รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัฏจักรน้ำ
โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
โรงเรียนเสนาบดี
ผู้รายงาน จันทร์เพ็ญ แดงใหญ่
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัฏจักรน้ำ โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัฏจักรน้ำ โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัฏจักรน้ำ โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนเสนาบดี ตำบลเสนา อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองเสนา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 29 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 31 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 จำนวน 31 คน รวมทั้งสิ้น 91 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเสนาบดี ตำบลเสนา อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองเสนา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัฏจักรน้ำ โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 7 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ และวิเคราะห์ความแตกต่าง
โดยใช้ค่า t-test (Dependent Samples) ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัฏจักรน้ำ โดยใช้วิธีการสอน
แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 84.83/85.98 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรม
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัฏจักรน้ำ โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า หลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง วัฏจักรน้ำ โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก