การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษโดยวิธีการสอนที่เน้นภาระงานและโครง
ให้มีคุณภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษโดยวิธีการสอนที่เน้นภาระงานและโครงงานเพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดสว่างคงคา โดยเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของผู้เรียนก่อนและหลังการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น 3) ศึกษาพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนและความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 2 วัดสว่างคงคา ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้องเรียนโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษก่อนและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอน แบบทดสอบวัดทักษะความคิดสร้างสรรค์ ก่อน ระหว่างและหลังการใช้รูปแบบการเรียนการสอนและแบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่แบบไม่อิสระและแบบอิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษโดยวิธีการสอนที่เน้นภาระงานและโครงงานเพื่อพัฒนาการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและความคิดสร้างสรรค์นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีชื่อว่า “ PAPA Model” มีองค์ประกอบ 6 ประการคือ หลักการ เนื้อหา กิจกรรม บทบาทของผู้เรียน บทบาทผู้สอน และการจัดสภาพการเรียนรู้ กระบวนการเรียนการสอนมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมการรับภาระงาน (Preparation: P) 2) ขั้นวิเคราะห์และฝึกทักษะตามภาระงาน (Analysis: Reading task, Language Focus & Practice :A) 3) ขั้นสร้างโครงงาน และการนำเสนอโครงงาน (Project Creation :P) 4) ขั้นประเมินการนำเสนอโครงงานและความคิดสร้างสรรค์ของโครงงาน (Assessment of Creative Projects: A) โดยที่รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนามีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.08/ 82.22
2. หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน ( PAPA Model) กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .05
3. ความคิดสร้างสรรค์ของกลุ่มตัวอย่างหลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน (PAPA Model) มีพัฒนาการสูงขึ้น
4. ความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน (PAPA Model) โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก