การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหน้าวัง
ชื่อผู้ประเมิน : นายพนัสพงษ์ ผลอ่อน ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการ
โรงเรียนบ้านหน้าวัง อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2563
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหน้าวัง อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง มีวัตุประสงค์เพื่อประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหน้าวัง โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ทั้งนี้ประชากรในการวิจัยประเมินโครงการครั้งนี้ จำนวน 113 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 9 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 56 คน ผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองระดับห้องเรียน จำนวน 40 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง(Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสอบถามการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหน้าวัง จำนวน 47 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น(Reliability) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 2) แบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับนักเรียนเป็นผู้ประเมิน จำนวน 15 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้ง(Reliability) ฉบับเท่ากับ 0.90 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับผู้ปกครองเป็นผู้ประเมิน จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 ทั้งนี้ทำการประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ โดยใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (μ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () ทั้งนี้ผลการประเมินโครงการโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) พบว่า ในภาพรวมทุกด้านผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
ผลการประเมินโครงการสรุปได้ดังนี้
1.ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหน้าวัง ในภาพรวมพบว่า ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (μ= 4.65, =0.46) เมื่อพิจารณาผลการประเมินจำแนกรายด้าน 5 ด้าน พบว่า (1) การประเมินด้านบริบท พบว่าผลการประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด (μ= 4.60, =0.48) (2) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้าพบว่าผลการประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด (μ= 4.53, =0.40) (3) การประเมินด้านกระบวนการ พบว่าผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด (μ= 4.70, =0.47) (4) การประเมินด้านผลผลิต มีการประเมิน 2 ด้านคือ 1) คุณภาพของคุณลักษณะพึงประสงค์ของนักเรียน 2) ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนซึ่งประเมินโดย ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู และคณะกรรมการสถานศึกษา พบว่าในภาพรวมลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (μ= 4.56, =0.52) และความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด (μ= 4.76, =0.44) (5) การประเมินด้านผลกระทบ พบว่าผลการประเมิน อยู่ในระดับมากที่สุด (μ= 4.72, =0.43)
2. ผลประเมินความพึงพอใจของนักเรียน และผู้ปกครองที่มีต่อการดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหน้าวัง พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (μ= 4.17, =0.61) และผู้ปกครองมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (μ= 4.14, =0.63)
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
จากการศึกษาผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
1. ด้านความสอดคล้องของบริบท พบว่า การเข้ามาดำเนินกิจกรรมจากหน่วยงานภายนอกยังมีน้อย ควรมีการติดต่อประสานความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอกเข้ามาจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและป้องกันให้กับนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
2. ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า งบประมาณยังไม่เพียงพอต่อการดำเนินโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ควรมีการจัดหางบประมาณเพื่อสนับสนุนโครงการให้เพียงพอ
3. ด้านกระบวนการ พบว่า หน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมค่อนข้างน้อย ยังไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด ควรให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมโครงการ ควรมีการประชาสัมพันธ์ผลงานหรือกิจกรรมของโรงเรียนในสื่อสังคมออนไลน์ และกระจายโอกาสในการได้รับการช่วยเหลือนักเรียนในทุก ๆ ด้านอย่างทั่วถึง
4. ด้านผลผลิต พบว่า นักเรียนยังไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ตนเองในฐานะที่เป็นสมาชิกในครอบครัว ครูที่ปรึกษาควรให้คำปรึกษา แนะนำการปฏิบัติตนในการเป็นสมาชิกที่ดีต่อครอบครัว
5. ด้านผลกระทบ พบว่า ผู้ปกครองไม่มีเวลาในการเอาใจใส่บุตรหลานเท่าที่ควร อาจเป็นเพราะผู้ปกครองต้องทำงานหาเลี้ยงครอบครัว ครูที่ปรึกษาควรสังเกตพฤติกรรมนักเรียนเป็นรายบุคคลอย่างใกล้ชิด
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรนำผลที่ได้จากการประเมินครั้งนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการประเมิน เพื่อพัฒนารูปแบบในการจัดกิจกรรมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เหมาะสมตามสภาพโรงเรียน
2. ควรมีการเปรียบเทียบผลการดำเนินโครงการเกี่ยวกับระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนอื่น ๆ เพื่อนำข้อดีและข้อบกพร่องของการจัดกิจกรรมในแต่ละโรงเรียนมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินโครงการต่อไป