การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต
การคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางสาวจันทร์เพ็ญ แดงใหญ่
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ดังนี้ 3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลง ของสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3.2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน วิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเสนาบดี ตำบลเสนา อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองเสนา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์ข้อมูล การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการเปลี่ยนแปลงของสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1 ฉบับ 2) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลง ของสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 4 ชุด 3) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 16 แผน 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 เป็นแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 20 คะแนน ตอนที่ 2 เป็นแบบอัตนัย 10 คะแนน รวม 30 คะแนน 5) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความสำคัญ จำนวน 2 ข้อ ด้านความสัมพันธ์ จำนวน 2 ข้อ และด้านหลักการ จำนวน 2 ข้อ รวม 20 คะแนน และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 1 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) การหาค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่าประสิทธิภาพ ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการวิเคราะห์เอกสารมีหลากหลาย
2. การสร้างรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีชื่อว่า “PPTPEC Model” (ดับเบิ้ลพีทีพีอีซี โมเดล) ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมความพร้อมด้านความรู้และทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ (Preparing Essential Knowledge and Skills : P) ขั้นที่ 2 ขั้นนำเข้าสู่สิ่งที่ควรเรียนรู้ (Presentation of Learning by doing : P) ขั้นที่ 3 ขั้นฝึกการคิดวิเคราะห์จากการปฏิบัติโดยครูคอยติดตามดูแล (Teacher Directed Practice : T) ขั้นที่ 4 ขั้นนำเสนอและอภิปรายผลการคิดวิเคราะห์ (Presentation and Discussion : P) ขั้นที่ 5 ขั้นการพัฒนาทักษะและการนำไปใช้ (Extended Practice and Application of Ideas : E) และ ขั้นที่ 6 ขั้นสรุปผลการเรียนรู้และการประเมินผล (Conclusion and Evaluation : C) โดยมีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.75/84.14 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการเปลี่ยนแปลงของสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 18.34 คิดเป็นร้อยละ 61.15 หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 25.24 คิดเป็นร้อยละ 84.14 มีผลต่างของคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 22.99
3.2 ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการเปลี่ยนแปลงของสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 11.10 คิดเป็นร้อยละ 55.52 หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.72 คิดเป็นร้อยละ 83.62 มีผลต่างของคะแนนเฉลี่ย คิดเป็น ร้อยละ 28.10
4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ
พึงพอใจมาก