การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL)
เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา และความเชื่อมั่นในตนเอง
สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3
ผู้วิจัย นางเพ็ญศรี ไชยยศ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
ปีที่วิจัย 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมอง
เป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา และความเชื่อมั่นในตนเอง สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์ 4 ประการ (1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการเสริมสร้างพัฒนาการ และความเชื่อมั่นในตนเอง ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา และความเชื่อมั่นในตนเอง สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา และความเชื่อมั่นในตนเอง สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3และ (4) เพื่อประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา และความเชื่อมั่นในตนเอง สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ เด็กปฐมวัย โรงเรียนเทศบาลวัดเหนือ สังกัดเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แผนการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา และความเชื่อมั่นในตนเอง สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3จำนวน 6 หน่วย คู่มือการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา และความเชื่อมั่นในตนเอง สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 แบบทดสอบทักษะทางภาษา แบบสังเกตพฤติกรรมที่แสดงความเชื่อมั่นในตนเองสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t – test (Independent Sample t – test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานเอกสารและข้อมูลพื้นฐานบุคคล สามารถกำหนดเป็นนิยาม องค์ประกอบและพฤติกรรมบ่งชี้ในแต่ละองค์ประกอบของพัฒนาการทั้ง 4 ด้านและความเชื่อมั่นในตนเอง และแนวทางการพัฒนาพัฒนาการทั้ง 4 ด้านและความเชื่อมั่นในตนเอง พบว่า ระดับพฤติกรรมที่แสดงถึงการรับรู้ การทำความเข้าใจกับปัญหา และการคิดหาเหตุผล เพื่อแสวงหาทางเลือกมาปฏิบัติในการแก้ปัญหาด้วยวิธีการใหม่ที่ต่างจากสิ่งที่มีอยู่เดิม หลากหลายมากกว่าหนึ่งวิธีหรือหนึ่งแนวคิด และทำการประเมินข้อค้นพบสำหรับการแก้ปัญหา สามารถค้นหาวิธีการแก้ปัญหาและสามารถแก้ปัญหาได้สำเร็จ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน
1. ขั้นเตรียมความรู้ (Preparation) 2. ขั้นปรับความรู้ (Relaxation) 3. ขั้นปฏิบัติ (Action) 4. ขั้นอภิปราย (Discussion) และ 5. ขั้นนําความรู้ไปใช้ (Application)
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา และความเชื่อมั่นในตนเอง สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด (มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.00- 4.80) และความคิดเห็นของครูปฐมวัยต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา และความเชื่อมั่นในตนเอง สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีผลประเมินโดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 2.70, S.D. = 0.47)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา และความเชื่อมั่นในตนเอง สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 เด็กปฐมวัยมีทักษะทางภาษาและความเชื่อมั่นในตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่าการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความเชื่อมั่นในตนเอง สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ทำให้เด็กปฐมวัยมีทักษะทางภาษาและความเชื่อมั่นในตนเองเพิ่มขึ้น
4. ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาและความเชื่อมั่นในตนเอง สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาล ปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้
4.1 เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีทักษะทางภาษาหลังใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา และความเชื่อมั่นในตนเอง สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4.2 เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความเชื่อมั่นในตนเองหลังใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา และความเชื่อมั่น ในตนเอง สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4.3 เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา และความเชื่อมั่น ในตนเองสำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก