การเรียนกลุ่มร่วมมือเทคนิคCIRCด้วยเกมปริศนาคำทาย_ครูวรินทร์ทิพย์
ชื่อวิจัย: การจัดการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาการอ่าน
และเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
โดยใช้เกมปริศนาคำทาย
ผู้วิจัย วิรินทร์ทิพย์ สุขชัยทิศ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบางคูลัด
อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี สังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี
ปีที่วิจัย 2563
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย คือ (1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาการอ่าน และเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เกมปริศนาคำทาย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางภาษาการอ่านและเขียนสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC โดยใช้ เกมปริศนาคำทาย และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาการอ่าน และเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เกมปริศนาคำทาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนบางคูลัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 37 คน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือ เทคนิค CIRC เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาการอ่านและเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประกอบการใช้เกมปริศนาคำทาย จำนวน 25 ชั่วโมง (2) ชุดเกมปริศนาคำทาย เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาการอ่านและเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 25 เล่ม (3) แบบทดสอบทักษะทางภาษาการอ่านและการเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.989 และ (4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้การจัด การเรียนรู้กลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาการอ่านและเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เกมปริศนาคำทาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที่ใช้ทดสอบที (t-test Dependent sample)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาการอ่านและเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เกมปริศนาคำทาย เท่ากับ 85.67/80.00, 85.67/88.89, 88.77/84.67 และ 85.66/84.32 ตามลำดับ
2. ทักษะทางภาษาการอ่านและและเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC โดยใช้เกมปริศนาคำทาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้กลุ่มร่วมมือเทคนิค CIRC เพื่อพัฒนา ทักษะทางภาษาการอ่านและเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 โดยใช้เกมปริศนาคำทาย อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar=2.82, S.D=0.34)