LASTEST NEWS

26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567

เผยแพร่การออกแบบหน่วยการเรียนรู้

usericon

การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง พันธุกรรม
รายวิชาวิทยาศาสตร์ 5 รหัสวิชา ว23101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
เวลา 18 ชั่วโมง ครูผู้สอน นางรจนา แสงสุธา


1. มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
มาตรฐาน ว 2.1 เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม สารพันธุกรรม
การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพและวิวัฒนาการ
ของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

ตัวชี้วัด
    ว 1.3 ม.3/1 อธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง ยีน ดีเอ็นเอ และโครโมโซม โดยใช้แบบจำลอง
    ว 1.3 ม.3/2     อธิบายการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากการผสมโดยพิจารณาลักษณะเดียวที่
                แอลลีลเด่นข่มแอลลีลด้อยอย่างสมบูรณ์
    ว 1.3 ม.3/3     อธิบายการเกิดจีโนไทป์และฟีโนไทป์ของลูก และคำนวณอัตราส่วนการเกิดจีโนไทป์และ
              ฟีโนไทป์ของรุ่นลูก
    ว 1.3 ม.3/4     อธิบายความแตกต่างของการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสและไมโอซิส
    ว 1.3 ม.3/5 บอกได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของยีนหรือโครโมโซมอาจทำให้เกิดโรคทางพันธุกรรม พร้อมทั้ง
             ยกตัวอย่างโรคทางพันธุกรรม
    ว 1.3 ม.3/6 ตระหนักถึงประโยชน์ของความรู้เรื่องโรคทางพันธุกรรม โดยรู้ว่าก่อนแต่งงานควรปรึกษา
               แพทย์เพื่อตรวจและวินิจฉัยภาวะเสี่ยงของลูกที่อาจเกิดโรคทางพันธุกรรม    
    ว 1.3 ม.3/7     อธิบายการใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม และผลกระทบที่อาจมีต่อ
             มนุษย์และสิ่งแวดล้อม โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้
    ว 1.3 ม.3/8 ตระหนักถึงประโยชน์และผลกระทบของสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมที่อาจมีต่อมนุษย์และ
              สิ่งแวดล้อม โดยการเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีข้อมูลสนับสนุน


2. สาระสำคัญ
เมื่อมองเซลล์ผ่านกล้องจุลทรรศน์จะเห็นเส้นใยเล็ก ๆ พันกันอยู่ในนิวเคลียส เมื่อเกิดการแบ่งเซลล์เส้นใยเหล่านี้จะขดสั้นจนมีลักษณะเป็นท่อนสั้น เรียกว่า โครโมโซม ซึ่งโครโมโซมประกอบด้วยดีเอ็นเอและโปรตีน ส่วนหนึ่งของดีเอ็นเอทำหน้าที่เป็นยีนซึ่งเป็นหน่วยพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตที่สามารถถ่ายทอดจากรุ่นพ่อและแม่ไปสู่รุ่นลูก
          เกรกอร์ โยฮันน์ เมนเดล ผู้ค้นพบกฎการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของวิชาพันธุศาสตร์ จากการทดลองผสมพันธุ์ถั่วต่างสายพันธุ์ที่มีลักษณะแตกต่างกันเป็นเวลากว่า 8 ปี แล้วสังเกตลักษณะที่ปรากฏในลูกรุ่นที่ 1 และลูกรุ่นที่ 2 โดยลักษณะที่ปรากฏของลูกรุ่นที่ 1 เป็นลักษณะทางพันธุกรรมลักษณะเด่น ซึ่งจะปรากฏลักษณะนั้น ๆ ในทุกรุ่น ส่วนลักษณะด้อยจะปรากฏในลูกรุ่นที่ 2 ซึ่งมีจำนวนที่ปรากฏน้อยกว่า โดยอัตราส่วนจำนวนที่ปรากฏของลักษณะเด่น : ลักษณะด้อย เป็น 3 : 1
          สิ่งมีชีวิตที่มีโครโมโซมเป็น 2 ชุด ยีนแต่ละตำแหน่งบนฮอมอโลกัสโครโมโซมมี 2 แอลลีล โดยแอลลีล
หนึ่งได้รับมาจากพ่อ และอีกแอลลีลได้รับมาจากแม่ ซึ่งอาจมีรูปแบบเดียวกันหรือแตกต่างกัน แอลลีล
ที่แตกต่างกันนี้ แอลลีลหนึ่งอาจมีการแสดงออกข่มอีกแอลลีลหนึ่งได้ เรียกแอลลีลที่ข่มนั้นว่า แอลลีลเด่น
ส่วนแอลลีลที่ถูกข่มอย่างสมบูรณ์ เรียกว่า แอลลีลด้อย เมื่อมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ แอลลีลที่เป็นคู่กันในแต่ละฮอมอโลกัสโครโมโซมจะแยกจากกันไปสู่เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์ โดยแต่ละเซลล์สืบพันธุ์จะได้รับเพียง
1 แอลลีล เมื่อเกิดการปฏิสนธิ แต่ละแอลลีลที่ได้รับมาจากพ่อและแม่ จะมาเข้าคู่กันที่ตำแหน่งเดียวกัน จนเกิดเป็นจีโนไทป์และแสดงฟีโนไทป์ในรุ่นลูก
          การแบ่งเซลล์เป็นกระบวนการหนึ่งในการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเกิดขึ้นตลอดเวลาตั้งแต่สิ่งมีชีวิตยังเป็นตัวอ่อนจนกระทั้งเจริญเติบโตเต็มวัยและตายในที่สุด กระบวนการแบ่งเซลล์ของสิ่งมีชีวิตมี 2 แบบ คือ ไมโทซิส และไมโอซิส
          ไมโทซิสเป็นการแบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ร่างกาย ทำให้สิ่งมีชีวิตมีการเจริญเติบโต หรือแบ่งเซลล์เพื่อทดแทนเซลล์ที่ตายไป ได้เซลล์ใหม่จำนวน 2 เซลล์ แต่ละเซลล์มีจำนวนโครโมโซมเหมือนเซลล์ตั้งต้น
          ไมโอซิสเป็นการแบ่งเซลล์เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์ ซึ่งจะได้เซลล์สืบพันธุ์จำนวน 4 เซลล์ แต่ละเซลล์มีจำนวนโครโมโซมเป็นครึ่งหนึ่งของเซลล์ตั้งต้น
          โรคทางพันธุกรรม คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีนหรือโครโมโซม ซึ่งส่งผลให้เกิดความผิดปกติของร่างกาย โดยความผิดปกติของโครโมโซมนั้นอาจเกิดจากจำนวนโครโมโซมเปลี่ยนแปลงไปจากปกติหรือเกิดจากการขาดหายไปบางส่วนของโครโมโซมบางแท่ง ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งในออโตโซมและโครโมโซมเพศ และความผิดปกติของยีนนั้นก็อาจเกิดขึ้นได้ทั้งยีนที่อยู่บนออโตโซมและยีนที่อยู่บนโครโมโซมเพศ โดยลักษณะอาการของโรคทางพันธุกรรมแต่ละชนิดจะแตกต่างกันโรคทางพันธุกรรมสามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกได้ ดังนั้น ก่อนแต่งงานและมีบุตรจึงควรป้องกันโดยการตรวจและวินิจฉัยภาวะเสี่ยงจากการถ่ายทอดโรคทางพันธุกรรม
     สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม คือ สิ่งมีชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมโดยมนุษย์ ซึ่งเป็นกระบวนการที่นอกเหนือไปจากการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ การสร้างสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมทำได้โดยการถ่ายทอดยีนที่มีลักษณะที่ต้องการจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งเข้าไปอยู่ในดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ทำให้สิ่งมีชีวิตที่ได้รับยีนเกิดการแสดงออกของยีนที่ต้องการ และลักษณะดังกล่าวสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไป ตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม เช่น ข้าวโพด มะละกอ ถั่วเหลือง โดยมนุษย์ใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรมเป็นจำนวนมากในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการแพทย์ ด้านอุตสาหกรรม ด้านการเกษตร

