การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด CHR
ผู้วิจัย นางพิกุลทอง จันทอุตสาห์
หน่วยงาน โรงเรียนหนองโพธิ์วิทยาคม อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม องค์การบริหารส่วนจังหวัด
มหาสารคาม
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
ในการพัฒนาครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนาและสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด CHR ร่วมกับวิธีการสอนแบบ 5E และเทคนิค K-W-D-L เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด CHR ร่วมกับวิธีการสอนแบบ 5E และเทคนิค K-W-D-L เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 4) เพื่อประเมินความคิดเห็นของครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด CHR ร่วมกับวิธีการสอนแบบ 5E และเทคนิค K-W-D-L เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะตามความมุ่งหมายของการวิจัย ได้แก่ ระยะที่ 1 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 20 คน และผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ที่มีผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ด้านการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ระยะที่ 2 กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และรองผู้บริหารฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอนคณิตศาสตร์ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ระยะที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) กลุ่มควบคุมเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบปกติ จำนวน 19 คน 2) กลุ่มทดลองเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 ได้จัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิด CHR ร่วมกับวิธีการสอนแบบ 5E และเทคนิค K-W-D-L จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น จำนวน 14 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.29-0.76 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 แบบทดสอบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.39-0.66 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 และแบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.45-0.76 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 ระยะที่ 4 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ จำนวน 20 คน จาก 20 โรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นที่ต่อมีรูปแบบการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test (Independent system)
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. สภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.81) และความต้องการในการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนคณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.53)
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด CHR ร่วมกับวิธีการสอนแบบ 5E และเทคนิค K-W-D-L เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีองค์ประกอบที่พัฒนาขึ้น 6 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนรู้ 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง และ 6) ระบบสนับสนุน มีขั้นตอนในการดำเนินการจัดกิจกรรม 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียม ความพร้อมสำหรับการเรียนรู้ (Preparing : P) ขั้นที่ 2 ขั้นนำเสนอเนื้อหาหรือสร้างสถานการณ์ (Presentation : P) ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติการเรียนรู้ (Action of Learning : A) ขั้นที่ 4 ขั้นสรุปบทเรียน (Lesson Summary : L) ขั้นที่ 5 ขั้นการประเมินผล (Assessment Stage : A) ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ มีคุณภาพเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินประสิทธิผลตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด CHR ร่วมกับวิธีการสอนแบบ 5E และเทคนิค K-W-D-L เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ผลที่ปรากฏดังนี้
3.1 ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.79/83.04
3.2 ผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนระหว่างกลุ่มทดลองและ กลุ่มควบคุม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุม
3.3 ผลการทดสอบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุม
3.4 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ โดยรวมและเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก
4. ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีความคิดเห็นต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด