LASTEST NEWS

05 ก.ย. 2567โรงเรียนเทศบาล 1 (ในระบบสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง) รับสมัครผู้ช่วยครู 10 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-11 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567สพป.สุรินทร์ เขต 3 ขอใช้บัญชีครูผู้ช่วย สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 จำนวน 6 อัตรา - รายงานตัว12 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านบุ รับสมัคร ธุรการโรงเรียน วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่ 8 – 10 กันยายน 2567 05 ก.ย. 2567ระเบียบใหม่ ปี 67 กำหนดคุณสมบัติครู ร.ร.นอกระบบ ต้องมีอย่างน้อย 1 คนต่อห้องเรียน 05 ก.ย. 2567สพฐ.ออกหนังสือ ด่วนที่สุด ประกาศ มาตรการลดภาระการรายงานของสถานศึกษา 04 ก.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 3 รับสมัครพนักงานราชการ 2 อัตรา วุฒิม.6 - ปริญญาตรีทุกสาขา ตั้งแต่ 9-13 กันยายน 2567 04 ก.ย. 2567ล่าสุด..ท้องถิ่น มีตำแหน่งว่าง เปิดสอบ 6,238 อัตรา ม.บูรพา ออกข้อสอบ คาดว่า มีผู้สมัครมากกว่า 5แสนคน 03 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 03 ก.ย. 2567สพฐ.ปรับโฉมการประชุม ผอ.สพท.ทุกคนต้องโชว์ผลงาน 03 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดคิรีวิหาร(สมเด็จพระวันรัต อุปถัมภ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกประถมศึกษา หรือวิชาเอกภาษาไทย เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 5 ก.ย.2567

นวัตกรรมการเรียนรู้TEMS(ภาษาไทย)เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์

usericon

1. ชื่อผลงาน นวัตกรรมการเรียนรู้TEMS(ภาษาไทย) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET)
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองบัวโนนเมือง

2. ที่มาและความสำคัญ
กระทรวงศึกษาธิการ ปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.2552-2561) เน้นการยกระดับคุณภาพผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพและ มาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตรและส่งเสริมความสามารถด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ คณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองกำหนด เป้าหมายให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาหลักจากการทดสอบระดับชาติ มีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า ร้อยละ 50 และจุดเน้นที่ 3 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระวิชาหลัก เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 5 การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) เป็นการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานของนักเรียนและเป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนแต่ละชั้น ผลคะแนนสอบที่นักเรียนได้รับ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับนักเรียนเอง เพราะสามารถใช้เป็นหลักฐานสำคัญในการศึกษาต่อระดับสูงขึ้นไป ส่วนผู้ปกครองก็จะได้ใช้เป็นแนวทางแก้ไข และสนับสนุนบุตรหลานให้กระตือรือร้นในการเรียนรู้มากขึ้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาไปในแนวทางที่ดี และทางโรงเรียนยังสามารถนำผลการสอบของนักเรียนแต่ละคนไปใช้เป็นข้อมูลในการจัดการเรียนการสอน และกิจกรรมต่างๆ ให้สอดคล้องต่อความสนใจ ความต้องการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของนักเรียนต่อไปในอนาคต
เนื่องจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นตัวดัชนีชี้วัดคุณภาพที่สำคัญทางการศึกษาจึงมีนักจิตวิทยาและนักการศึกษาได้ทำการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างกว้างขวาง จากการศึกษาพบว่า สาเหตุที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาจากปัจจัยหลาย ๆ ด้าน บลูม (Bloom, 1976) กล่าวว่า สิ่งที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคือคุณภาพการเรียนการสอนหมายถึงประสิทธิภาพซึ่งผู้เรียนจะได้รับความสำเร็จในการเรียนรู้ซึ่งได้แก่การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน การเสริมแรงของครูการได้รับคำแนะนำทั้งนี้องค์ประกอบด้านคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน องค์ประกอบหนึ่งคือครู ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญที่สุดใน การดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนถ้าครูได้ทำการสอนได้อย่างมีคุณภาพ จะทำให้นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนได้เป็นอย่างดี ดังนั้นครูจึงสามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นได้ นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2530) กล่าวถึงองค์ประกอบทีมีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในด้านโรงเรียนว่า โรงเรียนและการจัดการศึกษาในโรงเรียน มีความสำคัญมาก ต่อสภาพการเรียนการสอนอันมีผลถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าระดับความสามารถของนักเรียน เพราะนักเรียนจะมีความสุขต่อการเรียนการสอนหรือไม่ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ต่อครู และบรรยากาศในโรงเรียน และกล่าวถึงปัจจัยต่างๆ ในด้านโรงเรียน 3 ปัจจัย ดังนี้ ปัจจัยเกี่ยวกับการจัดการศึกษาได้แก่ การจัดสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน การจัดกิจกรรมส่งเสริมหลักสูตร การจัดอาคารสถานที่ในโรงเรียน ปัจจัยเกี่ยวกับผู้บริหารการศึกษา ได้แก่ ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ซึ่งเป็นหัวหน้าสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กับนักเรียนและกับครู อาจารย์ ตลอดจนความสามารถในการบริหารงานสิ่งต่างๆ เหล่านี้มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทั้งสิ้น ปัจจัยเกี่ยวกับครู อาจารย์ในโรงเรียน ได้แก่ อัตราเฉลี่ยของครูกับนักเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ประสบการณ์ในการสอนวุฒิทางการศึกษาตลอดจนขวัญกำลังใจของครูในการปฏิบัติหน้าที่การสอนและ ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2546) กล่าวว่า การเรียนเพิ่ม เป็นการเรียนหลังจากที่ได้เรียนจากบทเรียนนั้นแล้วทบทวนสิ่งนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก จำได้แม่นยำและนานขึ้นซึ่งเป็นสิ่งที่คนส่วนมากรู้อยู่แล้ว เช่นการท่องจำต่างๆ ในเวลาเย็นก่อนกลับบ้านของนักเรียนการทบทวนบทเรียนก่อนสอบซึ่งเป็นการฝึกหัดเพื่อให้การเก็บความจำอยู่ได้นานและยังส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากการศึกษา ปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่า มีปัจจัยหลายๆ ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ตามที่นักการศึกษาได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้ามา
จากรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ( O-NET) ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คะแนนเฉลี่ยจากผลการสอบ O-NET ในปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียน คะแนนเฉลี่ยในสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 44 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับเขตพื้นที่(46.92) และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยประเทศ (49.07) ซึ่งไม่เป็นไปตามเป้าหมายและจุดเน้น ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ในปีการศึกษา 2563 ผู้จัดทำจึงได้จัดทำ นวัตกรรมการเรียนรู้ TEMS(ภาษาไทย) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ขึ้น เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น และเป็นการเตรียมความพร้อมและสร้างความมั่นใจให้กับนักเรียนในการสอบ ซึ่งจะสามารถยกระดับคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามเป้าหมายและจุดเน้นของโรงเรียน และกระทรวงศึกษาธิการ อันจะส่งผลต่อคุณภาพโดยรวมของประเทศต่อไป
3. วัตถุประสงค์
3.1) เพื่อสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ TEMS (ภาษาไทย) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีคุณภาพ
3.2) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(O-NET)กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้ค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับเขตพื้นที่และค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ

4. เป้าหมาย
4.1 เชิงปริมาณ
4.1.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 100 ได้เรียนรู้นวัตกรรมการเรียนรู้ TEMS (ภาษาไทย) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
4.1.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ100 ได้รับการติวเสริมเพิ่มประสบการณ์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ TEMS(ภาษาไทย) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
4.2 เชิงคุณภาพ
4.2.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
4.2.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพร้อมในการทดสอบระดับชาติ (O-NET) ในปีการศึกษา 2563
5. กระบวนการพัฒนานวัตกรรม



