มีจิตวิทยาศาสตร์ 4.1 ความสนใจการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์
4.2 พอใจในประสบการณ์การเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
4.3 ศรัทธาและเห็นคุณค่าและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4.4 ตั้งใจหรือเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนวิทยาศาสตร์อย่างสนุกสนาน
4.5 เลือกใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการคิดและปฏิบัติ
4.6 ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมีคุณธรรมโดยใคร่ครวญไตร่ตรองถึงผลดีและผลเสีย
สรุป
ลงชื่อ.......................................................ผู้ประเมิน
(.....................................................)
เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ
ช่วงคะแนน ระดับคุณภาพ
22-27 ดีเยี่ยม
16-21 ดี
10-15 ผ่าน
ต่ำกว่า 10 ไม่ผ่าน
ระดับคุณภาพ ดีเยี่ยม ดี ผ่าน ไม่ผ่าน
คะแนน 3 2 1 0
เกณฑ์การผ่าน ตั้งแต่ระดับคุณภาพดี (2) ขึ้นไป
สรุป ผ่าน ไม่ผ่าน
คำชี้แจง : ให้ ผู้สอน สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน แล้วทำเครื่องหมาย ลงในช่องที่ตรงกับระดับคุณภาพ
สมรรถนะด้าน รายการประเมิน ระดับคุณภาพ
ดีมาก
(3) ดี
(2) พอใช้
(1) ปรับปรุง
(0) สรุปผลการประเมิน
1. ความสามารถในการสื่อสาร 1.1 มีความสามารถในการรับ-ส่งสาร ดีมาก
ดี
พอใช้
ปรับปรุง
1.2 มีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความเข้าใจของตนเองโดยใช้ภาษาอย่างเหมาะสม
1.3 ใช้วิธีการสื่อสารที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ
1.4 เจรจาต่อรอง เพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ได้
1.5 เลือกรับและไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยเหตุผลและถูกต้อง
2. ความสามารถในการคิด 2.1 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ดีมาก
ดี
พอใช้
ปรับปรุง
2.2 มีทักษะในการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์
2.3 สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ
2.4 มีความสามารถในการสร้างองค์ความรู้
2.5 ตัดสินใจแก้ปัญหาเกี่ยวกับตนเองได้อย่างเหมาะสม
3. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 3.1 ทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความสัมพันธ์อันดี
3.2 มีวิธีแก้ไขความขัดแย้งอย่างเหมาะสม
สรุป
เกณฑ์การให้คะแนน
ดีมาก หมายถึง พฤติกรรมที่ปฏิบัตินั้นชัดเจนและสม่ำเสมอ ให้ระดับ 3 คะแนน
ดี หมายถึง พฤติกรรมที่ปฏิบัตินั้นชัดเจนและบ่อยครั้ง ให้ระดับ 2 คะแนน
พอใช้ หมายถึง พฤติกรรมที่ปฏิบัติบางครั้ง ให้ระดับ 1 คะแนน
ต้องปรับปรุง หมายถึง ไม่เคยปฏิบัติพฤติกรรมนั้นเลย ให้ระดับ 0 คะแนน
ติดต่อแผนฉบับสมบูรณ์ที่ krooannjung@gmail.com