รูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) ของนางสาวณฐมน ทรงเจริญ
และทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทาน
ประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา
ผู้วิจัย: นางณฐมน ทรงเจริญ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน: โรงเรียนบางคูลัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี สังกัดกองการศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี
ปีที่วิจัย: 2562
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายของวิจัย ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา และ 4) เพื่อประเมินความคิดเห็นของรูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนบางคูลัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี สังกัดกองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 43 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยวิธีการจับสลากโดยใช้ห้องเรียนในการสุ่ม ซึ่งผู้วิจัยเป็นครูประจำวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เครื่องมือขั้นศึกษาข้อมูลพื้นฐาน จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันในการจัดการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนบางคูลัด จำนวน 27 ข้อ และ 2) แบบสอบถามความต้องการในการจัดการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนบางคูลัด เครื่องมือที่ใช้ในทดลองใช้ มี 5 ชนิด ดังนี้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบ SQ4R วิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา จำนวน 23 แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความจากนิทานประกอบภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 7 เล่ม 3) แบบทดสอบทักษะการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทย (ท13101) ของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบทดสอบทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย (ท13101) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และ 5) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา จำนวน 10 ข้อ และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินรูปแบบ ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นรูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหาของผู้เชี่ยวชาญและครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนบางคูลัด จำนวน 24 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ สมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที และค่าดัชนีประสิทธิผล
ผลการวิจัยและพัฒนา พบว่า
1. ระยะที่ 1 การวิจัย (Research: R1) คือ การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) ในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
1.1 สภาพปัญหาปัจจุบันในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางคูลัด ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนบางคูลัด จำนวน 5 คน อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.47, S.D. =0.64)
1.2 ความต้องการในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบางคูลัด ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนบางคูลัด จำนวน 5 คน อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.59, S.D. =0.58)
2. ระยะที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) คือ การออกแบบและพัฒนา (Design and Development: D & D) รูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา ผลการพัฒนา พบว่า
2.1 ความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบ SQ4R วิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย (x-bar) ระหว่าง 3.51 ถึง 5.00 ซึ่งถือว่าเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้
2.2 ความเหมาะสมของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความจากนิทานประกอบภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า มีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย (x-bar) ระหว่าง 4.27 ถึง 4.60
2.3 คุณภาพแบบทดสอบทักษะการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทย (ท13101) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของข้อสอบ อยู่ระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 ทุกข้อ แสดงว่าข้อสอบแต่ละข้อมีค่า IOC ใช้ได้ทุกข้อ มีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.43-0.70 มีค่าอำนาจจำแนก (B) ระหว่าง 0.31-0.56 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.932
2.4 คุณภาพแบบทดสอบทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย (ท13101) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของข้อสอบ อยู่ระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 ทุกข้อ แสดงว่าข้อสอบแต่ละข้อมีค่า IOC ใช้ได้ทุกข้อ มีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.43-0.70 มีค่าอำนาจจำแนก (B) ระหว่าง 0.31-0.59 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.898