3. สาระการเรียนรู้
    3.1 สาระการเรียนรู้แกนกลาง(K)
        3.1.1 สาระการเรียนรู้ (ประจำหน่วยการเรียนรู้)
        3.1.1.1 โครโมโซม ดีเอ็นเอ และยีน
        3.1.1.2 การศึกษาพันธุศาสตร์ของเมนเดล
        3.1.1.3 การถ่ายทอดยีนบนโครโมโซม
        3.1.1.4 การแบ่งเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
        3.1.1.5 ความผิดปกติทางพันธุกรรม
        3.1.1.6 สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
3.1.2 สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
     -
3.2 ทักษะกระบวนการ (P)
              โดยใช้ทักษะการอธิบาย บอกความแตกต่าง คำนวณ ยกตัวอย่าง รวบรวมข้อมูลและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
3.3 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
    3.3.1 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (ประจำหน่วยการเรียนรู้)
3.3.1. ตระหนักถึงประโยชน์ของความรู้เรื่องโรคทางพันธุกรรม
3.3.2 ตระหนักถึงประโยชน์และผลกระทบของสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
3.3.2 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (ประจำกลุ่มสาระการเรียนรู้)
3.3.2.1 มีจิตวิทยาศาสตร์
3.4 สมรรถนะ
3.4.1 ความสามารถในการคิด
3.4.2 ความสามารถในการแก้ปัญหา
3.4.3 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
3.4.4 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

4. ชิ้นงาน
4.1 สร้างแบบจำลองโครโมโซม
4.2 แผนผังการถ่ายทอดยีนของหนูทดลอง
        4.3 Diagram เรื่อง พันธุกรรม

5. การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้

วิธีการ    เครื่องมือ    เกณฑ์
1. ประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน/การทดลอง/ปฏิบัติกิจกรรม    แบบประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน    ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ขึ้นไป
2. ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของหน่วยการเรียนรู้    แบบทดสอบ    ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ขึ้นไป
3. สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล/สังเกตพฤติกรรม
การทำงานกลุ่ม/คุณลักษณะ
อันพึงประสงค์    แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล /แบบสังเกตพฤติกรรม
การทำงานกลุ่ม /แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์    ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

6. กิจกรรมการเรียนรู้
ใช้เทคนิคการสอนแบบบรรยาย (เพื่อเฝ้าระวังการแพร่เชื้อไวรัสโคโรน่า 2019) แบบ 5Es Instructional Model
ชั่วโมงที่ 1

        1. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง พันธุกรรม เพื่อประเมินความรู้ของนักเรียน
        2. ตั้งคำถามเพื่อพัฒนาการคิดของนักเรียน

ชั่วโมงที่ 2-3
        1. ให้นักเรียนทำกิจกรรม โครงสร้างสารที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม จากหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.3 เล่ม 1
        2. นักเรียนศึกษาแผนภาพจำนวนโครโมโซมก่อนและหลังการปฏิสนธิ แล้วสุ่มเรียกนักเรียน 2-3 คน ออกมาอธิบายหน้าชั้นเรียนโดยครูคอยเสริมข้อมูลเพิ่มเติม
        3. ให้นักเรียนจับคู่กัน ร่วมกันสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างของโครโมโซมจากหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.3 เล่ม 1 หน่วยที่ 2 เรื่อง โครโมโซม ดีเอ็นเอ และยีน หรือ อินเทอร์เน็ต แล้วทำกิจกรรมสร้างแบบจำลองโครโมโซม จากวัสดุที่ครูเตรียมให้
        4. สุ่มนักเรียนแต่ละคู่นำเสนอผลการทำกิจกรรม
        5. นักเรียนฟังครูอธิบาย เรื่อง ยีน ดีเอ็นเอ และโครโมโซม
        6. นักเรียนทำแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.3 เล่ม 1

ชั่วโมงที่ 4-5
        1. ครูให้นักเรียนสำรวจตนเอง และถามคำถามนักเรียน ต่อไปนี้
            1.1 นักเรียนคนใดมีหนังตา 2 ชั้นบ้างให้ยกมือขึ้น
            1.2 นักเรียนคนใดมีหนังตาชั้นเดียวบ้างให้ยกมือขึ้น
        2. ครูแจกใบงานที่ 1.1 เรื่อง การศึกษาพันธุศาสตร์ของเมนเดล ให้นักเรียนก่อนเริ่มเข้าสู่บทเรียน
        3. ให้นักเรียนศึกษาคำชี้แจงและตอบคำถามลงในใบงานตอนที่ 1 เพื่อทดสอบความรู้ก่อนเข้าสู่บทเรียน
        4. ให้นักเรียนศึกษาประวัติของเกรกอร์ โยฮันน์ เมนเดล พอสังเขปจากใบงานในตอนที่ 2 โดยครูใช้เทคนิคบรรยายร่วมกับการฉายภาพนำเสนอจาก PowerPoint ประกอบการสอนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.3 เล่ม 1 หน่วยที่ 1 พันธุกรรม
        5. หลังจากครูบรรยายประวัติของเกรกอร์ โยฮันน์ เมนเดลจบแล้ว เพื่อให้นักเรียนมีสมาธิในการฟังและเรียนรู้ไปอย่างพร้อมเพียงกัน ครูให้นักเรียนเติมคำตอบลงในช่องว่างในใบงาน ตอนที่ 2 ให้สมบูรณ์
        6. ให้นักเรียนศึกษาภาพขั้นตอนการทดลองของเมนเดลจากใบงานในตอนที่ 3
        7. ครูอธิบายแบบจำลองของครูที่ถูกต้องให้กับนักเรียนได้สร้างความรู้ความเข้าใจ

ชั่วโมงที่ 7
        1. นักเรียนฟังครูอธิบายเรื่อง การศึกษาพันธุศาสตร์ของเมนเดล
        2. นักเรียนทำใบงานที่ 1.1 ตอนที่ 4
        3. ตรวจสอบความรู้หลังเรียนในใบงานที่ 1.1 ตอนที่ 4 หากนักเรียนคนใดได้คะแนนต่ำกว่าคะแนนในตอนที่ 1 ให้นักเรียนทบทวนเนื้อหาใหม่อีกครั้ง
        4. ให้นักเรียนตอบคำถาม ในหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.3 เล่ม 1 หน่วยที่ 1 เรื่อง การศึกษาพันธุศาสตร์ของเมนเดล โดยให้นักเรียนเขียนคำตอบลงในสมุดประจำตัวนักเรียน แล้วครูตรวจสมุดประจำตัวนักเรียน

ชั่วโมงที่ 8
        1. นักเรียนดูภาพฮอมอโลกัสโครโมโซมแล้วร่วมกันตอบคำถาม
        2. นักเรียนจับคู่สร้างแบบจำลองฮอมอโลกัสโครโมโซมกับเพื่อน
    3. ครูสุ่มเรียกนักเรียน 2-3 คู่ ออกมานำเสนอแบบจำลองและผลจากการอภิปรายร่วมกัน
    4. ครูอธิบายการเข้าคู่กันของยีน เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับนักเรียน
    5. ให้นักเรียนจับคู่ ทำกิจกรรมศึกษา โอกาสการเข้าคู่ของยีน ตัวอย่างการคำนวนหาจีโนไทป์และฟีโนไทป์จากการผสมพ่อและแม่พันธุ์ที่มีจีโนไทป์แตกต่างกัน จากหนังสือเรียนและอินเตอร์เน็ต
6. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายผลกิจกรรม

ชั่วโมงที่ 9-10

7. ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.3 เล่ม 1 หน่วยที่ 1 พันธุกรรม
8. กำหนดปัญหาเกี่ยวกับหนูทดลองที่นิยมนำมาใช้ทดลองในห้องปฏิบัติการ โดยครูจำลองเหตุการณ์ ให้นักเรียนวางแผนผสมพันธุ์หนูทดลองให้ได้ลูกที่มีขนสีดำพันธุ์ทาง และลูกหนูขนสีขาวในคอกเดียวกัน ให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาเรื่อง การศึกษาพันธุศาสตร์ของเมนเดล และการถ่ายทอดยีนบนโครโมโซมมาออกแบบ วิเคราะห์ว่า พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ควรมีจีโนไทป์แบบใด โดยวาดแผนผังการถ่ายทอดยีนของหนูทดลองลงในกระดาษ A4 คำนวณอัตราส่วนของจีโนไทป์และฟีโนไทป์ โดยให้นักเรียนออกแบบเอง
9. นักเรียนและครูร่วมกันสรุป เรื่อง พันธุกรรม


