LASTEST NEWS

26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ 26 พ.ย. 2567สพฐ.เล็งทำบัตรสุขภาพนักเรียนออนไลน์ 26 พ.ย. 2567ทำไมครูส่วนใหญ่ ไม่สนใจสมัครสอบเป็นศึกษานิเทศก์ 26 พ.ย. 2567ก.พ.ยังนิ่งปมทบทวนจ้างเหมาบริการ “ธนุ” ไม่รอแล้วสั่งทำสัญญาจ่ายเงิน ตามระเบียบกรมบัญชีกลาง 25 พ.ย. 2567ล 1932/2567 หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู และที่แก้ไขเพิ่มเติม 25 พ.ย. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย จำนวน 81 อัตรา - รายงานตัว 28 พ.ย. 2567 25 พ.ย. 2567สพป.สมุทรสาคร เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 14 อัตรา รายงานตัว 3 ธันวาคม 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนเมืองสุรินทร์ รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤศจิกายน 2567 24 พ.ย. 2567โรงเรียนบ้านระไซร์(เด่นพัฒนา) รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 7,000.- บาท  24 พ.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 11 อัตรา - รายงานตัว 4 ธันวาคม 2567

รูปแบบการบริหารโรงเรียนเทศบาลในลักษณะเครือข่ายชุมชน

usericon

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) องค์ประกอบของการบริหารโรงเรียนเทศบาลในลักษณะเครือข่ายชุมชน 2) ผลการยืนยันองค์ประกอบการบริหารโรงเรียนเทศบาลในลักษณะเครือข่ายชุมชน 3) เพื่อทราบรูปแบบการบริหารโรงเรียนเทศบาลในลักษณะเครือข่ายชุมชน 4) เพื่อทราบผลการยืนยันรูปแบบการบริหารโรงเรียนเทศบาลในลักษณะเครือข่ายชุมชน ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย เทศบาลนคร 3 แห่ง เทศบาลเมือง 9 แห่ง เทศบาลตำบล 19 แห่ง รวม 31 แห่ง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางประมาณการขนาดตัวอย่างของเครซี่และมอร์แกน ได้จำนวน 30 แห่ง โดยกำหนดผู้ให้ข้อมูลแห่งละ 4 คน ประกอบด้วย นายกเทศมนตรี ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา/กองการศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษาในสังกัดเทศบาล และประธานชุมชน รวมผู้ให้ข้อมูล 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์เนื้อหา    

ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบการบริหารโรงเรียนเทศบาลในลักษณะเครือข่ายชุมชนเป็นพหุองค์ประกอบมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย คือ 1.1) แหล่งเรียนรู้ 1.2) การสร้างทีมร่วมแรงร่วมใจ 1.3) การเสริมแรงจูงใจให้กับชุมชน 2) การศึกษาตลอดชีวิตมุ่งสู่ความเป็นเลิศ 3) การบริหารจัดการเชิงระบบ 4) การมีส่วนร่วมของชุมชน และ 5) การสร้างศักยภาพบุคลากรที่ยั่งยืน
2. ผลการยืนยันองค์ประกอบการบริหารโรงเรียนเทศบาลในลักษณะเครือข่ายชุมชน โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นสอดคล้องกันว่าองค์ประกอบการบริหารโรงเรียนเทศบาลในลักษณะเครือข่ายชุมชน มีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์
3. รูปแบบการบริหารโรงเรียนเทศบาลในลักษณะเครือข่ายชุมชน พบว่า เป็นรูปแบบความสัมพันธ์ของ 5 องค์ประกอบ โดยการบริหารจัดการเชิงระบบมีอิทธิพลโดยตรงต่อการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน, การศึกษาตลอดชีวิตมุ่งสู่ความเป็นเลิศ, การมีส่วนร่วมของชุมชน และมีอิทธิพลโดยอ้อมต่อการสร้างศักยภาพบุคลากรที่ยั่งยืน ส่วนการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชน, การศึกษาตลอดชีวิตมุ่งสู่ความเป็นเลิศ, การมีส่วนร่วมของชุมชนมีอิทธิพลโดยตรงต่อการสร้างศักยภาพบุคลากรที่ยั่งยืน
4. ผลการยืนยันรูปแบบการบริหารโรงเรียนเทศบาลในลักษณะเครือข่ายชุมชน
ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นสอดคล้องกันว่า มีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์

คำสำคัญ : โรงเรียนเทศบาล / การบริหารสถานศึกษา
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^