2.5 คุณภาพแบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหามีค่า IOC ระหว่าง 0.5 ถึง 1.00 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.802
2.6 รูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา ซึ่งผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้นโดยนำการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน (Brain-based Learning) มาบูรณาการร่วมกับการสอนการสอนอ่านแบบ SQ4R ในขั้นเสนอความรู้ใหม่ คือ การวางแบบแผนหรือลักษณะการจัดประสบการณ์ที่มุ่งเน้นให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติจริง ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย เชื่อมโยงความรู้เดิมกับประสบการณ์ใหม่ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง จำนวน 7 ขั้น โดยขั้นความรู้ใหม่ผู้วิจัยได้นำการสอนแบบอ่าน SQ4R คือ วิธีการสอนอ่านรูปแบบหนึ่งที่ใช้พัฒนาความสามารถในการอ่านจากบทอ่านประเภทต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในเรื่องที่อ่าน มีจำนวน 6 ขั้นในขั้นความรู้ใหม่ ดังนี้
1) ขั้นนำสู่บทเรียน หมายถึง ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยการวางแผนการสนทนากับนักเรียนเพื่อเตรียมความพร้อมในการทำความเข้าใจสิ่งที่เรียนในภาพรวม และสามารถเชื่อมโยงไปสู่เรื่องที่จะเรียน
2) ขั้นแจ้งกระบวนการเรียนรู้ หมายถึง ขั้นการจัดการเรียนรู้ซึ่งการแจ้งถึงรายละเอียดกิจกรรมแก่นักเรียนว่าจะต้องกิจกรรมใดบ้าง อย่างไร และใช้วิธีการวัดและประเมินผลอย่างไร
3) ขั้นเสนอความรู้ใหม่ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R หมายถึง ขั้นการจัดประสบการณ์เชื่อมโยงประสบการณ์ความรู้ต่าง ๆ เพื่อสร้างให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ด้วยการจัดประสบการณ์หรือการสร้างความคิดรวบยอดให้แก่นักเรียน จำนวน 6 ขั้นย่อย ดังนี้
(1) ขั้นย่อยที่ 1 ขั้นตอนการสำรวจ (Survey)
(2) ขั้นย่อยที่ 2 ขั้นตอนการตั้งคำถาม (Question)
(3) ขั้นย่อยที่ 3 ขั้นตอนการอ่าน (Read)
(4) ขั้นย่อยที่ 4 ขั้นตอนการทบทวน (Record)
(5) ขั้นย่อยที่ 5 ขั้นตอนการเขียนสรุปใจความสำคัญ (Recite)
(6) ขั้นย่อยที่ 6 ขั้นตอนการวิเคราะห์วิจารณ์ (Reflect)
4) ขั้นฝึกทักษะ หมายถึง ขั้นการจัดการเรียนรู้ที่นักเรียนเข้ากลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้ และสร้างผลงานจากการศึกษาค้นคว้า การฝึกปฏิบัติ การสังเกต การทำใบงาน การวาดภาพ และการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ จนประสบความผลสำเร็จได้ผลงานออกมา
5) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หมายถึง ขั้นการจัดประสบการณ์ที่ตัวแทนของแต่ละกลุ่ม ออกมานำเสนอผลงาน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่ต่างกันภายในห้องเรียน
6) ขั้นสรุปความ หมายถึง ขั้นการจัดประสบการณ์ที่ร่วมกันสรุปความรู้ และร่วมกันเฉลยคำตอบที่ถูกต้องเพื่อให้นักเรียนได้รับทราบคำตอบให้ถูกต้องที่สุด โดยใช้โครงสร้างเนื้อหา
7) ขั้นเกมตอบคำถาม หมายถึง ขั้นการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมในการประเมินรายบุคคลที่เกี่ยวกับทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์โดยไม่ถามกัน นำมาหาค่าเฉลี่ยของแต่ละกลุ่ม ประกาศผลคะแนนของแต่ละกลุ่ม
2.7 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา เท่ากับ 84.85/82.64 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
3. ระยะที่ 3 การวิจัย (Research : R2) คือ การนำไปใช้ (Implementation: I) รูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
3.1 ทักษะการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทย (ท13101) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 ดัชนีประสิทธิผลของทักษะการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทย (ท13101) ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา เท่ากับ 0.7327 คิดเป็นร้อยละ 73.27
3.3 ทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย (ท13101) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.4 ดัชนีประสิทธิผลของทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย (ท13101) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนโดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา เท่ากับ 0.7135 คิดเป็นร้อยละ 71.35
3.5 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar=4.80, S.D=0.70)
4. ระยะที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) คือ การประเมินผลและปรับปรุง (Evaluation : E) ประเมินความคิดเห็นและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา ผลการพัฒนา พบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนวิชาภาษาไทย (ท13101) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความและทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้นิทานประกอบภาพร่วมกับแผนภาพความคิดตามโครงสร้างเนื้อหา อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.55, S.D. =3.41)
คำสำคัญ วิชาภาษาไทย, การอ่านจับใจความ, คิดวิเคราะห์ ประถมศึกษาปีที่ 3, นิทานประกอบภาพ
แผนภาพความคิด, โครงสร้างเนื้อหา, สมองเป็นฐาน, การสอนอ่าน, SQ4R