การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมการมีส่
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านห้วยทราย และ 2) ศึกษาผลการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านห้วยทราย กลุ่มเป้าหมายในการจัดการศึกษาตามระบบประกันคุณภาพการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านห้วยทราย กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ 1) ผู้บริหาร และครูโรงเรียนบ้านห้วยทราย จำนวน 10 คน จากการเลือกแบบเจาะจง 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านห้วยทราย จำนวน 5 คน จากการเลือกแบบเจาะจง 3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยทราย ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 20 คน จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, 2546) 4) ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านห้วยทราย ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 96 คน (Yamane, 1973, p 125) จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) (สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, 2546) โดยใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยใช้กรอบการพัฒนาระบบแบบ The System Development Life Cycle (SDLC) ประกอบด้วย การศึกษาระบบ การวิเคราะห์ระบบ การออกแบบระบบ การใช้ระบบ การบำรุงรักษาและการทบทวนระบบ ใช้การดำเนินงานวิจัยตามแนวคิดของเดมิ่ง (Deming, 1986) เรียกว่า วงจรเดมิ่ง (PDCA) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวางแผน (Plan) ขั้นปฏิบัติตามแผน (Do) ขั้นตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน (Check) และขั้นปรับปรุงแก้ไข (Act)
ผลการศึกษา พบว่า
1. การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านห้วยทราย ได้บรรลุกระบวนการทั้ง 5 ขั้นตอนในการพัฒนาระบบตามรูปแบบ SDLC โดยประกอบด้วย การศึกษาระบบ การวิเคราะห์ระบบ การออกแบบระบบ การใช้ระบบ การบำรุงรักษาและการทบทวนระบบ โดยมีการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ การระดมความคิดเห็นเพื่อกำหนดกระบวนการและวิธีการปฏิบัติของระบบประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งเพื่อสร้าง
องค์ความรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง มีการใช้ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาและรูปแบบการบริหารที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่พัฒนาตามรูปแบบวงจรเดมิ่ง มีการนิเทศกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ซึ่งพัฒนาความสำเร็จตามกรอบมาตรฐานการศึกษา
2. ผลการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของโรงเรียนบ้านห้วยทราย ทำให้คณะทำงานได้รับผิดชอบในการกำกับติดตามการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่นักเรียนของครูโดยมุ่งเน้นความสำเร็จตามกรอบมาตรฐานการศึกษา มีการตรวจแผนปฏิบัติการ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่นักเรียนด้วยความเอาใจใส่รับผิดชอบต่อภาระงานที่ได้รับมอบหมาย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยมุ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผลทำให้โรงเรียนผ่านการประเมินตามมาตรฐานการศึกษาอยู่ในระดับดี ผ่านการประเมินภายนอกรอบที่ 4 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)