ชั่วโมงที่ 10
กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ : Thinking School
Do Now
1. “น้องนอนไม่หลับ หัวใจมันระสับกระส่าย” ลองคิดดูสิว่า การนอนไม่หลับ จะเกิดอะไรขึ้น (ตั้งคำถามเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเรียนรู้)
Purpose
2. ครูแจ้งผลการเรียนรู้ว่าวันนี้เราจะมาเรียนรู้ เรื่อง การแบ่งเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเมื่อนักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจอย่างถูกต้องแล้วจะสามารถอธิบายและนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Work Mode
3. ครูแจกใบงานที่ 1.2 เรื่อง การแบ่งเซลล์ของสิ่งมีชีวิต แล้วให้นักเรียนแต่ละคนตรวจสอบความรู้ของตนเอง โดยให้นักเรียนทำใบงานในตอนที่ 1
4. ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลและศึกษากระบวนการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส จากหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.3 เล่ม 1 เรื่อง การแบ่งเซลล์ของสิ่งมีชีวิต หรือจาก QR code เรื่อง การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
5. ให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนแลกเปลี่ยนความรู้ และอภิปรายเกี่ยวกับการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส จากนั้นให้นักเรียนลงมือทำใบงานที่ 1.2 ในตอนที่ 2
6. ให้นักเรียนจับคู่ทำกิจกรรม ศึกษาการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสของเซลล์รากหอม แล้วเปรียบเทียบภาพที่เห็นภายใต้กล้องจุลทรรศน์กับใบงานที่ 1.2 ตอนที่ 2 เพื่อให้นักเรียนเห็นภาพสมจริงของการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
7. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายผลที่ได้จากการทำกิจกรรม
Reflective Thinking
8. ครูถามคำถามท้ายกิจกรรม เพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจของนักเรียนที่เกิดจากกระบวนการเรียนรู้

ชั่วโมงที่ 11-12
DO Now





1. นักเรียนคิดอย่างไรกับภาพนี้

Purpose
    2. ครูแจ้งผลการเรียนรู้ว่าวันนี้เราจะมาเรียนรู้ เรื่อง การแบ่งเซลล์ของสิ่งมีชีวิต ต่อจากคาบเรียนที่ผ่านมาซึ่งเมือนักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจอย่างถูกต้องแล้วจะสามารถอธิบายและนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Work Mode
    3. ให้นักเรียนทำใบงานที่ 1.2 ในตอนที่ 4
        4. นักเรียนและครูร่วมกันอภิปราย เรื่อง การแบ่งเซลล์ของสิ่งมีชีวิต โดยให้นักเรียนทำใบงานที่ 1.3 เรื่อง การแบ่งเซลล์ของสิ่งมีชีวิต โดยใช้เครื่องมือช่วยคิด Compare and contrast
Reflective Thinking
    5. ครูถามทบทวน นักเรียนได้รับความรู้อะไรบ้างจากการเรียนคาบนี้
    6. ให้นักเรียนตอบคำถามเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ
        การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไร
    ก. ทำให้สิ่งมีชีวิตมีการเจริญเติบโต
    ข. ทำให้มีเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์ที่ชำรุด
        ค. ทำให้สิ่งมีชีวิตมีจำนวนโครโมโซมคงที่ในทุกรุ่น
        ง. ทำให้เกิดการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์ 2 เพศ

ชั่วโมงที่ 13
    1. ให้นักเรียนดูแผนภาพโรคที่เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมแล้วถามว่านักเรียนเคยเห็นบุคคลที่มีลักษณะอาการอย่างนี้หรือไม่
    2. ให้นักเรียนศึกษาหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.3 เล่ม 1 หน่วยการเรียนรู้ 2 พันธุกรรม เรื่อง ความผิดปกติทางพันธุกรรมอภิปรายผลกิจกรรมพร้อมกัน

ชั่วโมงที่ 14-15
    1. ครูแจกใบงานที่ 1.4 เรื่อง โรคทางพันธุกรรม ศึกษาคำชี้แจงในตอนที่ 1 แล้วให้นักเรียนตรวจสอบความรู้ของตนเองก่อนเข้าสู่บทเรียน
    4. ครูเตรียมสลากมา 3 ใบ ได้แก่ ใบที่ 1 โครโมโซมร่างกาย ใบที่ 2 โครโมโซมเพศ และใบที่ 3 ยีน
    5. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม แล้วให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนกลุ่มออกมาจับสลาก
    6. ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติตามสลากที่ตัวแทนกลุ่มของตนเองจับสลากได้ โดยให้สมาชิกภายในกลุ่มแบ่งภาระและหน้าที่รับผิดชอบในการสืบค้นข้อมูลจากหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.3 เล่ม 1 หรืออินเทอร์เน็ต
    7. ให้นักเรียนเขียนสรุป เรื่อง โรคทางพันธุกรรม ลงในกระดาษ A4 เพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียน
    8. ครูอธิบายเพิ่มเติม เรื่อง ความผิดปกติทางพันธุกรรม
    9. ครูให้นักเรียนศึกษาคำชี้แจงและลงมือทำใบงานที่ 1.4 ในตอนที่ 2-3
    10 ให้นักเรียนทำชิ้นงาน Diagram เรื่อง โรคทางพันธุกรรม









