การประเมินโครงการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ฯ
การประเมินโครงการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนวัดเรือแข่ง(ประชาอุปถัมภ์) ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์ในการประเมินเพื่อประเมินสภาวะแวดล้อม ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการและผลผลิตของโครงการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปซ์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม ประชากรประกอบด้วย 1. นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 162 คน 2. ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 162 คน 3. ครูผู้สอนนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 8 คน 4. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน รวม 341 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 5 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามด้านสภาวะแวดล้อม เพื่อทราบเกี่ยวกับความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ สภาพปัจจุบัน ความต้องการจำเป็น ความเป็นประโยชน์และโอกาสการได้รับสนับสนุนในการจัดทำโครงการ ฉบับที่ 2 แบบสอบถามด้านปัจจัยเบื้องต้น เพื่อทราบระดับความเหมาะสมเกี่ยวกับความพร้อม ความเพียงพอของบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ การบริหารจัดการ และผู้สนับสนุนโครงการ ฉบับที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับด้านกระบวนการ เพื่อทราบระดับความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินการตามโครงการเกี่ยวกับการวางแผน การดำเนินงาน การติดตาม การประเมินผล และการนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาโครงการ ฉบับที่ 4 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับพฤติกรรมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา และฉบับที่ 5 แบบสอบถามด้านผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยผลการประเมินมีดังนี้
1. ผลการประเมินความเหมาะสมด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.56 , = 0.21) และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.62 , = 0.38) รองลงมา คือ ด้านความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.59 , = 0.18) และ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความต้องการจำเป็น อยู่ในระดับมาก (µ = 4.50, = 0.32) หลังการดำเนินโครงการทั้งโดยภาพรวมและรายข้อ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
2. ผลการประเมินความเหมาะสมด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ตามความเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.42, = 0.12 ) และ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านผู้สนับสนุนโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.57, = 0.23 ) รองลงมา คือ ด้านระยะเวลาในการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.53 , = 0.28) และ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านวัสดุอุปกรณ์ อยู่ในระดับมาก (µ = 4.21, = 0.31) หลังการดำเนินโครงการทั้งโดยภาพรวมและรายข้อ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
3. ผลการประเมินความเหมาะสมด้านกระบวนการของโครงการ ตามความเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.33, = 0.24) และ เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวางแผนการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมาก (µ = 4.39, = 0.27) รองลงมา คือ ด้านการติดตามและการประเมินผล อยู่ในระดับมาก (µ = 4.32, = 0.30 ) และ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการนำผลการประเมิน มาปรับปรุงและพัฒนา อยู่ในระดับมาก (µ = 4.29, = 0.31) หลังการดำเนินโครงการทั้ง โดยภาพรวมและรายข้อ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
4. ผลการประเมินคุณภาพด้านผลผลิต เกี่ยวกับพฤติกรรมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษาของนักเรียน ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวม มีค่าเฉลี่ยระดับคุณภาพอยู่ในระดับมาก (µ = 4.34, = 0.19 ) และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความสามารถในการสื่อสาร อยู่ในระดับมาก (µ = 4.39, = 0.23) รองลงมา คือ ด้านความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต อยู่ในระดับมาก (µ = 4.37, = 0.30) และ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยี อยู่ในระดับมาก (µ = 4.30, = 0.35) หลังการดำเนินโครงการ ทั้งโดยภาพรวมและรายข้อ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
5. ผลการประเมินคุณภาพด้านผลผลิต เกี่ยวกับระดับความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวม มีค่าเฉลี่ยระดับความ พึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.53, = 0.28) และเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ข้อที่ 1 ผู้บริหารให้ความสำคัญ ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะกาเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.65, = 0.48) รองลงมา คือ ข้อที่ 11 นักเรียนได้รับการส่งเสริมให้มีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์และคิดอย่างมีวิจารณญาณ อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.63, = 0.48) และ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ข้อที่ 20 นักเรียนได้รับการส่งเสริมให้เป็นผู้ที่มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตรงตามความต้องการของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมาก (µ = 4.37, = 0.57) หลังการดำเนินโครงการทั้งโดยภาพรวมและรายข้อ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด