เผยแพร่ผลงานวิชาการ
โรงเรียนวัดโคกขาม (นรสิงห์อนุสรณ์) ปีการศึกษา 2563
ชื่อผู้ประเมิน นายประการณ์ จันพุฒ
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวัดโคกขาม (นรสิงห์อนุสรณ์) ปีการศึกษา 2563 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ด้านผลผลิต (Product Evaluation) และด้านผลลัพธ์ (Outcome) ของโครงการโดยใช้รูปแบบการประเมิน โดยใช้รูปแบบการประเมินIPOO Model ของ สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (2528 : 200–209) มาเป็นรูปแบบในการประเมิน ประชากรที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย ครูผู้สอนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน รวมทั้งสิ้น จำนวน 794 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการประเมิน
1. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) เป็นการประเมินความเหมาะสม/พอเพียงของปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวัดโคกขาม (นรสสิงห์อนุสรณ์) ประกอบด้วย บุคลากร งบประมาณ สื่อวัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการผลการประเมินภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยตามลำดับ ได้แก่ ความเหมาะสมและความพร้อมด้านบุคลากร มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ความเหมาะสมและความพร้อมด้านสื่อและวัสดุอุปกรณ์ และความเหมาะสมด้านรูปแบบการบริหารจัดการ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือความเหมาะสมและความพร้อมด้านงบประมาณ
2. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process evaluation) เป็นการประเมินระดับการปฏิบัติ
ของกระบวนการดำเนินงานโครงการ ประกอบด้วย การวางแผน การดำเนินงาน การกำกับ นิเทศ และประเมินผล การปรับปรุงและพัฒนางาน ผลการประเมินภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยตามลำดับ ได้แก่ การปฏิบัติด้านการวางแผน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ การปฏิบัติด้านการกำกับ นิเทศ และประเมินผล และการปฏิบัติด้านการดำเนินงาน ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ การปฏิบัติด้านการปรับปรุงและพัฒนงาน
3. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Output evaluation) เป็นการประเมินคุณลักษณะนักเรียนด้านคุณธรรมจริยธรรม ผลการประเมินภาพรวมพบว่า คุณลักษณะนักเรียนด้านคุณธรรมจริยธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยตามลำดับ ได้แก่ ด้านความซื่อสัตย์สุจริตมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านความสุภาพ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านความประหยัด
4. ผลการประเมินด้านผลลัพธ์ (Outcome evaluation) เป็นการประเมินความพึงพอใจในผลการดำเนินงานโครงการ ผลการประเมินภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยตามลำดับ ได้แก่ นักเรียนได้รับความรู้และทักษะด้านคุณธรรม มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ นักเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ กิจกรรมของโครงการมีความหลากหลายและเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน