ผลการจัดการเรียนรู้เทคนิคSTAD ประกอบCAI ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา_ณฐมน
การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 3 ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สมรรถนะดิจิทัลและความพึงพอใจ
ผู้วิจัย: นางณฐมน ทรงเจริญ
ตำแหน่ง: ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบางคูลัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
สังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี
ปีที่วิจัย: 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย ได้แก่ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3) เพื่อศึกษาสมรรถนะดิจิทัลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนบางคูลัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี สังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี จำนวน 36 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ด้วยวิธีการจับสลากโดยใช้ห้องเรียนในการสุ่ม ซึ่งแต่ละห้องเรียนมีความสามารถในการเรียนวิชาภาษาไทยไม่แตกต่างกัน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการอ่านและการเขียนคำที่สะกดไม่ตรงตามมาตรา จำนวน 8 หน่วย 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 8 หน่วย หน่วยละ 4 แผนรวม 32 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบคู่ขนานมี 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.73 ทั้ง 2 ฉบับ 4)แบบประเมินสมรรถนะดิจิทัล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 4) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจ ในการเรียน จำนวน 10 ข้อ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า เท่ากับ 0.802 โดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เท่ากับ 87.05/83.06 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทั้งภาพรวมและรายหน่วย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. สมรรถนะดิจิทัลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อยู่ระดับมาก (x-bar=4.44)
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x-bar=4.18)