รายงานโครงการประกันคุณภาพภายในโดยใช้กิจกรรม “STEM”
ผู้รายงาน นายประนอม ไทยกรรณ์
ปีการศึกษา 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานโครงการประกันคุณภาพภายใน โดยใช้กิจกรรม“STEM” โรงเรียนบ้านปงแพ่ง ปีการศึกษา 2563 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ลำปาง เขต 2 โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อรายงานผลการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายใน โดยใช้กิจกรรม“STEM”โรงเรียนบ้านปงแพ่ง ปีการศึกษา 2563 2) เพื่อรายงานความพึงพอใจของ นักเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายใน โดยใช้กิจกรรม“STEM” โรงเรียนบ้านปงแพ่ง ปีการศึกษา 2563
ประชากรที่ใช้ในการดำเนินงาน ประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านปงแพ่ง ปีการศึกษา 2563 จำนวน 20 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sample) ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านปงแพ่ง จำนวน 79 คน การดำเนินโครงการประกันคุณภาพภายใน โดยใช้กิจกรรม“STEM”โรงเรียนบ้านปงแพ่ง ปีการศึกษา 2563 ได้ดำเนินการบริหารงานตามวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง (Demings Cycle : PDCA) ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการวางแผน (Plan : P) การปฏิบัติ (Do : D) การตรวจสอบ (Check : C) และการปรับปรุงแก้ไข ( Act : A) โดยโรงเรียนบ้านปงแพ่งได้ดำเนินโครงการประกันคุณภาพภายใน ตามกฎกระทรวง 2561 จำนวน 6 องค์ประกอบดังนี้ 1) การกำหนดมาตรฐานการศึกษา ของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด 2) จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา3) ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ 4) จัดให้มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 5) ติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา 6) จัดส่งรายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัด ในขั้นตอนการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน โรงเรียนบ้านปงแพ่งดำเนินการโดยใช้กิจกรรม “STEM ”โดยสอดรับกับมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา และมาตรฐานการศึกษาชาติ ได้แก่กิจกรรมดังต่อไปนี้ 1) S:Student Quality หมายถึงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพเป็นกิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมาย ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมในทุกด้านเพื่อให้มีความสามารถในการเรียนรู้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลโดยทางโรงเรียนได้ดำเนินกิจกรรมแบ่งเป็น 2 ด้าน ได้แก่การพัฒนาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และกาพัฒนาด้านคุณลัษณะอันพึงประสงค์ การพัฒนาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทางโรงเรียนบ้านปงแพ่งได้ดำเนินกิจกรรม ดังนี้ ด้านคุณภาพเด็ก(1) ส่งเสริม จัดกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย (2) ส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนปฐมวัย (3) กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (4) จิตอาสาน้อย ด้านคุณภาพผู้เรียน (1) พัฒนาทักษะการอ่านคล่อง/เขียนคล่อง/คิดเลขคล่อง (2) สอนซ่อมเสริมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน/การทดสอบระดับชาติ (3) ส่งเสริมความเป็นเลิศด้านทักษะวิชาการ การพัฒนาด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ทางโรงเรียนบ้านปงแพ่งได้ดำเนินกิจกรรมดังนี้ (1) กิจกรรมวันสำคัญ (2) กีฬาภายใน/กีฬาภายนอก (3) กิจกรรมต่อต้านยาเสพติด (4) หนูน้อยสุขภาพดี (5) ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ๖6) กิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตย และสภานักเรียน (7) กิจกรรมครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน (8) กิจกรรมค่ายคุณธรรม “ดอกบัวบานที่ปงแพ่ง”(9) กิจกรรมทำบุญตักบาตรทุกวันพระและวันสำคัญ (10)กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี (11) กิจกรรมจิตอาสา (12) กิจกรรมครูแดร์ (DARE) (13) กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพประจำปี (14) ตรวจสุขภาพประจำภาคเรียนจาก รพ.สต.บ้านปงป่าป๋อ (15)การส่งเสริมทักษะทางด้านดนตรี กีฬา นาฏศิลป์ (16) กิจกรรมชุมนุม (17)กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ (18)กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (19)กิจกรรม ดีเจน้อยสร้างสรรค์ 2) T:Teacher Quality หมายถึง กิจกรรมพัฒนาครู บุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพเป็นกิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาครูให้มีความมีความรู้ความสามารถ เทคนิค วิธีการในการจัดการเรียนรู้ การวัดผล ประเมินผล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ทางโรงเรียนบ้าน ปงแพ่ง ได้ดำเนินกิจกรรมดังนี้ (1) อบรม/พัฒนาเพื่อส่งเสริมศักยภาพครูปฐมวัย/ขั้นพื้นฐาน สู่ครูมืออาชีพ(2) ศึกษาดูงานเพื่อเพิ่มวิสัยทัศน์และสมรรถนะการปฏิบัติงาน (3) กิจกรรมประชุมประจำเดือนและ กิจกรรม PLC (4) พัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอน (5) พัฒนาห้องเรียนคุณภาพ สรรหาครู ในสาขาวิชาที่สำคัญ/ขาดแคลน 3) E:Environmental Quality หมายถึงกิจกรรมพัฒนาสภาพแวดล้อมให้มีคุณภาพ เป็นกิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนา ปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เพียงพอ เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ สร้างบรรยากาศในการเรียนให้ดีขึ้น และสนองต่อความต้องการของผู้เรียนทางโรงเรียนบ้านปงแพ่งได้ดำเนินกิจกรรมดังนี้ (1) สร้างปรับปรุงสนามเด็กเล่นปฐมวัย (2) ปรับปรุงห้องเรียนปฐมวัย (3) ปรับปรุงห้องสมุด (4) ปรับปรุงห้องน้ำห้องส้วม (5) ปรับปรุงโรงอาหาร (6) ปรับปรุงห้องพยาบาล (7) พัฒนาปรับปรุงอาคารสถานเรียน/อาคารประกอบ (8) จัดหาคอมพิวเตอร์ในการศึกษาค้นคว้า (9) พัฒนาระบบอินเตอร์เน็ต (10) สร้าง/ปรับปรุงลานเรียนรู้ (11) สร้างปรับปรุงสระว่ายน้ำ/สนามเด็กเล่นขั้นพื้นฐาน (12) พัฒนาปรับปรุงระบบไฟฟ้า (13)ปรับปรุงภูมิทัศน์ภายใน 4) M:Management Quality หมายถึง กิจกรรมพัฒนาการบริหารให้มีคุณภาพ เป็นกิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนากระบวนการบริหารด้านงานวิชาการ งานงบประมาณ งานบุคลากร และงานบริหารทั่วไปให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน (1) จัดทำโครงสร้างการบริหารงาน ในสถานศึกษาตามกฎหมาย (2)พัฒนาระบบงานวิชาการ งานบุคคล งานงบประมาณฯ งานบริหารทั่วไป และงานกิจการนักเรียน (3) จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่มีคุณภาพ (4) พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรปฐมวัย/ขั้นพื้นฐาน (5) ระดมทรัพยากร เพื่อการบริหารสถานศึกษา (ผ้าป่าวันแม่/ผ้าป่าศิษย์เก่า/บริจาค) (6) พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน (7) พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (8)การสรรหาครูให้ครบชั้น และสาขาวิชาที่สำคัญ โดยโรงเรียนบ้านปงแพ่งได้ดำเนินการประกันคุณภาพภายในตามองค์ประกอบที่กระทรวงกำหนด และเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา ของสถานศึกษา และมาตรฐานการศึกษาชาติ โดยสอดรับกับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู ที่มีต่อการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายใน โดยใช้กิจกรรม“STEM” จำนวน 1 ฉบับ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีต่อผลการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายใน โดยใช้กิจกรรม“STEM” จำนวน 1 ฉบับ และ 3)แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนมีต่อการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายใน โดยใช้กิจกรรม“STEM”จำนวน 1 ฉบับ และผลการดำเนินโครงการสามารถสรุปผลได้ดังนี้
1. ผลการดำเนินโครงการประกันคุณภาพภายในโดยใช้กิจกรรม “STEM”โรงเรียน บ้านปงแพ่ง ปีการศึกษา 2563 พบว่า ในภาพรวมการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายในโดยใช้กิจกรรม“STEM” โรงเรียนบ้านปงแพ่ง ปีการศึกษา 2563 อยู่ในระดับมาก(=4.50,=0.54 ) เมื่อแยกเป็นรายองค์ประกอบ พบว่าการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายในตามองค์ประกอบที่ 1 การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษามีการดำเนินการอยู่ในระดับมากที่สุด(=4.62,=0.53 ) การดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายในตามองค์ประกอบที่ 2 จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก (=4.50,=0.55 ) การดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายในตามองค์ประกอบที่ 3 การดำเนินกิจกรรม“STEM”ตามแผนที่กำหนดไว้ อยู่ในระดับมากที่สุด(=4.540,=0.50 ) เมื่อแยกรายกิจกรรมพบว่ากิจกรรมข้อ 1 การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน(S:Student Quality) มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด(=4.85,=0.38 ) รองลงมาได้แก่ข้อที่ 3 การพัฒนาคุณภาพสภาพแวดล้อม(E:Environmental Quality) มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด(=4.77,=0.44 ) ลำดับที่ 3 ข้อ 2 การพัฒนาการพัฒนาคุณภาพครู (T:Teacher Quality ) มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก(=4.38,=0.51 ) และลำดับที่ 4 ข้อที่การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการ (M:Management Quality)มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก(=4.31,=0.48 ) การดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายในตามองค์ประกอบที่ 4 การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับมาก(=4.31,=0.60 ) การดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายในตามองค์ประกอบที่ 5 ติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก(=4.31,=0.52 ) และการดำเนินงานโครงการประกันคุณภาพภายในตามองค์ประกอบที่ 6 รายงานผลการประเมินตนเองให้หน่วยงานต้นสังกัด อยู่ในระดับมากที่สุด(=4.56,=0.50 )
2. การดำเนินโครงการประกันคุณภาพภายในโดยใช้กิจกรรม “STEM” โรงเรียนบ้านปงแพ่ง ปีการศึกษา 2563 พบว่า ความพึงพอใจของครู และบุคลากรทางการศึกษา ต่อการดำเนินโครงการประกันคุณภาพภายใน ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก(=4.35,=0.62)ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการประกันคุณภาพภายในโดยใช้กิจกรรม “STEM” โรงเรียนบ้านปงแพ่ง ปีการศึกษา 2563 อยู่ในระดับมากที่สุด(=4.61,=0.53) ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการดำเนินโครงการประกันคุณภาพภายในโดยใช้กิจกรรม “STEM” โรงเรียนบ้านปงแพ่ง ปีการศึกษา 2563 อยู่ในระดับมาก( =4.45, =0.68 ) และความพึงพอใจของนักเรียนต่อการดำเนินโครงการประกันคุณภาพภายในโดยใช้กิจกรรม “STEM” โรงเรียนบ้านปงแพ่ง ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =4.28, =0.58)