LASTEST NEWS

26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้

usericon

ชื่อเรื่อง     การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อ
ความเข้าใจโดยใช้บริบทท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย     ธนาพร สมรัตน์
ปีที่วิจัย     2563

บทคัดย่อ

    การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้บริบทท้องถิ่นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้บริบทท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้บริบทท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้บริบทท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจแของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้บริบทท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 จำนวน 30 คน ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้บริบทท้องถิ่น 2) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้บริบทท้องถิ่น 4) แบบประเมินแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้บริบทท้องถิ่น 5) แบบทดสอบการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้บริบทท้องถิ่น
    การดำเนินการวิจัยดำเนินตามขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา 4 ระยะ คือขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ในการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้บริบทท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วย สัมภาษณ์นักเรียน สัมภาษณ์ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สังเกตการจัดก ตอนที่ 2 การพัฒนา (Development) เป็นการสร้างและพัฒนาหาคุณภาพและประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาพัฒนาเป็นกรอบแนวคิดโครงร่างของรูปแบบการจัดการเรียรู้ ซึ่งสาระสำคัญของรูปแบบประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง 6) ระบบสนับสนุนและ 7) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้แล้วให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพของโครงร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบ ซึ่งได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แล้วนำไปทดลองใช้ (Tryout) กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบก่อน นำไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง ขั้นตอนที่ 3 การวิจัย (Research) เป็นการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้บริบทท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้นไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง โดยนำแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเป็นลำดับขั้นตอนไปใช้ในสภาพจริงกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 จำนวน 30 คน โดยใช้ระยะเวลา 14 ชั่วโมง โดยไม่รวมกับการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบรูปแบบ 7 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นำผลการทดลองมาวิเคราะห์ข้อมูลสรุปผลการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน โดยการทดสอบค่า t แบบไม่อิสระ(Dependent Samples) และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนา (Development) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้บริบทท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ขั้นตอนนี้เป็นหลังจากการทดลองใช้แสะศึกษาผลการใช้รูปแบบรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้บริบทท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 แล้ว การดำเนินการในระยะนี้จึงเป็นการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนหลังจากได้เรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติค่าทีแบบไม่อิสระ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยสรุปผลการวิจัย อภิปรายผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ ดังนี้
    ผลการวิจัยพบว่า
        1. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อ ความเข้าใจอยู่ในระดับต่ำ ส่วนสภาพการจัดการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจนั้นผู้สอนได้ใช้บทอ่านที่มีความหลากหลาย มีขั้นตอนการสอน 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นนำเสนอ ขั้นปฏิบัติและขั้นประเมินผล ผลการศึกษาแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ประกอบด้วย เอกสารเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้ หลักสูตร การอ่านและการสอนอ่านภาษาอังกฤษ และทฤษฎี การเรียนรู้
        2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้บริบทท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.56/79.75 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 ตามที่กำหนดไว้
        3. นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้บริบทท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์
การอ่านเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้บริบทท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจรายข้ออยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^