การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษแบบมุ่งเน้นประสบการณ์ทางภาษา STAD
หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสาร
ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย อุทุมพร กะริอุณะ
โรงเรียน โรงเรียนเทศบาลพรเจริญ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลพรเจริญ
อำเภอพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. พัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษแบบมุ่งเน้นประสบการณ์ทางภาษา และหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 75/75 2. ศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษแบบมุ่งเน้นประสบการณ์ทางภาษา และหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2.1 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการสอนภาษาอังกฤษแบบมุ่งเน้นประสบการณ์ทางภาษา และหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2.2 ศึกษาความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษโดยใช้การเรียนรู้แบบแบบมุ่งเน้นประสบการณ์ทางภาษา และหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD นักเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมดมีคะแนนตั้งแต่ร้อยละ 75 ขึ้นไป 2.3 ศึกษาความพึงพอใจการจัดการเรียนรู้การสอนภาษาอังกฤษแบบมุ่งเน้นประสบการณ์ทางภาษา และ หลักการเรียนรูแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาลพรเจริญ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลพรเจริญ อำเภอพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 23 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบมุ่งเน้นประสบการณ์ทางภาษา และหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินความสามารถทักษะการสื่อสาร และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( x-bar ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของการจัดการสอนแบบมุ่งเน้นประสบการณ์ทางภาษา และหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.42/85.36 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 75/75 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2. ผลการใช้ผลการรูปแบบการสอนแบบมุ่งเน้นประสบการณ์ทางภาษา และหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน
โดยใช้แบบมุ่งเน้นประสบการณ์ทางภาษา และหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
2.2 ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีจำนวน นักเรียนทั้งหมดมีคะแนนในการสื่อสารภาษาอังกฤษคิดเป็นร้อยละ 83.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
2.3 ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการสอนแบบมุ่งเน้นประสบการณ์ทางภาษา และหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในระดับระดับมากที่สุด (x-bar =4.51, S.D. = 0.55)