ภาพที่ 1 แสดงขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ TEMS

5.1) ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ TEMS(ภาษาไทย)
5.1.1) ศึกษาหลักสูตร เนื้อหาโครงสร้างข้อสอบ O-NET ข้อสอบเดิม O-NET ของกลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ในปีการศึกษาที่ผ่านมา
5.1.2) ทำสรุปย่อเนื้อหา โครงสร้าง ตัวชี้วัด ที่ต้องการให้นักเรียนได้เข้าใจ และจดจำได้เพิ่มมากขึ้น โดยครูวิเคราะห์จากผลการสอบเดิมที่นักเรียนทำผิดบ่อย ยาก หรือออกข้อสอบ O-NET บ่อย
5.1.3) ทำแบบทดสอบท้ายเรื่อง ตามกรอบเนื้อหา ตัวชี้วัด และทำแบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน ตามกรอบโครงสร้างข้อสอบ O-NET ข้อสอบเดิม O-NETในปีการศึกษาที่ผ่านมา ที่สอดคล้องกับสรุปย่อเนื้อหา โครงสร้าง ตัวชี้วัดที่เรากำหนด แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน เป็นส่วนหนึ่งในนวัตกรรม การเรียนรู้TEMS เป็นแบบทดสอบที่ใช้ทดสอบก่อนการเรียนรู้ และหลังการจัดการเรียนรู้นวัตกรรมการเรียนรู้ TEMS(ภาษาไทย) ซึ่งครูผู้สอนสามารถเปิดแบบทดสอบทางคอมพิวเตอร์หรือทีวีที่ครูใช้เป็นสื่อการสอน แล้วให้นักเรียนทำไปพร้อมๆกัน ประกอบด้วยแบบทดสอบก่อนเรียน- หลังเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 20 ข้อ
5.1.4) จัดพิมพ์สรุปย่อเนื้อหา แบบทดสอบท้ายเรื่อง และแบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน ในโปรแกรม Power Point แล้วบันทึกเป็นไฟล์รูปภาพ
5.1.5) นำไฟล์รูปภาพสรุปย่อเนื้อหา แบบทดสอบท้ายเรื่อง และแบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน ไปจัดทำในโปรแกรม Captivate จัดทำเกม ลูกเล่นในโปรแกรม จัดตกแต่งหน้าหลัก ลำดับขั้นตอนการนำไปสอน แล้วบันทึกในเครื่องหรือแผ่นซีดี จะได้นวัตกรรมการเรียนรู้ TEMS(ภาษาไทย) เพื่อนำไปใช้สอนนักเรียนต่อไป ซึ่งเนื้อหา นวัตกรรมการเรียนรู้ TEMS (ภาษาไทย) ประกอบด้วย
(1) เนื้อหาเรื่อง ประโยค ประกอบด้วย ประโยคสามัญ ประโยคความรวม ประโยคความซ้อน และแบบฝึกท้ายเรื่อง ซึ่งเป็นเนื้อหาเป็นส่วนหนึ่งจากโครงสร้าง ตัวชี้วัดข้อสอบ O-NET ปีการศึกษา 2562
(2) แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน เป็นแบบทดสอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ
(3) เกมทายคำภาษาไทย ดอกไม้อะไรเอ่ย เป็นกิจกรรมสำหรับผ่อนคลาย และฝึกลับสมองกระตุ้นการเรียนรู้ ซึ่งเกมจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับคำ เรื่องที่เป็นเนื้อหา
6. ผลการดำเนินงาน
1) วิเคราะห์คะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ TEMS(ภาษาไทย) โดยนำค่าคะแนนที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและแปลผล ทั้งโดยรวมทุกคน และรายคน โดยนำเสนอผลการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ TEMS (ภาษาไทย) ในรูปแบบตาราง
นักเรียนคนที่    คะแนนเฉลี่ย    พัฒนาการ (D)
    ก่อนเรียน(20)    หลังเรียน(20)    
1    6    17    11
2    8    18    10
3    6    16    10
4    7    16    9
5    9    19    10
6    10    19    9
7    9    18    9
รวม    55    123    
เฉลี่ย    7.86    17.57    9.71
2) ค่าดัชนีประสิทธิผล หาจากผลรวมของคะแนนหลังเรียนทุกคน(123)ลบด้วยผลรวมของคะแนนก่อนเรียนทุกคน(55) หารด้วยจำนวนนักเรียน (7) คูณด้วยคะแนนเต็ม (20) ลบด้วยผลรวมของคะแนนก่อนเรียนทุกคน (55) เท่ากับ 0.80 เป็นการหาประสิทธิผลของนวัตกรรมการเรียนรู้ TEMS(ภาษาไทย) ที่สร้างขึ้น พบว่า ค่าดัชนีประสิทธิผล โดยรวมเท่ากับ 0.80 ซึ่งค่าดัชนีประสิทธิผลโดยรวม อยู่ในช่วง 0.50-1.00 ถือว่ายอมรับได้หรือผ่านเกณฑ์ นั่นคือ นวัตกรรมการเรียนรู้ TEMS ที่สร้างขึ้นมีคุณภาพ ทำให้การเรียนรู้ของนักเรียนมีความก้าวหน้าขึ้น แสดงว่าพัฒนาการของนักเรียนเพิ่มขึ้นอย่างเชื่อถือได้
3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(O-NET)กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 ค่าเฉลี่ย 58.25 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย ปีการศึกษา 2562 ที่มีค่าเฉลี่ย 44 และสูงกว่าระดับเขตพื้นที่ ค่าเฉลี่ย 55.09 สูงกว่าระดับประเทศ ค่าเฉลี่ย 56.20 ดังแสดงในตาราง
ปีการศึกษา    ค่าเฉลี่ย
ระดับโรงเรียน    ค่าเฉลี่ย
ระดับเขตพื้นที่    ค่าเฉลี่ย
ระดับประเทศ
2562    44    46.92    49.07
2563    58.25    55.09    56.20