ชั่วโมงที่ 16
1. นักเรียนดูวิดีทัศน์เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม เรื่อง What Is a Genetically Modified Food ? จาก Youtube เว็บไซต์ https://www.youtube.com/watch?v=JMPE5wlB3Zk
2. นักเรียนศึกษาภาพการดัดแปรพันธุกรรมของหนูทดลองแล้วลองให้นักเรียนพิจารณาว่าจะนำยีนเรืองแสงของสิ่งมีชีวิตใดมาตัดต่อพันธุกรรมให้กับหนู
3. ให้นักเรียนเล่นเกมรวมเงินเพื่อแบ่งกลุ่มนักเรียน ทำกิจกรรม สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม แล้วรวบรวมข้อมูลแล้วอาจให้นักเรียนสรุปข้อมูลลงในกระดาษ A4 หรือรูปแบบอื่น เรื่อง สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม พร้อมนำเสนอหน้าชั้นเรียน โดยมีประเด็นในการนำเสนอ ดังนี้
- สิ่งมีชีวิตที่นำมาดัดแปรพันธุกรรมคืออะไร
- ประโยชน์และโทษจากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
ชั่วโมงที่ 17-18
1. ครูสุ่มเรียกตัวแทนกลุ่ม กลุ่มละ 2 คน ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
ให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนศึกษาเกี่ยวกับประเด็นการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
2. ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม
3. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์หรือนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาเรื่อง สิ่งแวดล้อมดัดแปรพันธุกรรมมาโต้วาทีภายใต้ญัตติ ควรให้มีการปลูกและวางจำหน่ายแอปเปิล GMOs หรือไม่ โดยให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นลงในสมุดประจำตัวนักเรียน
4. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พันธุกรรม
6. นักเรียนทำชิ้นงาน แผนผังมโนทัศน์ เรื่อง ระบบนิเวศ ลงในกระดาษ A4 พร้อมตกแต่งให้สวยงาม

7. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
7.1    สื่อการเรียนรู้
7.1.1 หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.3 เล่ม 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พันธุกรรม
7.1.2 แบบฝึกหัดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.3 เล่ม 1 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พันธุกรรม
7.1.3 อุปกรณ์ที่ใช้ทำกิจกรรม สร้างแบบจำลองโครโมโซม
7.1.4 แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พันธุกรรม
7.1.5 แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 พันธุกรรม
7.1.6 ใบงานที่ 1.1 เรื่อง การศึกษาพันธุศาสตร์ของเมนเดล
                       7.1.7 ใบงานที่ 1.2 เรื่อง การแบ่งเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
    7.1.8 ใบงานที่ 1.3 เรื่อง การแบ่งเซลล์ของสิ่งมีชีวิต โดยใช้เครื่องมือช่วยคิด Compare and contrast
         7.1.9 ใบงานที่ 1.4 เรื่อง โรคทางพันธุกรรม
                       7.1.10 Diagram เรื่อง โรคทางพันธุกรรม
                    7.1.11 ภาพการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต
                     7.1.12 อุปกรณ์สร้างแบบจำลองยีนบนโครโมโซม เช่น หลอดกาแฟ ยางรัดผม

        7.2 แหล่งการเรียนรู้
         7.2.1 ห้องสมุด
        7.2.2 อินเทอร์เน็ต

8. สรุปผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
    8.1 ด้านความรู้ (K)
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
    8.2 ด้านทักษะ (P)    
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

    8.3 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
    8.4 ด้านมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

ลงชื่อ             ผู้สอน
                         (นางรจนา แสงสุธา)
                             ตำแหน่ง ครู
ติดต่อองค์ประกอบการออกแบบหน่วยสมบูรณ์ ที่ krooannjung@gmail.com
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^