LASTEST NEWS

30 ก.ค. 2567สพฐ.ผ่านการประเมิน ITA ปี 67 ได้คะแนนสูงสุดใน ศธ. 30 ก.ค. 2567สพฐ.มีหนังสือด่วนที่สุด ! แจ้งการโอนงบประมาณเหลือจ่ายฯ งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นฯ สำหรับจ้างเหมาบริการนักการภารโรง คืนส่วนกลาง 30 ก.ค. 2567ร้อง"บิ๊กอุ้ม"-กมธ.สส.ยังยั้ง ศธ.ปรับหลักสูตร-อ้างครูฯลงชื่อคัดค้านเพียบ 30 ก.ค. 2567สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) เปิดรับสมัครวุฒิปริญญาโททุกสาขา เงินเดือน 22,750 บาท ตั้งแต่บัดนี้-20 สิงหาคม 2567 29 ก.ค. 2567ชี้ครู 80% เริ่มเข้าใจการเรียนการสอนแบบ Active Learning 29 ก.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลนางรอง(สังขกฤษณ์อนุสรณ์) รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 9,140 บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ส.ค.2567 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 29 ก.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 ก.ค. 2567รัฐบาล เชิญชวนส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ประชาชน สวมใส่เสื้อเหลืองตราสัญลักษณ์ฯ ทุกวันจันทร์โดยพร้อมเพรียง 28 ก.ค. 2567กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 12 อัตรา วุฒิปวส. เงินเดือน 12,650-13,920 บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 14 สิงหาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ P-W-P-E เพื่อส่งเสริมทักษะกา

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ P-W-P-E เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย         ยุวรี แก้วคำไสย์
ปีที่วิจัย    2563

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ P-W-P-E เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ P-W-P-E เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และ 3) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ P-W-P-E เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย การวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ คือ ขั้นที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบ ขั้นที่ 3 การนำรูปแบบไปใช้ และขั้นที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านสิริขุนหาญ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านออกเขียนได้และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และการทดสอบค่าที (t - test) ผลการวิจัยพบว่า
    1. ผลการพัฒนารูปแบบ พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ P-W-P-E เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีองค์ประกอบสำคัญ ประกอบด้วย หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ กระบวนการจัดการเรียนรู้ และการวัดผลและประเมินผล มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเข้าสู่การอ่าน (Pre-Reading) ขั้นที่ 2 ขั้นระหว่างการอ่าน (While-Reading) ขั้นที่ 3 ขั้นฝึกอ่านเขียน (Practice Reading and Writing) และขั้นที่ 4 ขั้นประเมินผล (Evaluation) จากการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.55
    2. ผลการนำรูปแบบไปใช้ พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ P-W-P-E เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีคะแนนทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาการอ่านออกเขียนได้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และมีทักษะการอ่านออกเขียนได้ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ย 30.57
    3. ผลการประเมินการใช้รูปแบบ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ P-W-P-E เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย อยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 2.60,
S.D. = 0.51) และผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อพฤติกรรมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนหลังการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ P-W-P-E เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในระดับมากที่สุด
( = 4.56, S.D. = 0.50)

























ประกาศคุณูปการ

    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ P-W-P-E เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเขียนได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ฉบับนี้ สำเร็จได้ด้วยดีเนื่องจากได้รับความกรุณาช่วยเหลือให้คำปรึกษา คำแนะนำ ตรวจแก้ไขข้อบกพร่องในการทำวิจัยด้วยความเอาใจใส่เป็นอย่างดีจากคณะผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย ………………………………………………………………………………..
………………………………………………………………..………………………………………………………………….………..………………………………………………………………..………………………………………………………………….………..………………………………………………………………..………………………………………………………………….………..………………………………………………………………..………………………………………………………………….………..………………………………………………………………..………………………………………………………………….……….. ผู้วิจัยขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
ขอบคุณคณะครูในโรงเรียนบ้านสิริขุนหาญทุกท่าน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่ได้กรุณาให้การสนับสนุนช่วยเหลือ ขอบคุณเจ้าของบทความ เอกสารตำราต่าง ๆ ที่เป็นแหล่งข้อมูลการค้นคว้าทำให้การวิจัยครั้งนี้ สำเร็จลงด้วยดี ผู้วิจัยขอขอบพระคุณไว้ ณ โอกาสนี้
    คุณค่า คุณความดีและประโยชน์ของการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยขอมอบเป็นเครื่องบูชาพระคุณบิดา มารดา คณะครู อาจารย์และผู้มีพระคุณทุกท่านที่ได้อบรมสั่งสอนให้ผู้วิจัยมีความรู้ ความพากเพียร มานะ อดทน จนทำให้ประสบผลสำเร็จในการวิจัย

                                        ยุวรี แก้วคำไสย์











ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^