การประเมินโครงการการพัฒนาและการใช้หลักสูตรท้องถิ่น สำหรับโรงเรีย
ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดอุดรธานี
ระยะเวลา พฤษภาคม 2563 - มีนาคม 2564
ปีที่พิมพ์ 2564
การประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการประเมิน 1) เพื่อประเมินโครงการการพัฒนาและการใช้หลักสูตรท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 2) เพื่อสอบถามความพึงพอใจการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการการพัฒนาและการใช้หลักสูตรท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 3) เพื่อสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อโครงการการพัฒนาและการใช้หลักสูตรท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1. ผลการประเมินโครงการการพัฒนาและการใช้หลักสูตรท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน และระดับมาก 2 ด้าน เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ด้านกระบวนการ (Process) 2) ด้านผลผลิต (Product) 3) ด้านบริบท (Context) 4) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input)
2. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการการพัฒนาและการใช้หลักสูตรท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนมีความพึงพอใจการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการตามโครงการการพัฒนาและการใช้หลักสูตรท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน และระดับมาก 2 ด้าน เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ 2) ด้านเนื้อหา 3) ด้านวิทยากร 4) ด้านสถานที่/ระยะเวลา/อาหาร 5) ด้านการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
3. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนต่อโครงการการพัฒนาและการใช้หลักสูตรท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 10 ข้อ และระดับมาก 16 ข้อ เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ นักเรียนมีความสุขในการเรียน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนและครูผู้สอน รองลงมาคือ นักเรียนนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และมีความภาคภูมิใจ เห็นคุณค่า ชื่นชม และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ได้เข้าร่วมและฝึกปฏิบัติกิจกรรมตามหลักสูตรท้องถิ่นกับชุมชน