การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์
สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
นางวาสนา รุ่งเรืองโชคชัย
ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชาฟิสิกส์ 2 สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชาฟิสิกส์ 2 สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย 2.1) เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชาฟิสิกส์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2.2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชาฟิสิกส์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ3) เพื่อนำรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชาฟิสิกส์ 2 สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ไปขยายผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 35 คน และ ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในขยายการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/8 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 38 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยรูปแบบการสอน คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าทีแบบไม่อิสระ (t-test for dependent samples)) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย ปรากฏดังนี้
1. รูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชาฟิสิกส์ 2 สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีชื่อว่า "MPCR Model" มีองค์ประกอบสำคัญ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบการสอน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการสอน 3) กระบวนการเรียนรู้ 4) การวัดและประเมินผล และ 5) การนำรูปแบบการสอนไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ กระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การสร้างแรงจูงใจ และกระตุ้นคิดผ่านสถานการณ์ (Motivation through situations: M) ขั้นที่ 2 การวางแผนและปฏิบัติสืบค้น (Planning and action : P) ขั้นที่ 3 การสร้างองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Construction and sharing : C) ขั้นที่ 4 การสะท้อนคิดและประยุกต์ใช้ (Reflection and application : R) ซึ่งมีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.18/78.80 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ประสิทธิผลของรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชาฟิสิกส์ 2 สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า
2.1) หลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชาฟิสิกส์ 2 สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีทักษะการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อคิดเห็นต่อรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชาฟิสิกส์ 2 สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.78, S.D. = 0.41)
3. ผลการขยายผลของรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชาฟิสิกส์ 2 สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า
3.1) หลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชาฟิสิกส์ 2 สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีทักษะการคิดวิเคราะห์สูงขึ้นอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อคิดเห็นต่อรูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ รายวิชาฟิสิกส์ 2 สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับ มากที่สุด