ชื่องานวิจัย การพัฒนาการนิเทศภายในของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล
ผู้วิจัย นายไพฑูรย์ พั้วป้อง
ปีวิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานการนิเทศภายในของโรงเรียนระดับประถมศึกษาสังกัดเทศบาล 2) เพื่อสร้างและหาคุณภาพกระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล 3) เพื่อทดลองใช้กระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้รับการนิเทศที่มีต่อการพัฒนาการนิเทศภายในของโรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมงคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ครูผู้สอนระดับประถมศึกษา ปีการศึกษา 2562 จำนวน 25 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการการวิจัยประกอบด้วย คู่มือการนิเทศภายใน แบบสอบถาม แบบประเมินการนิเทศภายใน และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการ หาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการนิเทศภายในของโรงเรียนระดับประถมศึกษาจากแบบสอบถามเพื่อการวิจัยการนิเทศภายในโรงเรียน พบว่า ปัญหาโดยภาพรวมไม่มีผู้นิเทศทำให้ขาดการวางแผนและการพัฒนากระบวนการนิเทศ
2. ผลการสร้างคู่มือการนิเทศภายใน พบว่า คู่มือการนิเทศภายใน ส่วนที่ 1 ประกอบด้วย 1) บทที่ 1 บทนำ ได้แก่ ความสำคัญของปัญหา และจุดมุ่งหมายของการนิเทศภายในโรงเรียน 2) บทที่ 2 การนิเทศภายในโรงเรียน ได้แก่ แนวคิดการนิเทศภายในโรงเรียน ความหมายของการนิเทศภายในโรงเรียน ความจำเป็นของการนิเทศภายในโรงเรียน องค์ประกอบของการนิเทศภายในโรงเรียน และหลักการนิเทศภายในโรงเรียน 3) บทที่ 3 แนวการจัดกระบวนการนิเทศภายใน 5 ขั้นตอน ได้แก่ การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ การวางแผนและการกำหนดทางเลือก การสร้างสื่อเครื่องมือและการพัฒนาวิธีการ การปฏิบัติการนิเทศ การประเมินและรายงานผล และ 4) แนวทางการจัดกิจกรรมการนิเทศภายใน ได้แก่ ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของคู่มือ และแบบประเมินการนิเทศภายในโดยผู้เชี่ยวชาญ และโดยภาพรวม พบว่า บทที่ 2 การนิเทศภายในโรงเรียน และบทที่ 3 แนวทางการจัดกิจกรรมนิเทศภายใน 5 ขั้นตอน และส่วนที่ 2 ประกอบด้วย เนื้อหา และรูปเล่ม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้กระบวนการพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียนโดยใช้คู่มือการนิทศภายใน พบว่า การพัฒนาทุกด้านอยู่ในระดับดีมาก ประกอบด้วย 1) ด้านที่ 1 การวางแผนการพัฒนาผู้เรียน ได้แก่ มีการวิเคราะห์หลักสูตร มีแผนการจัดการเรียนรู้หรือประสบการณ์ มีแผนการจัดการเรียนรู้หรือประสบการณ์ ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีโครงการ โครงการวิจัย กิจกรรม แผนงานพัฒนาการเรียนรู้และคุณลักษณะของผู้เรียน มีการผลิตสื่อการเรียนรู้ จัดแหล่งเรียนรู้ และมีแบบประเมินก่อนและหลังเรียน ดำเนินการโครงการ 2) ด้านที่ 2 การดำเนินการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ได้แก่ จัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้หรือประสบการณ์ ใช้สื่อประกอบการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ใช้แหล่งเรียนรู้ประกอบการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย จัดกิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียนเป็นปัจจุบัน มีการดำเนินการตามโครงการหรืองานวิจัยเป็นปัจจุบัน จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นปัจจุบัน มีภาระงาน ชิ้นงาน ตามหน่วยการเรียนรู้แต่ละรายวิชาหรือโครงการ 3) ด้านที่ 3 การวัดและประเมินผล ได้แก่ มีการวัดผลก่อนและหลังเรียนหรือดำเนินการโครงการ วัดและประเมินผลตามหน่วยการเรียนรู้แต่ละรายวิชาด้วยวิธีที่หลากหลาย วัดและประเมินผลกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีที่หลากหลาย สรุปรายงานการวัดผลแต่ละรายวิชาหรือโครงการ 4)ด้านที่ 4 ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ได้แก่ มีข้อมูลการรู้จักการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล มีกิจกรรมตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และมีรายงานผลตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5) ด้านที่ 5 คุณภาพผู้เรียน ได้แก่ นักเรียนกล้าพูดคุยซักถามตอบคำถาม นักเรียนร่าเริงแจ่มใส มีวินัย มีกิริยา วาจา สุภาพเรียบร้อย และมีความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานหรือตัวชี้วัดที่ครูสอน 6) ด้านที่ 6 แฟ้มสะสมผลงานครู และ7) ด้านที่ 7 บรรยากาศในห้องเรียนเอื้อต่อการเรียนการสอนแบบพอเพียง
4. ความพึงพอใจของผู้รับการนิเทศที่มีต่อการพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียน 1) การศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและการวางแผนการ ได้แก่ นโยบายการนิเทศภายใน โครงการนิเทศภายใน ผู้รับผิดชอบโครงการนิเทศภายใน กิจกรรมที่กำหนดในโครงการนิเทศภายใน และครูจะทำผลงานเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน 2) การปฏิบัติ ได้แก่ การปฏิบัติตามกำหนดการนิเทศภายใน ความร่วมมือของคณะครูในการดำเนินกิจกรรมการนิเทศภายใน ผู้รับผิดชอบโครงการนิเทศภายใน การใช้สื่อ เครื่องมือในการนิเทศภายใน การให้ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน และผู้เรียนได้ฝึกทักษะในการนำเสนอหน้าชั้นเรียน 3) การประเมินผล ได้แก่ วิธีการประเมินผล การมีส่วนร่วมการประเมินผล และระยะเวลาในการประเมินผล ด้านที่ 2 ผลการดำเนินงานตามกระบวนการนิเทศภายใน ประกอบด้วย 1) ครู ได้แก่ ครูมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น ครูปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ครูมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ครูให้การยอมรับซึ่งกันและกัน และครูจะทำผลงานเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน 2) นักเรียน ได้แก่ นักเรียนนักเรียนมีความสนใจและกระตือรือร้นใน การเรียนมากขึ้น นักเรียนมีความร่วมมือใน การปฏิบัติงานดีขึ้น และนักเรียนมีผลการเรียนดีขึ้น โดยภาพรวม พบว่า ผู้รับการนิเทศมีความพึงพอใจด้านที่ 1 การดำเนินงานตามกระบวนการนิทศภายในเกี่ยวกับการปฏิบัติ ร้อยละ 73.33 อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านที่ 2 ผลการดำเนินงานตามกระบวนการนิเทศภายใน เกี่ยวกับครูผู้สอน ร้อยละ 63.32 อยู่ในระดับมากที่สุด