สรุปผลการดำเนินงาน
1) ได้นวัตกรรมการเรียนรู้ TEMS (ภาษาไทย) เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีคุณภาพ ทำให้การเรียนรู้ของนักเรียนมีความก้าวหน้าขึ้น พัฒนาการของนักเรียนเพิ่มขึ้นอย่างเชื่อถือได้
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับเขตพื้นที่และค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ

7. ประโยชน์ที่ได้รับ
นวัตกรรมการเรียนรู้ TEMS (ภาษาไทย) นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ดังนี้
7.1 นำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาในเรื่องการเรียนการสอน เช่น
1) ปัญหาเรื่องวิธีการสอน ปัญหาที่มักพบอยู่เสมอ คือผู้สอนส่วนใหญ่ยังคงยึดรูปแบบการสอนแบบบรรยาย โดยมีครูเป็นศูนย์กลางมากกว่าการสอนในรูปแบบอื่น การสอนด้วยวิธีการแบบนี้เป็นการสอนที่ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในบั้นปลาย เพราะนอกจากจะทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย ขาด ความสนใจแล้ว ยังเป็นการปิดกั้นความคิด และสติปัญญาของผู้เรียนให้อยู่ในขอบเขตจำกัดอีกด้วย
2) ปัญหาด้านเนื้อหาวิชา บางวิชาเนื้อหามาก และบางวิชามีเนื้อหาเป็นนามธรรมยากแก่ การเข้าใจจึงจำเป็นจะต้องนำเทคนิคการสอนและสื่อมาช่วย
3) ปัญหาด้านการวัดและประเมินผล เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ครูผู้สอนนำไปใช้ใน การปรับกิจกรรมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หรือใช้ผลการประเมินเป็นข้อมูลย้อนกลับใน การพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนได้
4) ปัญหาเรื่องอุปกรณ์การสอนบางเนื้อหามีสื่อการสอนเป็นจำนวนน้อยไม่เพียงพอต่อ การนำไปใช้เพื่อทำให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาได้ง่ายขึ้นจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาคิดค้นหาเทคนิควิธีการสอนและผลิตสื่อการสอนใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้ทำให้การเรียนการสอนบรรลุเป้าหมายได้
7.2 นำนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน การสร้างองค์ความรู้ใหม่ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา โดยการนำสิ่งประดิษฐ์หรือแนวความคิดใหม่ๆในการเรียนการสอนนั้นเผยแพร่ไปสู่ครู–อาจารย์ท่านอื่นๆหรือเพื่อเป็นตัวอย่างอีกรูปแบบหนึ่งให้กับครู–อาจารย์ที่สอนในวิชาเดียวกันได้นำแนวความคิดไปปรับปรุงใช้หรือผลิตสื่อการสอนใหม่ๆเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป
7.3 นำนวัตกรรมไปใช้เป็นผลงานทางวิชาการ นวัตกรรมการเรียนรู้นอกจากจะเป็นประโยชน์ในด้านการปรับปรุงและพัฒนางานหรือการจัดการเรียนการสอนแล้ว ยังเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาวิชาชีพอีกด้วยโดยผู้สร้างนวัตกรรมสามารถนำผลจากการนำนวัตกรรมไปใช้เป็นผลงานวิชาการเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะ หรือปรับตำแหน่งให้สูงขึ้นได้
    

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^